ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ม.ค.67 ของบ้านเราออกมา -1.11% YoY ขณะที่Core Inflation +0.52% ตัวเลขเงินเฟ้อที่ติดลบดังกล่าวถือเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็น เดือนที่ 4 สร้างความกังวลถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่ซึมลึกมากกว่าที่คิด สิ่งที่ คาดหมายว่าจะเห็นจากนี้ไปได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเป็นไปได้ที่จะ เห็นแรงขับเคลี่อน Digital Wallet ที่ชัดเจนมากขึ้น ส่วนในเชิงนโยบายการเงิน ปัจจุบันมีแรงผลักดันไปสู่การปรับลดดอกเบี้ยมากขึ้น อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่า การประชุม กนง.วันพร่งนี้ (7 ก.พ.67) กนง. น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% ส่วนการปรับลดลงอาจเกิดขึ้นหลังจากที่ Fed เริ่มขยับลดดอกเบี้ยนำไปก่อน ซึ่ง น่าจะเป็นช่วงกลางปี 2567 ส่วนกรอบที่คาดว่า กนง. จะพิจารณาลดลงได้อาจอยู่ ในช่วง 0.25 –0.5% สำหรับปี 2567 สภาวะแวดล้อมดังกล่าวน่าจะมีน้ำหนักค่อน ไปทางบวกสำหรับ SET Index
ประเมินว่า SET Index น่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดย วันนี้คาดอยู่ในกรอบ 1380 – 1394 จุด สำหรับหุ้น Top Pick วันนี้ เลือก AP, AOT (BK:AOT) และ BJC
FED ส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยนานขึ้น กดดันตลาดหุ้นช่วงสั้น
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงราว 0.2%-1.3% หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ให้สัมภาษณ์ในรายการ “60 Minutes” ว่า FED จะดำเนินการอย่างระมัดระวัง ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ และมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยล่าช้ากว่า ที่ตลาดคาดไว้อีกทั้งการประชุมรอบเดือน มี.ค.67 ยังไม่มีความคิดที่จะลดดอกเบี้ยใน รอบนี้เนื่องจาก FED จำเป็นต้องรอดูข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อเป็นเครื่องยืนยัน ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐปรับตัวลงสู่เป้าหมายของ FED ที่ระดับ 2% ดังที่ตั้งไว้ บวก กับตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งแม้อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ระดับสูงเช่นนี้ ประเด็นดังกล่าว ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นทะลุระดับ 4.16% และ หนุน Dollar index แข็งค่าขึ้น 0.51% สู่ระดับ 104.45 จุด
ซึ่งล่าสุด FED WATCH TOOL ให้โอกาสคงดอกเบี้ยมากขึ้นในการประชุมเดือน มี.ค. 67 ถึง 83.5% ขณะที่การประชุมรอบเดือน พ.ค.67 FED WATCH TOOL ให้โอกาส คงดอกเบี้ยมากขึ้นเช่นกัน อยู่ที่ 32.9% ซึ่ง 1 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ มีน้ำหนักเพียงแค่ 12% เท่านั้น อย่างไรก็ตามภาพรวมตลอดปี 2567 ยังเห็นการลด ดอกเบี้ยถึง 5 ครั้ง ครั้งละ 0.25% รวมแล้วกว่า 1.25% จน ณ สิ้นปี 2567 คาด ดอกเบี้ยจะอยู่ระดับ 4.25%
สรุป มุมมองทิศทางดอกเบี้ยของ FED แตกต่างจากที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทำให้ตลาด หุ้นเกิดความผิดหวัง และปรับตัวลงในช่วงสั้น และสร้าง Sentiment เชิงลบต่อตลาด หุ้นไทยในวันนี้ โดยวันนี้คาดกรอบการเคลื่อนไหวของ SET index ไว้ที่ระดับ 1380 - 1394 จุด
เศรษฐกิจไทยฟื้นช้า หนุนกระแสเดินหน้ามาตรการกระตุ้น
วานนี้กระทรวงพาณิชย์รายงานเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือน ม.ค. -1.11%YoY หดตัว ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำกว่าตลาดคาดที่ -0.82YoY รวมถึงต่ำสุดในรอบ 35 เดือน ซึ่งการหดตัวหลักๆ จากกลุ่มพลังานที่ปรับลดลงตามยนโยบายภาครัฐ บวก กับกลุ่มอาหารสด ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทยพุ่งสูงถึง 3.61% (ผลต่าง ระหว่างดอกเบี้ย 2.5% และเงินเฟ้อ -1.11%)
ส่วน Core CPI ล่าสุด +0.52%YoY ต่ำสุดในรอบ 2 ปีและอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อ เทียบกับหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ผลต่างระหว่างดอกเบี้ยนโยบาย (2.5%) และเงิน เฟ้อพื้นฐาน (0.52%) ล่าสุดห่างกัน 1.98% ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 14 ปีครึ่ง
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ คาดว่าเงินเฟ้อไทยเดือน ก.พ. 67 มีโอกาสติดลบเป็นเดือนที่ 5 จากราคามาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ จึงช่วยลดต้นทุนหลักของ ภาคอุตสาหกรรม บวกกับกระทบของเอลนีโญ่มีแนวโน้มลดลง แต่เงินเฟ้อมีโอกาส ขยับขึ้นจากความเสี่ยงสงคราม และภาคท่องเที่ยวฟื้นตัว ทั้งนี้การคาดการณ์เงินเฟ้อ ที่ยังมีแนวโน้มมหดตัวต่อเนื่อง ค่อนข้างสอดคล้องกับมุมมองของฝ่ายวิจัยภายใต้ สมมติฐาน CPI Growth ในเดือนถัดๆ ไปขยายตัว 0.02%MoM เทียบเท่ากับเดือน ม.ค. 67 จะทำให้เงินเฟ้อในเดือน ก.พ. – มี.ค. 67 ติดลบราว -0.97%YoY และ - 0.69%YoY ตามลำดับ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานดัชนีปีก่อนอยู่ในระดับสูง
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ประเมินเงินเฟ้อไทยที่ติดลบ ยังไม่น่าเป็นห่วงว่าจะ เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะเงินฝืด เนื่องจากกลไกลแทรกแซงของภาครัฐ ขณะที่สินค้าและ บริการราว 265 รายการมีการขยับขึ้น (จากทั้งหมด 430 รายการ)
อย่างไรก็ตาม ในมุมของฝ่ายวิจัยฯ มองว่าเงินเฟ้อไทยที่ปรับตัวลดลงถึงติดลบใน ระยะแรก อาจถือเป็นชัยชนะในการปราบเงินเฟ้อ แต่เมื่อติดลบต่อเนื่องกัน 3 -4 เดือน ต้องกลับมามองในมุมกลับว่า เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว มากกว่าที่คาดหรือไม่ สถานการณ์ดังกล่าวหนุนกระแสเดินหน้ามาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจที่แรงขึ้น ผ่านนโยบายการเงินผ่อนคลายและนโยบายการเงินที่เข้มข้น
ความคาดหวังนโยบายการเงินผ่อนคลาย : ในวันพรุ่งนี้ (7 ก.พ.67) กนง. จะมีการ ประชุมเบื้องต้นคาดว่าจะเห็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% แต่น่าจะส่ง สัญญาณของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าช่วงเวลาการปรับลดอกเบี้ยของ กนง. บ้านเรา น่าจะเกิดขึ้นหลังจาก Fed เริ่มปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกประมาณกลางปี 2567 และการปรับลดของ กนง. อาจ เกิดขึ้นได้ 1-2 ครั้งในปีน
ความคาดหวังนโยบายการคลังที่เข้มข้นขึ้น : การใช้จ่ายที่ชะลอตัว ทำให้การเดินหน้า กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาค Consumption ยิ่งมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น และเป็นปัญหา ที่ควรเร่งดำเนินการ
สรุป เงินเฟ้อไทยที่หดตัวต่อเนื่อง อาจเพิ่มความกังวลเศรษฐกิจไทยเปราะบาง หนุน กระแสเดินหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่แรงขึ้น ผ่านนโยบายการเงินผ่อนคลาย และนโยบายการเงินที่เข้มข้น
แม้สร้างความผันผวนให้ต่อตลาดหุ้นในช่วงสั้น แต่ SET Index ได้ตอบรับประเด็นลบ มาในระดับหนึ่งแล้ว จนทำให้ P/E 67F อยู่ที่ 14 เท่า กลยุทธ์แนะนำทยอยสะสม หุ้น ได้รับอานิสงค์จากความหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินและการคลัง เพิ่มเติม TIDLOR, SAWAD, MTC, AOT, MINT, AP, SPALI, ADVANC, JMART, CPAXT, BJC, CPALL (BK:CPALL)
หาหุ้นเด่น หวัง SET ขึ้น รับปีมังกร 2567
ใกล้เข้าสู่ช่วงวันตรุษจีนปีมังกร 2567 (วันที่ 10 ก.พ. 67) ฝ่ายวิจัยฯ ทำการศึกษา พฤติกรรมตลาดหุ้นไทยในช่วงตรุษจีนเป็นอย่างไร? พบว่า ตลอด 12 ปีนักษัตรที่ผ่าน มา ก่อนตรุษจีน 1 สัปดาห์ SET Index ปรับตัวขึ้นได้9 ใน 12 ปี และค่อยๆ ทยอยปรับ ขึ้นเฉลี่ยราว 0.5% (ส่วนปีมะโรง 2555 SET ปรับขึ้น +1.3% แรงกว่าค่าเฉลี่ย) เนื่องจากนักลงทุนมักคาดหวังการจับจ่าย การท่องเที่ยว ที่คับคั่งขึ้นในช่วงเทศกาลนี้
ส่วนหลังตรุษจีน 1 สัปดาห์ SET Index ปรับขึ้นเพียง 4 ใน 12 ปี โดยให้ผลตอบแทน เป็นบวกเล็กน้อยแค่ 1 – 2 วันแรกเท่านั้น แล้วค่อยๆ ย่อตัวลง (แต่ปีมะโรง 2555 SET บวกต่ออีก +1.7% โดยช่วง 2 สัปดาห์ ก่อนตรุษจีน 1 สัปดาห์ และหลังตรุษจีน 1 สัปดาห์ ปีมะโรง2555 SET บวกรวมกัน 3%)
พอรู้แล้วว่าจากสถิติ 12 ปีที่ผ่านมา ช่วงเวลาเก็งกำไรในตลาดหุ้นกระจุกตัวอยู่ในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนวันตรุษจีน ฝ่ายวิจัยฯ จึงค้นหา Sector ที่มัก Outperform ตลาดได้ เด่น พบว่า มี Sector FIN ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเด่นสุด +2.2% ตามมาด้วย AGRI +2.1%, TOURISM +1.8%, AUTO +1.4%, PKG +1.1%, ENERG +0.9%, BANK +0.9%, TRANS +0.9%, PROP +0.7%, PERSON +0.7%, COMM +0.7%, MEDIA +0.6%, PF&REIT +0.6% ขณะที่ SET +0.5%
ส่วนหุ้นที่บวกได้เด่นในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนตรุษจีน (ย้อนหลัง 12 ปี) คือ JMART, STA, KKP, KTC, CENTEL, KBANK (BK:KBANK), SIRI, INTUCH, PTT (BK:PTT), ERW, KCE, CPALL, PTTEP, RCL, AP, BCH, AOT, BBL, TCAP, BCP, MINT, IVL, KTB, EGCO, BSRC, TISCO เป็นต้น
สำหรับปีนี้ฝ่ายวิจัยฯ แนะนำเก็งกำไรในธีมนี้ กับหุ้นการเงิน KTC, หุ้นเกษตร STA, หุ้น ท่องเที่ยว AOT, MINT, ERW, CENTEL, หุ้นอิงการบริโภค CPALL, JMART นอกจากนี้ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา ปีมะโรงปี 2555 ขึ้นแรงสุดกว่า 35.8% ส่วนหนึ่งเป็น การฟื้นจากปี 2554 ที่น้ำท่วมหนัก
ส่วนปีมะโรง 2567 นี้ ฝ่ายวิจัยฯ หวังว่า SET Index จะฟื้นตัวได้ดีขึ้น และนักลงทุนจะ ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นเช่นกัน หลังจากปี 2566 นักลงทุนกังวลเรื่องเศรษฐกิจไทยชะลอ กดดัน SET Index ลงแรงถึง -15.5% จนปัจจุบัน SET Index มี PE67F ที่ต่ำเพียง 14 เท่า ถือเป็นระดับที่น่าสะสม
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities