📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ

เผยแพร่ 13/08/2567 08:44

Economic Highlight

ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลัก ทั้ง เฟด และ BOE ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ และอังกฤษ รวมถึงถ้อยแถลงบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ขณะเดียว ควรระวังความผันผวนจาก สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทย

**ราคาทองคำ = Spot Gold price (XAUUSD

FX Highlight

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์ทยอยรีบาวด์แข็งค่าขึ้นบ้าง หลังผู้เล่นในตลาดเริ่มปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟด 
  • อย่างไรก็ดี เงินบาทไม่ได้ผันผวนอ่อนค่าไปมากนัก หนุนโดยแรงซื้อสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะบอนด์ระยะสั้นและระยะยาวจากบรรดานักลงทุนต่างชาติ 
  • เราประเมินว่า เงินดอลลาร์อาจพอได้แรงหนุนเพิ่มเติม หาก 1) ผู้เล่นในตลาดทยอยปรับลดความคาดหวังต่อการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟดเพิ่มเติม 2) สกุลเงินหลักอื่นๆ อย่างเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) อ่อนค่าลง หากผู้เล่นในตลาดเชื่อว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) อาจลดดอกเบี้ยได้อีก 2-3 ครั้งในปีนี้ และ 3) บรรยากาศในตลาดยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ซึ่งอาจมาจากทั้งปัจจัยความเสี่ยงสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และความผิดหวังต่อรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน 
  • ล่าสุด ผู้เล่นในตลาดคาดหวังว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ราว -100bps ในปีนี้ และมีโอกาสเกิน 50% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ย -50bps ในการประชุมเดือนกันยายน ทำให้มีโอกาสที่ผู้เล่นในตลาดจะปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดดังกล่าวได้
  • เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ ทั้งอัตราเงินเฟ้อ CPI ดัชนีราคาผู้ผลิต PPI รวมถึงยอดค้าปลีก (Retail Sales) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (U of Michigan Consumer Sentiment) 
  • นอกจากนี้ ถ้อยแถลงจากบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดได้
  • ทั้งนี้ ควรจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของอังกฤษ เช่นกัน ซึ่งจะมีทั้ง รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ยอดค้าปลีก และอัตราการเติบโตเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 โดยอาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของ BOE และกระทบต่อเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ได้
  • เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้ หากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางทวีรุนแรงมากขึ้นและอาจบานปลายได้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น พร้อมกับการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ทว่า เงินบาทก็อาจพอได้แรงหนุน หากราคาทองคำก็ปรับตัวขึ้นเช่นกัน รวมถึงหากเงินเยนกลายมาเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) เช่นในอดีตและทยอยแข็งค่าขึ้นได้  
  • และนอกเหนือจากปัจจัยในข้างต้น เรามองว่า ควรจับตาทิศทางตลาดการเงินจีน โดยเฉพาะค่าเงินหยวน (CNY) ซึ่งอาจผันผวนไปตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน อาทิ ยอดค้าปลีก และยอดผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นต้น
  • เราประเมินว่า ยังคงต้องเฝ้าระวังความผันผวนในตลาดการเงินจาก การ Unwind JPY Carry Trade หรือการลดสถานะ Short JPY เพราะแม้ผู้เล่นในตลาดจะปรับลดสถานะดังกล่าวไปมากแล้ว ทว่าผู้เล่นในตลาดก็ยังคงมีสถานะ Short JPY หรือ JPY Carry Trade อยู่พอสมควร ทำให้หากเงินเยนญี่ปุ่น สามารถแข็งค่าขึ้น ได้เร็วและแรง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ก็จะสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงิน ตามการปรับลดสถานะดังกล่าวต่อเนื่องของผู้เล่นในตลาด
  • เรามองว่า รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน จะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามและอาจกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้
  • ส่วนปัจจัยในประเทศ ควรจับตาปัจจัยเสี่ยงการเมืองในประเทศซึ่งจะมีการวินิจฉัยคดีถอดถอนนายกฯ (วันที่ 14 สิงหาคม )  โดยความเสี่ยงการเมืองไทยอาจส่งผลกระทบต่อทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติในช่วงนี้
  • สัญญาณจาก RSI และ Stochastic ใน Time Frame รายวัน สะท้อนว่า เงินบาทยังมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้าง ขณะที่ MACD ยังคงสะท้อนว่า โมเมนตัมการแข็งค่าของเงินบาทยังคงอยู่ ทำให้เรามองว่า เงินบาทก็อาจยังคงแกว่งตัว sideways ในกรอบ 
  • ส่วนสัญญาณจาก Time Frame H1 และ H4 ทั้ง RSI และ Stochastic สะท้อนภาพว่าเงินบาทเริ่มเจอโซนแนวรับในระยะสั้นแถว 35.15-35.20 บาทต่อดอลลาร์ และมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลงได้ นอกจากนี้ สัญญาณจาก MACD ทั้งใน TF H1 และ H4  ต่างสะท้อนว่า เงินบาทมีแนวโน้มทยอยอ่อนค่าลง
  • โดยรวมเราประเมินว่า  เราประเมินว่า เงินบาทมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้าง แต่จะมีโซนแนวต้านแถว 35.50 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวต้านแรก และมีโซน 35.70 บาทต่อดอลลาร์ (แถวเส้นค่าเฉลี่ย EMA 20 วัน) เป็นแนวต้านถัดไป ขณะที่ การแข็งค่าก็อาจเป็นไปอย่างจำกัดแถวโซนแนวรับแรก 35.15-35.20 บาทต่อดอลลาร์ และหากเงินบาทแข็งค่าหลุดโซนดังกล่าว ก็จะมีโซนแนวรับสำคัญ 35.00 บาทต่อดอลลาร์

Gold Highlight

  • ราคาทองคำทยอยปรับตัวสูงขึ้นได้ แม้ว่าเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ จะปรับตัวขึ้นก็ตาม ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นการเตรียมพร้อมรับมือความผันผวนในตลาดการเงินจากทั้งความกังวลปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ 
  • ในระยะสั้น ผู้เล่นในตลาดอาจยังคงกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังมีความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยต่อเนื่องของเฟด และหนุนให้ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ หรือ อย่างน้อยราคาทองคำก็อาจไม่ได้ปรับตัวลดลงหนัก
  • ทว่ายังคงต้องระวัง การปรับเปลี่ยนมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด (Repricing Fed’s rate cuts) ซึ่งอาจกดดันราคาทองคำได้พอสมควร โดยเฉพาะหลังราคาทองคำได้ปรับตัวขึ้นใกล้โซนแนวต้านระยะสั้น
  • ทั้งนี้ สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ทวีความร้อนแรงมากขึ้นและเสี่ยงที่จะบานปลาย อาจช่วยหนุนให้ราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นและอาจทำจุดสูงสุดใหม่ได้  
  • ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI Stochastic และ MACD Time Frame รายวัน ชี้ว่า ราคาทองคำยังมีโมเมนตัมขาขึ้นอยู่ นอกจากนี้ ลักษณะกราฟแท่งเทียนเมื่อวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา ก็เหมือนจะเป็น Bullish Engulfing เพิ่มโอกาสที่ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้น
  • ส่วนในภาพTime Frame H4 และ H1 สัญญาณจาก RSI Stochastic และ MACD นั้นไม่ต่างกับภาพจาก TF Day โดยสะท้อนว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นต่อได้ โดยอาจมีโซนแนวต้านแรกแถว 2,450 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และมีโซน 2,485 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เป็นแนวต้านถัดไป ส่วนแนวรับแรกอาจอยู่ในช่วง 2,400 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือแถวเส้นค่าเฉลี่ย EMA20 วัน
  • โดยรวม เรามองว่า ราคาทองคำอาจแกว่งตัวในกรอบ sideways แต่ต้องระวังความผันผวนที่อาจสูงขึ้น จากปัจจัยเสี่ยงทั้งการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด และสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย