หลังการประกาศงบ 3Q67 ซึ่งมีฐานกำไรต่ำมากเพียง 1.99 แสนล้านบา เราเริ่มเห็นการปรับลดประมาณกำไรบริษัทจดทะเบียนลงมาระดับหนึ่ง โดยตัวเลข BLOOMBERG CONSENSUS ตัวเลข EPS ปี 2567 อยู่ที่ 87.6 บาท/หุ้น เทียบเท่ากับกำไรสุทธิมรา 1.074 ล้านล้านบาท ซึ่งเท่ากับ ว่าในงวด 4Q67 ต้องทำกำไรมากถึง 3.55 แสนล้านบาท ซึ่งเรามองว่า เป็นไปไม่ได้ ส่วนปี 2568 BLOOMBERG CONSESNSU คาด EPS ที 98.6 บาท/หุ้น ซึ่งมองว่ามีความเสี่ยงต่อการปรับลดลงเช่นกัน ทั้งนี้ใน ภาวะที่เห็นการปรับลดประมาณการกำไรมักจะเห็น SET INDEX ผันผวน ทิศทางลง ส่วนปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นความกังวลเรื่องภูมิ รัฐศาสตร์ทั้งในมุมของสงคราม และการค้าระหว่าประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจ ไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงเนื่องจากสัดส่วน GDP ราว 70% มาจากการส่งออก ตลาดหุ้นไทยที่ TURNOVER ต่ำกว่า 70% ถือว่าอยู่ในภาวะที่ไม่มี เสถียรภาพ ขณะที่ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานก็มีความเสี่ยง วันนี้คาด กรอบ 1420 –1435 จุด TOP PICK เลือก CPALL (BK:CPALL), PLANB และ WHA
การค้าโลกดูน่ากังวลในยุค TRUMP 2.0 ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ บวกกับการปลี่ยนแปลงการเมืองโลก กำลังเป็นเรื่องที่ ตลาดการเงินกลับมาใหน้ำหนัก มากกว่าการเติบโตเศรษฐกิจโลก ไดยพัฒนาการ ของเหตุการณ์กำลังนำไปสู่ยุค DEGLOBALIZATION (การทวนกระแสโลกาภิวัตน์) ซึ่งหลายๆ ประเทศมีความจำเป็นที่จะพึ่งพาตัวเองมากขึ้น สังเกตจากการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ ที่มีการกระจายออก นอกประเทศพัฒนา พร้อมกับเห็นความพยายามในการรวมกลุ่ม BRICS+ เพื่อสร้าง ความเป็นเอกภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่ขึ้นกับประเทศพัฒนาแล้ว โดยล่าสุดประเทศ สมาชิกในกลุ่ม BRICS+ สูงขึ้นเรื่อยๆ และยังไม่ซ้อนทับกลุ่ม OECD ขณะที่ไทย เป็น 1 ใน 13 พันธมิตร เพื่อปูทางสู่การเป็นสมาชิกในอนาคต (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบท วิเคราะห์ฉบับเต็ม INVEST PLUS ประจำเดือน ธ.ค. 2567)
อย่างไรก็ตาม การกลับมาของ TRUMP 2.0 คงเป็นเรื่องยากที่หลีกเลี่ยงผลกระทบ ต่อภาคการค้าโลก จากการเดินหน้านโยบายลดขาดดุลทางค้าสหรัฐฯ และล่าสุด ประกาศตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินกลุ่ม BRICS 100% หากออกเงินสกุลใหม่ทดแทน DOLLAR ส่วนภาคการส่งออกบ้านเรา อาจไม่ได้เติบโตมากนักและมีโอกาสชะลอตัวลงได้ หาก เกิด TRADE WAR ระหว่างสหรัฐฯ-จีน เฉกเช่นในอดีต โดยช่วงนั้นตัวเลขภาคส่งออก และบริการของไทย ลดลงอย่างชัดเจนในแง่ %YOY ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบมูลค่า ส่งออกต่อ GDP ในกลุ่มประเทศเอเชีย พบว่า “ไทย” พึ่งพาการส่งออกคิดเป็นสัดส่วน 69% ต่อ GDP (ข้อมูลปี 2023) ซึ่งสูงสุดในภูมิภาค
ขณะที่ สหรัฐขาดดุลกับไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่ 1.68 หมื่นล้านเหรียญ (อันดับ 13 ของโลก) ในปี 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 3.7 หมื่นล้านเหรียญ (อันดับ 11 ของโลก) นอกจากนี้ ไทยมีสัดส่วนตลาดที่ทำ FTA น้อยกว่าคู่แข่งในภูมิภาค แม้จะล่าสุดจะปิดดีลความตก ลงการค้าเสรีกับ EFTA ได้เพิ่มเติม ซึ่งความเสี่ยงต่อภาคการส่งออก ถือเป็น องค์ประกอบสำคัญที่อาจกดดันให้ GDP GROWTH ปี 2568 ของไทยไม่ได้เติบโตแรง มากนัก
สรุป ในระยะข้างหน้า ยังมีความเสี่ยงสงครามการค้ารออยู่ หลัง TRUMP ประกาศจะ เดินหน้านโยบายลดขาดดุลทางค้าสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้า ตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับ ตำแหน่งใน 20 ม.ค. 68
เศรษฐกิจไทย 4Q67 ถึง 2568 ยังคาดหวังการเติบโตได้ดี หลังจากที่ IMF ปรับคาดเศรษฐกิจไทย คาด +2.7%YOY ในปีนี้ และ +2.9%YOY ใน ปีหน้า ลุ้นการลดดอกเบี้ย + นโยบายการคลัง ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนความ เสี่ยงที่กังวล คือ ความเสี่ยงทางการค้า หนี้เอกชนสูง ห่วงหนี้ครัวเรือน ซึ่งหากนำ ประมาณการของ IMF มาเทียบกับประมาณการของหลายสำนักเศรษฐกิจที่ประเมิน GDP ไว้ก่อนหน้านั้น พบว่า มีอัตราเติบโตใกล้เคียงกัน โดยค่าเฉลี่ยของตัวเลข คาดการณ์ GDP ไทยของสำนักเศรษฐกิจต่างๆ อยู่ที่ 2.6%YOY ในปีนี้ จึงทำให้ GDP 4Q67 ต้องเติบโตอย่างน้อย +3.5%YOY ถึงจะโตเท่าประมาณการที่ตั้งไว้
ขณะที่ปีหน้าค่าเฉลี่ยของตัวเลขคาดการณ์ GDP ไทยของสำนักเศรษฐกิจต่างๆ อยู่ที่ 3.1%YOY ในปีหน้าซึ่งยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ จากการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยของภาครัฐ ฯ ซึ่งล่าสุดนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าโครงการแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 + ช่วยเหลือ ชาวนาไร่ละ 1,000 บาท จะเข้าที่ประชุม ครม. 3 ธ.ค. 67 ส่วนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน ล่าสุด ครม. ไฟเขียวแต่งตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลใน คณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 แทนตำแหน่งที่ว่าง ประกอบด้วย ร.อ. สาโรจน์ คมคาย (ร.น. อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน) และ อัครุตม์ สนธยานนท์ซึ่งหลังจากี้คณะกรรมการไตรภาคี เมื่อครบองค์ประชุมจะมีการนัดหารือเพื่อพิจารณาเรื่องขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน ในลำดับถัดไป ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยระยะถัดไป ยังมีโอกาส เติบโตได้ตามเป้าหมายของหลายสำนักเศรษฐกิจ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้น DEGLOBALIZATION พื้นฐานดีอาทิ CRC, MAJOR, MTC, ADVICE, CBG, SIRI เป็นต้น สรุป SET INDEX ในช่วงสั้นคาดถูกกดดันจาก SENTIMENT VOLUME ที่เบาบาง ส่วนภาพระยะกลาง-ยาวยังดูดี จากปัจจัยขับเคลื่อนในเชิงนโยบายของภาครัฐฯ ทั้ง โครงการแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 + ช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท รวมถึง นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้น DEGLOBALIZATION พื้นฐานดี อาทิ CRC, MAJOR, MTC, ADVICE, CBG, SIRI เป็นต้น
คาดเม็ดเงินมีโอกาสหมุนมาหุ้น FREE FLOAT สูงมากขึ้น ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางกลต. แนะนำผู้จัดการกองทุนควรจะพิจารณาการนำดัชนีที่ ปรับด้วย FREE FLOAT อย่าง SET50FF และ SET100FF มาใช้เป็น BENCHMARK แทนดัชนีเดิม จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างตลาดทุนไทยให้มีเสถียรภาพและ น่าเชื่อถือในระยะยาว ประเด็นดังกล่าว ถือเป็น SENTIMENT ลบ และกดดันหุ้นขนาดใหญ่ FREEFLOAT ต่ำ เริ่มย่อตัวลงในวันศุกร์ที่ผ่านมา อาทิ GULF -2.8%, INTUCH -2.8%, DELTA - 0.7% ฯลฯ
ภายใต้เม็ดเงินผลักดันตลาดฯ มีจำกัด คาดว่าจะมีเม็ดเงินสถาบันฯ หมุนจากหุ้น FREE FLOAT ต่ำที่ขึ้นมาเยอะ สลับเข้ามาในหุ้น FREE FLOAT สูง ที่ราคา LAGGARD ได้ ดังนั้น ฝ่ายวิจัยฯ ทำการคัดกรองหุ้นใหญ่ FREE FLOAT สูง ราคา LAGGARD อาจ ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น หากกองทุนเริ่มพิจารณานำดัชนีที่ปรับด้วย FREE FLOAT มาใช้เป็น BENCHMARK มากขึ้น คือ BDMS, BBL, CPN, SCC, BH, MINT, TISCO, LH, TU, BANPU, TCAP, CENTEL, KKP, CK, KCE
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities