📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

ลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ และพร้อมรับมือความผันผวนจากสถานการณ์สงครามรัสเซ

เผยแพร่ 25/11/2567 10:52
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้เงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ของปีนี้ แต่เงินบาทก็พอได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ และแรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติที่ลดลงจากช่วงก่อนหน้าพอสมควร
  • ควรจับตา รายงานข้อมูลเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ และ อัตราเงินเฟ้อ CPI ของยูโรโซน พร้อมระวังความผันผวนจากพัฒนาการสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่สถานการณ์โดยรวมทวีความรุนแรงมากขึ้น
  • เงินดอลลาร์อาจยังพอได้แรงหนุนจากทั้งความต้องการถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์สงคราม รวมถึงมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ยังคงเชื่อว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่า Dot Plot ล่าสุด และเฟดอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่าบรรดาธนาคารกลางหลักอื่นๆ ในส่วนของค่าเงินบาท เราประเมินว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทได้ชะลอลงชัดเจนมากขึ้น เปิดโอกาสให้เงินบาทแกว่งตัว Sideways หรือแข็งค่าขึ้นได้ ซึ่งต้องรอลุ้นว่า หากเงินดอลลาร์ยังคงได้แรงหนุนอยู่ ราคาทองคำจะสามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องได้หรือไม่ รวมถึงรอติดตามทิศทางเงินหยวนจีน (CNY) และทิศทางฟันด์โฟลว์ของบรรดานักลงทุนต่างชาติ
  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    34.20-34.85
    บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟด ผ่านรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE เดือนตุลาคม ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) และรายงานการประชุม FOMC ของเฟดล่าสุด (FOMC Meeting Minutes) โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดต่างประเมินว่า เฟดมีโอกาส 56% ที่จะเดินหน้าลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ ส่วนในปีหน้า เฟดก็อาจลดดอกเบี้ยราว 2 ครั้ง  
  • ฝั่งยุโรปผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) จากรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของยูโรโซน ในเดือนพฤศจิกายน รวมถึงรายงานคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อระยะ 1 ปี และ 3 ปี ข้างหน้า (Inflation Expectations) ที่สำรวจโดย ECB พร้อมทั้งถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB โดยล่าสุด จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจยูโรโซน อย่าง ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ เดือนพฤศจิกายนที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อีกทั้งยังออกมาแย่กว่าคาด ก็ทำให้ ผู้เล่นในตลาดยังคงเชื่อว่า ECB จะสามารถเดินหน้าลดดอกเบี้ยต่อเนื่องได้ในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ และมีโอกาสราว 47% ที่ ECB อาจเร่งลดดอกเบี้ยถึง 50bps ได้ ส่วนในปีหน้า ตลาดก็มองว่า ECB อาจเดินหน้าลดดอกเบี้ย (Deposit Facility Rate) ต่อเนื่องจนถึงระดับ 1.75% จากระดับปัจจุบันที่ 3.25%
  • ฝั่งเอเชียไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ (Manufacturing and Services PMIs) ของจีน ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะรับรู้ในช่วงเช้าของวันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน ตามเวลาประเทศไทย โดยผู้เล่นในตลาดจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการประเมินแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจซึ่งควรจะมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังทางการจีนได้ทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในส่วนนโยบายการเงิน นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างประเมินว่า ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) อาจลดดอกเบี้ยนโยบาย 50bps สู่ระดับ 4.25% ตามแนวโน้มการชะลอตัวลงต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อที่เข้าสู่กรอบเป้าหมาย 1%-3% ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ก็มีแนวโน้มชะลอตัวลงมากขึ้น ส่วนธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) อาจคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.25% เพื่อช่วยลดแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าและรักษาเสถียรภาพของค่าเงินวอนเกาหลี (KRW) ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้และเศรษฐกิจโดยรวมก็มีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งอาจเปิดโอกาสให้ BOK สามารถทยอยลดดอกเบี้ยนโยบายลงได้ในอนาคต
  • ฝั่งไทยผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานยอดการค้าระหว่างประเทศในเดือนตุลาคม โดยนักวิเคราะห์ต่างมองว่า ยอดการส่งออก (Exports) อาจขยายตัวราว +5.2%y/y ตามการทยอยฟื้นตัวของการค้าโลก ส่วนยอดการนำเข้า (Imports) อาจโตราว +6.3%y/y ทำให้โดยรวมดุลการค้าอาจขาดดุล -300 ล้านดอลลาร์ จากที่เกินดุลเกือบ 400 ล้านดอลลาร์ ในเดือนกันยายน  อนึ่ง สำหรับแนวโน้มเงินบาทนั้น ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI MACD และ Stochastic ใน Time Frame รายวัน สำหรับ USDTHB สะท้อนว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทได้ชะลอลงต่อเนื่อง เพิ่มโอกาสที่เงินบาทจะพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังเห็นสัญญาณหนุนการแข็งค่าของเงินบาท อย่าง Bearish Divergence จาก MACD forest อีกด้วย ทำให้เรายังคงมั่นใจต่อ Call Short-term Peak USDTHB แถวโซน 35.20-35.30 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา และมีโอกาสที่เงินบาทอาจผ่านจุดอ่อนค่าสุดในระยะสั้นไปแล้ว จนกว่าตลาดจะรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม และที่สำคัญ หากเงินบาทสามารถแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องหลุดโซนแนวรับ 34.50 บาทต่อดอลลาร์ ได้อย่างชัดเจน ก็มีโอกาสที่เงินบาทจะทยอยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ทดสอบโซนแนวรับถัดไป 34.20-34.30 บาทต่อดอลลาร์ สอดคล้องกับกลยุทธ์ Trend-Following ที่จะส่งสัญญาณ Short USDTHB (มองเงินบาทแข็งค่าขึ้น)

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย