ยังเห็นปัจจัยบวกที่คอยโอบอุ้ม SET INDEX ไว้อย่างน้อย 3 ส่วน เริ่มจาก ทิศทางดอกเบี้ยโลกที่อยู่ในขาลงชัดเจน การที่ กนง. บ้านเรายังไม่ปรับลด ดอกเบี้ยทำให้เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวถือ เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดการเงิน โดยเป็นแรงดึงดูดให้FUND FLOW ไหล เข้าต่อเนื่อง ประเด็นถัดมาเป็นเรื่องกองทุนวายุภักษ์ ซึ่งจากการประมวล ข่าวล่าสุดเชื่อว่าจะมียอดจองซื้อได้ตามเป้าหมาย 1.5 แสนล้านบาท โดย น่าจะเริ่มเห็นเม็ดเงินดังกล่าวเข้ามามีบทบาทต่อ SET INDEX ในช่วงเดือน ต.ค.67 และประการที่ 3 เป็น เรื่องนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการปรับเพิ่ม ค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท ทั่วประเทศ โดยประเด็นนี้ช่วงที่ผ่านมาถือเป็น แรงกดดัน แต่จากการติดตามสถานการณ์ พบว่ามีเรื่ององค์ประชุมไม่ ครบถึง 2 ครั้ง ทำให้แรงกดดันตลาดลดลงไป ประเมินว่า SET INDEX ยังถูกโอบอ้อมอยู่ด้วยปัจจัยบวกดังกล่าวข้างต้น ทำให้ยังอยู่ในขาขึ้น วันนี้ประเมินกรอบ 1445 –1460 จุด หุ้น TOP PICK เลือก CPALL (BK:CPALL), COM7และTASCO
“เงินบาท”แข็งแล้ว แข็งอีก และยังมีโอกาสแข็งต่อ วัฏจักรดอกเบี้ยโลกมีความชัดเจนขึ้นตามลำดับ ท่ามกลางทิศทางเงินเฟ้อที่มีแนวโน้ม เป็นไปตามธนาคารกลางต่างๆ คาดการณ์ ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง จากแรงกดดัน 2 ส่วนหลัก คือ
1. FED อาจปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้รวม 1% ซึ่งจะมีอัตรามากกว่า ECB (0.75%), BOE (0.5%) หลังFED มั่นใจว่าเงินเฟ้ออยู่ภายใต้การควบคุม ทั้งนี้ FED ได้ปรับดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปี(เมื่อ 18 ก.ย. 67) ลดลง 0.5% สู่ระดับ 5.0% ส่วนในช่วงที่เหลือของปีนี้ DOT PLOT คาดลดดอกเบี้ยลงอีก อย่างน้อย 0.5% สู่ระดับ 4.5%
2. ผู้ว่าการ BOJ ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีก หากเศรษฐกิจและเงินเฟ้อญี่ปุ่นใน ระยะถัดไปเป็นไปตามคาดของ BOJ ขณะที่ก่อนหน้านี้ BOJ ได้ปรับขึ้น ดอกเบี้ยมาแล้ว 2 ครั้งในปีนี้ จาก -0.1% สู่ระดับ 0.25%
หากเทียบตามสัดส่วนตะกร้าเงินดอลลาร์ ประกอบไปด้วยค่าเงินของประเทศยุโรป ญี่ปุ่น และอังกฤษ รวม 83% ซึ่งหากค่าเงินของประเทศหล่านี้แข็งค่าขึ้นอาจกดดัย ค่าเงินดอลลาร์ต่อเนื่อง
นอกจากนี้ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง ยังทำให้ BOND YIELD 10Y สหรัฐฯ มีโอกาสย่อตัวลงเรื่อยๆ และในกรณีที่ดอกเบี้ยไทยยังทรงตัวอยู่ที่ 2.5% จะ หนุนให้ผลต่างระหว่าง BOND YIELD 10Y สหรัฐฯ – ไทย มี GAP ที่แคบลงได้อีก ซึ่ง มักจะเป็นสัญญาณสะท้อนค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่ามากขึ้น ถือเป็นแรงหนุนดึงดูด เม็ดเงินจากต่างชาติ ไหลเข้าบ้านเรา
สรุป กลไกทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงมากกว่า ECB BOE อีกทั้งการ ดำเนินนโยบายการเงิน BOJ ที่อาจปรับขึ้นดอกเบี้ย ล้วนเป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเงิน ดอลลาร์อ่อนค่า ขณะที่ดอกเบี้ยไทยมีโอกาสตึงไว้ที่ 2.5% ถือเป็นแรงหนุนให้ FUND FLOW ไหลเข้าบ้านเรามากขึ้น
้น กนง. ลดดอกเบี้ยในปีนี้ เพื่อรักษาเสีถียรภาพค่าเงินบาท ฝ่ายวิจัยฯคาดว่า กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยในปีนี้1 ครั้ง(25 BPS.) ผ่านการประชุม กนง.ที่เหลืออยู่ 2 ครั้งในปีนี้ คือ ประชุม กนง. ครั้งที่ 5/67:16 ต.ค. 67และ ประชุม กนง. ครั้งที่ 6/67: 18 ธ.ค. 67ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนอยู่ 3 เหตุผลหลัก ดังนี้
1. FED ทยอยลดดอกเบี้ยแล้วผ่านการประชุมรอบล่าสุดถึง 50 BPS. และตลาด คาดหวังการลดดอกเบี้ยอีก 75 BPS. ภายในสิ้นปีนี้ จนคาดจะอยู่ระดับ 4.25%(อ้างอิงจาก FED WATCH TOOL)
2. ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าแร็วและแรง ตามกลไกของ DOLLAR INDEX ที่อ่อนค่า หลัง FED ขึ้นดอกเบี้ย โดยตั้งแต่ต้นไตรมาส ค่าเงินบาท แข็งค่ากว่า 10.3% ซึ่ง ถือว่าเป็นการแข็งค่าสุดในรอบ 25 ปีครึ่ง (102 ไตรมาส) อีกทั้งยังแข็งค่าเป็น ระดับต้นๆในแถบโซนเอเชีย
3. การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วและแรง จะส่งผลลบโดยตรงต่อภาคการส่งออกท่องเที่ยว โดยต้องติดตามตัวเลขส่งออก-นำเข้า ประจำเดือน ส.ค.67 ว่าจะ ออกมาเช่นไร โดยทาง BLOOMBERG CONSENSUS ประเมินว่าตัวเลข ส่งออกอยู่ที่ +6.0%YOY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +15.2%YOY
ประเด็นดังกล่าวจึงทำให้นักลงทุนคาดหมายว่า ธปท.มีโอกาสลดดอกเบี้ยในอนาคต โดยในปีนี้มีโอกาสเห็นการลดดอกเบี้ยสัก 1 ครั้ง ราว 25 BPS. สะท้อนตาม BOND YIELD ไทยอายุ 1 ปี ถึง 10 ปี ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ทั้งหมด
เม็ดเงินกองทุนวายุภักษ์ และ THAIESG น่าจะเป็นส่วนสำคัญใน การพยุงตลาดช่วง 4Q67 กองทุนรวมวายุภักษ์ 1 เม็ดเงินกว่า 1.5 แสนล้านบาท ถูกจองซื้อเต็ม หลังจากเปิดให้ผู้ ลงทุนรายย่อยจองซื้อเมื่อวันที่ 16-20 ก.ย. 67 และผู้ลงทุนสถาบัน จองซื้อวันที่ 18-20 ก.ย. 2567 ผ่าน 8 สถาบันการเงิน พร้อมประกาศผลจัดสรรเป็นแบบ “SMALL LOT FIRST” วันที่ 25 กันยายน 2567และจะเปิดซื้อขายในตลาดฯ วันแรก 7 ต.ค. 67 และยังมีเม็ดเงินจาก THAIESG เงื่อนไขใหม่ 34 กองทุน พอรัฐบาลอนุมัติผ่านมาได้ 1 เดือนกว่า ๆ มีเม็ดเงินหนุนเพิ่ม 2.5 พันล้านบาท จนมี AUM ล่าสุด อยู่ที่ 9.4 พันล้าน บาท (ณ 20 ก.ย. 67) โดยฝ่ายวิจัยฯ คาดหวังจะมีเม็ดเงินไหลใหม่ไหลเข้าเพิ่มอีก 1 –2 หมื่นล้านบาท ในช่วง 4Q67 เพราะปกตินักลงทุนมักกระจุกการลงทุนกองทุนประหยัด ภาษีในช่วงท้ายๆ ปี หรือไตรมาสที่ 4 ราว 66% ของทั้งปี
สรุป เม็ดเงินกองทุนวายุภักษ์ และ THAIESG น่าจะเป็นส่วนสำคัญในการพยุงตลาด ช่วง 4Q67 ให้ขยับขึ้นไปเหนือ 1500 จุดได้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities