ผลสำรวจของ Bloomberg ถึงโอกาสที่จะเกิด Recession ใน 12 เดือนข้างหน้า ของแต่ละประเทศ ล่าสุดพบว่า โอกาสที่จะเกิด Recession ของประเทศพัฒนา แล้วปรับตัวลดลงโดยสหรัฐฯ ลดจาก50% เหลือ 40% ยุโรปลดลงจาก 65% เหลือ 60% แต่ในทางตรงข้ามพบว่า ประเทศในเอเซียมีความเสี่ยงที่จะเกิด Recession เพิ่มขึ้น โดยในส่วนของประเทศไทยเพิ่มจาก 15% เป็น 30% ซึ่งถือ เป็นประเด็นที่น่ากังวล และอาจส่งผลทำให้Fund Flow ยังไม่ไหลกลับเข้ามา ในอีก ทางหนึ่ง ผลประกอบการ 4Q66 ของบริษัทจดทะเบียนรวมอยู่ที่ 1.76 แสนล้าน บาท ลดลง 40.6% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 5% YoY ถือเป็นฐานกำไรที่ต่ำกว่าคาด และ นำไปสู่การปรับลดประมาณการ EPS ปี 2567 ลง โดยประเมินว่าน่าจะอยู่ใน กรอบ 92-93 บาท/หุ้น ซึ่งการปรับลดลงดังกล่าวอาจส่งผลทำให้เป้าหมาย SET Index ปี 2567 อาจอยู่ที่ระดับไม่เกิน 1600 จุด
ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานมีน้ำหนักในทางลบ ขณะที่สัญญาณทางTechnical ก็ ไม่ดีหลังหลุดระดับ 1370 จุด ลงมา คาดว่า SET Index ยังอยู่ในช่วงปรับฐาน กรอบวันนี้ 1362 –1377 จุด หุ้น Top Pickเลือก ADVANC, CPN และTASCO
สัญญาณเงินเฟ้อชะลอตัว ภาพการปรับลดดอกเบี้ยชัดขึ้น
ทิศทางดอกเบี้ยขาลงในสหรัฐฯ ในช่วงกลางปี 2567 มีความคาดหวังมากขึ้นเรื่อยๆ หลังมีสัญญาณการชะลอตัวลงของเงินเฟ้อที่ชัดเจนขึ้น สะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ รายงานออกมาล่าสุด อาทิ
• เงินเฟ้อในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ตั้งแต่ดัชนี เงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ เดือน ม.ค. +2.4%YoY ตามคาด ชะลอตัวลงจากเดือน ก่อนที่ +2.6%YoY รวมถึงเงินเฟ้อยุโรปเดือน ก.พ. ชะลอตัวลงทั้ง ทั้ง CPI และ Core CPI ขณะที่เงินเฟ้อในแถบเอเชีย (อาทิ ไทย จีน) คาดการณ์ว่าจะยัง อยู่ในระดับต่ำ
• ดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตของสหรัฐเดือน ก.พ. อยู่ในระดับ 47.8 จุด ต่ำ กว่าคาดที่ 49.5 จุด โดยเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 (PMI
อย่างไรก็ตาม ทิศทางเงินเฟ้อในระยะถัดไปยังมีโอกาสชะลอตัวในอัตราที่ช้าลงได้ จาก ความเสี่ยงของราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบ WTI เฉลี่ยเดือน มี.ค. 67 ดีดตัวใกล้ทะลุ 80 เหรียญฯ/บาเรล หรือ +9%YoY หลังมีแรงกดดันในฝั่ง Supply ไม่ ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศบริเวณตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อ รวมถึงกลุ่ม OPEC+ ได้ขยายการลดกำลังการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจออกไปเป็น 2Q67 (เดิม สิ้นสุดใน 1Q67) เพื่อพยุงราคาน้ำมันในตลาด
สรุป ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะมีโอกาสส่งผ่านเงินเฟ้อในหมวด Energy ให้ขยับขึ้นได้ แต่ ไม่น่าจะเป็นแรงผลักที่มากพอให้ดอกเบี้ยเปลี่ยนทิศ โดยตลาดการเงินยังคาดว่า Fed จะเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงกลางปีนี้ ขณะที่บ้านเราหากมีการปรับดอกเบี้ยก่อน Fed ในวันที่ 10 เม.ย. นี้ จะทำให้ช่องว่าง ดอกเบี้ยสหรัฐ-ไทย มี Gap ที่กว้างขึ้น และอาจกดดันให้เงินบาทอ่อนค่า กระตุ้น Fund Flow ไหลออก แต่ในทางกลับกันเงินบาทที่อ่อนค่า ก็น่าจะส่งผลดีต่อบาง อุตสาหกรรม อาทิ ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทย
หลายปัจจัยลบ กดดันเม็ดเงินต่างชาติไหลออกจาก SET มาก สุดในภูมิภาค
ตัวเลข GDP GROWTH ของไทยปี 2566 อยู่ที่ +1.9%YOY ต่ำกว่าตลาดคาดที่ +2.1%YOY ทำให้เศรษฐกิจไทยใน 4Q66 ออกมา +1.7%YOY(ต่ำกว่าคาด +2.5%YOY) และ -0.6%QOQ (ต่ำกว่าคาด -0.2%QOQ) ส่วนหนึ่งถูกกดดันจากการ เบิกจ่ายของรัฐบาลที่ล่าช้าทั้งในส่วนของ การลงทุนภาครัฐ และ การใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่ง ระยะถัดไปใน 1Q67 แม้มีโอกาสเกิด TECHNICAL RECESSION น้อย เนื่องจาก ปัจจัย หนุนหลักๆ มาจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้า การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการ อุปโภคบริโภคผ่านมาตรการ EASY E-RECEIPT บวกกับการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาค การท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม Bloomberg Consensus คาดว่าไทยมีโอกาสเกิด TECHNICAL RECESSION ในอีก 1 ปีข้างหน้าเพิ่มขึ้นจาก 15%(ในช่วงต้นปี) สู่ระดับ 30%
ขณะที่ประเด็นลบหลักๆ คงหนีไม่พ้นกำไร 4Q66 ที่ดูไม่สดใส โดยบริษัทจดทะเบียน รายงานกำไรงวด 4Q66 อยู่ที่ 1.66 แสนล้านบาท (ลดลง -40.6%QOQ, +5.0%YOY) ซึ่งหากพิจารณาข้อมูลจาก BLOOMBERG CONSENSUS จะเห็นได้ว่ากำไรที่ ออกมานั้นต่ำกว่าที่คาดถึง 30%
ทำให้กำไรบริษัทจดทะเบียนงวด 4Q66 ที่ต่ำคาด จึงทำให้ EPS66 ล่าสุดอยู่ที่ 81.0 บาท/หุ้น(ลดลง 0.6%YoY) ขณะที่ประมาณการ EPS67F ล่าสุดอยู่ที่ 92.1 บาท/หุ้น (เติบโต 13.7%YOY)
ด้วยประเด็นลบทั้งหมดที่กล่าวไป จึงกดดันให้ Flow ต่างชาติตั้งแต่ต้นปีไหลออกจาก ตลาดหุ้นไทยเป็นแห่งเดียวในภูมิภาค โดยขายสุทธิ 811 ล้านเหรียญฯ หรือ 2.9 หมื่น ล้านบาท และกดดัน SET Index ปรับตัวลง 3.4%(Ytd) ซึ่งหลังจากนี้ คงต้องหวังเพิ่ง การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังที่เร็วขึ้น หลังจากครม. เร่งเบิกจ่าย งบประมาณปี 2567 เร็วขึ้น คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ และทำให้มีเม็ดเงินลงสู่ระบบ เศรษฐกิจในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ซึ่งต้องติดตามว่าจะมีประสิทธิภาพต่อ เศรษฐกิจไทยมากน้อยเพียงใด
สรุป หลากหลายปัจจัยลบที่ถาโถม SET ทั้งความเสี่ยงการเกิด Recession เพิ่มขึ้น และกำไรบริษัทจดทะเบียนงวด 4Q66 ที่ออกมาต่ำคาด กดดันประมาณการกำไรปี 2567 ทำให้ Flow ต่างชาติตั้งแต่ต้นปีไหลออกจากตลาดหุ้นไทยเป็นแห่งเดียวใน ภูมิภาค และกดดัน SET Index ปรับตัวลง 3.4%(Ytd) ขณะที่วันนี้คาดกรอบการ เคลื่อนไหวของ SET Index 1362-1377 จุด
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities