ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 14 มีนาคม 2019
โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
หลังจากการปรับฐานเป็นเวลาสามวันติดกัน USD/JPY ได้ทะลุแนวรับขึ้นไปล่วงหน้าก่อนการ ประกาศนโยบายทางการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายใด ๆ แต่ทว่า ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลแบบสิบปี ของญี่ปุ่นดิ่งลงสู่ระดับที่ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2016 จึงเป็นสัญญาณบ่งบอกให้ผู้ลงทุนทั้งหลายเตรียมตัวรับมือว่าจะยังไม่มีการเพิ่มดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ สิ่งที่สำคัญสำหรับธนาคารกลางญี่ปุ่นตอนนี้ คือการปรับเปลี่ยนการประเมินทางเศรษฐกิจเนื่องจากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปัจจุบันญี่ปุ่นตกอยู่ภายใต้ การขาดดุลทางการค้า ที่ตกต่ำที่สุดในรอบหกปี เช่นเดียวกันกับที่ ข้อมูลการส่งออก ดิ่งลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน แม้ว่าเทศกาลตรุษจีนในประเทศจีนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุปสงค์ที่ลดลง แต่ข้อมูลการส่งออกไปยังจีนครั้งนี้ถือว่ามีความถดถอยอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเองก็ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลกเฉกเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ แต่ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สามของโลกอย่างญี่ปุ่น กลับตกอยู่ในสภาวะที่เปราะบางล่วงหน้ากำหนดการปรับขึ้นภาษีทางการค้าในปีนี้เสียอีก แต่หากพิจารณาจากสภาวะของตลาดทางการเงินที่กำลังทรงตัว อีกทั้งเฟดก็ได้เลื่อนการปรับใช้นโยบายที่เคร่งครัดออกไป และจีนกำลังจะใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาพรวมเศรษฐกิจของโลกจึงยังไม่ได้เลวร้ายถึงขั้นที่จะต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เราจึงคาดหวังให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับลดการประเมินข้อมูลผลผลิตและการส่งออก แล้วคงที่ไว้อย่างนั้นไปก่อน แต่การกระทำเช่นนั้นอาจมีผลมากพอที่จะทำให้เงินเยนปรับลงไปอีก และหนุนให้คู่สกุลเงิน USD/JPY ขยับเข้าสู่แดนบวกได้
ผู้ลงทุนส่วนมากไม่ยี่หระต่อรายงานทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ประกาศเมื่อวาน ข้อมูลราคา การนำเข้า และ การส่งออก พุ่งขึ้นมากกว่าการคาดการณ์ แต่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน กลับพุ่งสูงขึ้นและ ยอดขายบ้านมือหนึ่ง ดิ่งลงไปถึง -6.9% การที่ตัวเลขยอดขายบ้านมือหนึ่งออกมาต่ำขนาดนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ากังวล แต่ก็เป็นไปได้ว่าข้อมูลอาจมีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากมีการปิดหน่วยงานรัฐฯ ของสหรัฐฯ ส่วนทางด้านสภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน เนื่องจากอัตราการจ้างงานและตลาดอสังหาฯ เกิดการชะลอตัว ฉะนั้นการประชุมเฟดในสัปดาห์หน้าจึงยังไม่มีเหตุผลที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ อัตราดอกเบี้ย ที่อยู่ในสถานะ "อดทนรอ" แต่อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์ กลับไม่ได้รับผลกระทบจากรายงานเหล่านี้เลย แม้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงอ่อนแรง แต่ความไม่มั่นคงในประเทศอื่น ๆ กลับน่ากังวลยิ่งกว่า อย่างไรก็ดี ดัชนีภาคการผลิต และ ข้อมูลความคาดหวังของผู้บริโภค จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน น่าจะแสดงความแข็งแกร่งของตลาดการซื้อขายในปลายเดือนกุมภาพันธ์ได้มากขึ้น
บทความนี้เผยแพร่ออกมาก่อนผลลัพธ์การลงคะแนน Brexit ครั้งสุดท้ายในสัปดาห์นี้ แต่เราค่อนข้างมั่นใจว่าจะต้องมีการสนับสนุนให้ยืดเวลามาตรา 50 ออกไปอย่างแน่นอน สภานิติบัญญัติได้ปฏิเสธข้อตกลงการถอนตัวของนายกรัฐมนตรี นางเธเรซา เมย์ ไปแล้ว และยังปฏิเสธ Brexit แบบไม่มีข้อตกลงอีกด้วย ฉะนั้นหนทางเดียวที่จะไปข้างหน้าต่อได้คือการไปเยือนสหภาพยุโรป ยื่นเสนอขอการยืดเวลา และใช้เวลาที่ได้มาเพื่อพิจารณาว่าควรจะทำอะไรในขั้นตอนต่อไป จากที่ เงินปอนด์สเตอร์ลิง ย่อตัวลงเมื่อวาน เพราะการขอยืดเวลามาตรา 50 ออกไป หมายความว่าสหราชอาณาจักรได้วกกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง แต่ข้อแตกต่างจากครั้งก่อนคือ คราวนี้นายกเมย์ไม่สามารถขู่ให้ทุกคนจำยอมต้องถอนตัวโดยไม่มีข้อตกลงได้อีกแล้ว แม้ว่านายกเมย์ได้แสดงความพยายามภายหลังการลงคะแนนเสียงเมื่อวันอังคารโดยการกล่าวว่า การถอนตัวโดยไม่มีข้อตกลงยังคงเป็นแผนการหลัก จนกว่าจะมีการสร้างข้อตกลงใหม่ แม้ว่าสหภาพยุโรปจะต้องอนุมัติการยืดเวลาให้แก่สหราชอาณาจักรอย่างแน่นอน แต่คำถามคือจะยืดออกไปนานแค่ไหน ถ้าหากสหราชอาณาจักรขอยืดเวลาออกไปในระยะสั้นสัก 2 เดือน ผู้ลงทุนที่ถือสกุลเงินปอนด์จะต้องผิดหวังเป็นแน่ เพราะถ้าหากสหราชอาณาจักรไม่สามารถสรุปข้อตกลงได้ในเวลาที่มากกว่าสองปี ก็มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะสรุปข้อตกลงได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ แต่ถ้าหากยืดเวลาออกไปอีกหนึ่งปีหรือมากกว่านั้น เราอาจได้เห็นแรงซื้อเงินปอนด์ที่เพิ่มขึ้นจากความโล่งอก อ้างอิงจากความคิดเห็นของประธานสหภาพยุโรป นายทัสก์ได้กล่าวเมื่อวานว่า สหภาพยุโรปต้องการให้ยืดเวลาในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
จากที่ส่งมอบขาขึ้นติดกับถึงสี่วัน ในที่สุด เงินยูโร ก็ดิ่งลงตาม เงินปอนด์สเตอร์ลิง มีการเทขายบรรดาสกุลเงินสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากข้อมูลทางเศรษฐกิจของจีนที่ออกมาอ่อนแอ อ้างอิงจากรายงานล่าสุดจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจจีนยังไม่มีแนวโน้มว่าจะพลิกฟื้น อัตราการเติบโตของ รายจ่ายผู้บริโภค ดิ่งลงไป 8.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ อีกทั้ง ข้อมูลการผลิตด้านอุตสาหกรรม มีการเติบโตที่ชะลอตัวลง 5.3% จากเดิม 6.2% แม้ว่าเหตุผลส่วนหนึ่งอาจสืบเนื่องมาจากเทศกาลตรุษจีน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณความอ่อนแอ อีกทั้งการประชุมระหว่างนายทรัมป์และนายสี จิ้นผิง ที่คาดว่าจะถูกเลื่อนออกไปอีกอย่างเร็วที่สุดคือเดือนเมษายน จึงดูเหมือนว่ายังไม่มีการสร้างข้อตกลงทางการค้าเร็ว ๆ นี้เป็นแน่ ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้ส่งผลดีแก่เงินดอลลาร์ทั้ง ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยได้รับแรงหนุนอันเนื่องมาจากความหวังที่จะเกิดข้อตกลงทางการค้า