CPI & BOT
• SET: คาด SET Index แกว่งตัว Sideways ต่อไป โดยมีปัจจัย ประคับประคองในวันนี้ได้แก่ราคานํามันดิบบรีบาบด์ขึ้นมา และเงินบาทที หลังจากปรับตัวอ่อนค่าเมื่อวันก่อนเนื่องจากแรงขายของนัก ลงทุนต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ ในเชิงกลยุทธ์ ตราบใดที่ SET ยังคง อยู่ต่ํากว่าระดับ 1410 จุด ประเมินเช่นเดิมว่าดัชนีจะยังมีความพยายามใน การปรับตัว Technical rebound ต่อไปได้ แม้ว่าเบื้องต้นเปิดมาสัปดาห์นี้ อาจแกว่งตัว Sideways ไปก่อน แนะนําถือครองหุ้นในส่วนเดิมได้ต่อไป
• CPI: กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือนม.ค.ของไทยเมื่อวานนี้ ปรากฏว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI) หดตัว 1.1% YoY อ่อนแอกว่า ที่ตลาดมองว่าจะหดตัว 0.9% โดยเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็น เดือนที่ 4 และอยู่ระดับต่ําสุดในรอบ 35 เดือน ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภค พื้นฐาน (Core CPI) เพิ่มขึ้น 0.5% YoY ต่ํากว่าตลาดคาดเล็กน้อย
• Our take: ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมกราคมของไทยออกมาหดตัวจาก หมวดเดิมๆเป็นสําคัญ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโภคภัณฑ์อย่างราคาสัตว์บก อาหาร สด และราคาพลังงาน รวมไปถึงราคานํามันเชื้อเพลิง จากการตรึงราคา นํามันดีเซล ทั้งนี้ มีมุมมองเช่นเดิมว่าเงินเฟ้อทั่วไปของไทยจะยังคง ปรับตัวติดลบต่อไป ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด เมื่อพิจารณา จากฐานต่ําของราคาโภคภัณฑ์โลกในปีก่อน (รูปที่ 1) รวมถึงปัจจัยใน ประเทศเฉพาะตัวอย่างมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ ซึ่งกว่าจะ เริ่มต้นขึ้นก็อยู่ในช่วงไตรมาส 3 ของปีก่อนไปแล้ว
• View on BoT: คงมุมมองว่าธปท.จะไม่เอาปัจจัยดังกล่าวมาเป็นประเด็น ต่อการตัดสินใจนโยบายการเงินในการประชุมวันที่ 7 ก.พ.นี้ แม้อาจมีการ ปรับเปลี่ยนคาดการณ์เงินเฟ้อในส่วนของปีนี้ลงก็ตาม ส่วนภาวะการบริโภค ในประเทศนั้น หากสะท้อนผ่านระดับเงินเฟ้อพื้นฐานล่าสุดที่ขยายตัวได้ 0.5% ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ มอง Timing การลดดอกเบี้ยครั้ง แรกของไทยน่าจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 2 หรือไตรมาส 3 ปีนี้เช่นเดิม
• Why Hold? สําหรับปัจจัยอื่นที่ทําให้เราคาดว่ากนง.อาจมีการคงดอกเบี้ย ในวันพรุ่งนี้ไปก่อน ได้แก่
1) เพื่อสร้างเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ช่วงเวลาที่ Fed ยังไม่ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยในไตรมาสแรกของปีนี้
2) ความเสี่ยง Upside risk ของเงินเฟ้อที่มองข้ามไม่ได้ เช่น ความเสี่ยง ภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางที่อาจทําให้ราคาโภคภัณฑ์ปรับตัว สูงขึ้นอีกครั้ง
3) แรงผลักดันทางด้าน Demand pull ที่อาจเกิดขึ้นจากมาตรการกระตุ้น การบริโภคภายใน และมาตรการดึงดูดนักท่องเที่ยวเช่น ฟรีวีซ่าต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลให้อุปสงค์และราคาสินค้าในหมวดที่เกี่ยวข้องปรับตัว สูงขึ้น
4) เพื่อคงระดับ Policy space ไว้สําหรับรองรับความเสี่ยงทางด้าน เศรษฐกิจที่รุนแรงกว่านี้
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities