เหมือนกระแสที่จะชี้นำไปสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในบ้านจะมีมากขึ้น ตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณเศรษฐกิจที่เติบโตช้าลง เงินเฟ้อที่ต่ำกว่ากรอบ เป้าหมาย ขณะที่ Bond Yield ปรับลดลง โดยปัจจุบันพบว่าส่วนต่างระหว่าง Bobd Yield 10 ปี กับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของบ้านเรา ลดลงเหลือเพียง +0.15% ซึ่งต่ำมาก และเป็น Indicatorชี้นำว่าตลาดการเงินเชื่อว่าอ้ตราดอกเบี้ย มีโอกาสปรับลดลง อย่างไรก็ตาม หากการปรับลดดอกเบี้ยเกิดเร็วเกินไป เช่นเกิด ก่อนที่Fed จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ย ก็อาจส่งผลทำให้ค่าเงินบาท อ่อนค่าลงได้ ซึ่ง ในมุมนี้อาจไม่เป็นผลดีต่อทิศทางของ Fund Flow ที่จะเข้ามาขับเคลื่อน SET Index ในมุมของการกำหนดกลยุทธ์การลงทุน เรายังเชื่อว่าในเชิง Valuation ตลาดหุ้นบ้านเราอยู่ในภาวะ Under Valueแนวทางที่ใช้จึงเป็นการทยอยสะสมหุ้น คุณภาพดี สำหรับการลงทุนระยะยาว ส่วนการTradingระยะสั้นยังเสี่ยง
ตลาดหุ้นยังขาดแรงหนุนจากปริมาณการซื้อขายที่มากพอ ทำให้ยังไม่พ้นจาก ช่วงของการปรับฐาน วันนี้ประเมินว่า SET Index น่าจะอยู่ในกรอบ 1364 –1380 จุด สำหรับหุ้น Top Pick เลือก AOT (BK:AOT), CPN และ PLANB
กระแสดอกเบี้ยขาลงในบ้านเราร้อนแรงขึ้น สวนทางดอกเบี้ยโลก
การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ครั้งแรกในปี 2567 Consensus ประเมินว่าจะยังคงเห็นแบงค์ชาติส่วนใหญ่ตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมอยู่ อย่างไรก็ตาม บ้านเรากลับเริ่มมีกระแสดอกเบี้ยขาลงที่ร้อนแรงมากขึ้น หลังความเห็นต่อภาพรวม เศรษฐกิจไทยมีมุมมองที่ต่างกันระหว่างรัฐบาล (มอง ศก. ไทยโตต่ำ) และ ธปท. (มอง ศก. ไทยกำลังฟื้นตัว)
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ชะลอลง เปรียบเสมือนเป็นการส่งสัญญาณเร่งให้ กนง. ดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น โดยล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผยภาวะเศรษฐกิจการคลังไทย เดือน ธ.ค.66 ว่ามีการชะลอตัวลงในหลายๆ ภาคส่วน ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่น ภาคอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ยังสะท้อนได้จากช่วงเงินเฟ้อไทยชะลอตัว มักจะทำให้เศรษฐกิจที่โตได้ไม่สูง มาก และตามมาด้วยการปรับลดดอกเบี้ย ขณะที่เงินเฟ้อไทยในช่วง 4Q66 ติดลบ 3 เดือนติดต่อกันสวนทางกับดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับสูง เมื่อมองในมุมของตลาด การเงิน ค่อนข้างที่จะความเห็นไปในทิศทางเดียวกับรัฐบาลว่าจะเห็นการปรับลด ดอกเบี้ยในไม่ช้านี้ สะท้อนจากผลต่าง Bond Yield 10Y – Policy Rate ของไทย มี Gap ที่แคบลงเรื่อยๆ
สรุป หาก กนง. มีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของไทย ก่อนที่ Fed จะลดปรับ ดอกเบี้ย จะทำให้ส่วนต่างระหว่าง ดอกเบี้ยสหรัฐ – ไทย แคบลง อาจกดดันให้เงินบาท อ่อนค่าลง และอาจตามมาด้วย Fund Flow ที่ยังไม่กลับเข้ามาในบ้านเรา
เรือธง อย่าง Digital Walletและ LANDBRIDGE ยังมีอุปสรรคใน การดำเนินงานอยู่มาก
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ออกมาไม่ค่อยดีในช่วงนี้(รายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ ด้านบน) ทำให้ภาครัฐฯพยายามมราจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระยะสั้น และ ยาว อย่างไรก็ตาม นโยบายที่เป็นเรือธงของรัฐบาลชุดนี้ คือ DIGITAL WALLET คาดเม็ดเงินที่ต้องใช้ 5 แสนล้านบาท และ Landbridge คาดเม็ดเงินที่ต้องใช้ 1 ล้าน ล้านบาท(แบ่งเป็นเฟสละ 5 แสนล้านบาท) ซึ่งล่าสุดทั้ง 2 นโยบายดูเหมือนยังมี อุปสรรคในการดำเนินงาน ซึ่งประเด็นหลักๆ คือ แหล่งที่มาของเงินทุนของทั้ง 2 โครงการ ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะเป็นเงินกู้ ซึ่งจะเพิ่มภาระให้กับประชาชนในภายหลัง และมี โอกาสที่จะทำให้ถูกปรับ Credit Rating ลง หลังตัวเลขหนี้สาธารณะพุ่งสูงขึ้นตามมา ขณะที่ประเด็นอื่นๆจะมีรายละเอียดของแต่ละโครงการ ดังนี้
• DIGITAL WALLETจะทำให้เศรษฐกิจหมุนจริงหรือไม่ เนื่องจากมีนักวิชาการ หลายท่าน บ่งชี้ว่าจะช่วยผลักดันเพียง 0.3-0.8 เท่าของมูลค่า GDP เท่านั้น ซึ่งทำให้ความคุ้มค่าของโครงการดังกล่าวไม่น่าสนใจเท่าที่ควร ขณะที่ล่าสุด รมช.คลังเผยว่าการแจกเงินไม่ทันตามกำหนดเดิม แต่หวังว่าจะเลื่อนออกไป ไม่นาน เดิม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอหนังสือจากคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หลังมีความเห็นจาก ป.ป.ช. ก่อนหน้านี้ โดยแบ่งเป็นประเด็นสุ่มเสี่ยง 4 ข้อใหญ่ และข้อเสนอแนะ 8 ข้อ (รายละเอียดเพิ่มเติมในบทวิเคราะห์ Market Talk ประจำวันที่ 17 ม.ค.67)
• Landbridge ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่ามีความคุ้มค่าจริงหรือ ล่าสุด รายงาน ของสภาพัฒน์ฯ ระบุว่าโครงการดังกล่าวไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และไม่ เหมาะที่จะลงทุน ซึ่งคาดว่าจะมีเรือมาใช้ไม่มาก เนื่องจากระยะเวลาลดลงไม่ มากและมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ทางรายงานของ สนข.กลับระบุว่า โครงการดังกล่าวคุ้มค่ามาก มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 16.18% คืนทุนภายในระยะเวลา 40-49 ปีซึ่งสอดคล้องกับที่ ครม. คาดไว้ ว่า โครงการดังกล่าวมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเป็นอัตราการคืนทุนถึง 17.43% ภายในระยะเวลา 24 ปี
สรุป นโยบายเรือธงของรัฐบาลที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจระยะถัดไป ยังต้องผ่านด่านที่ สำคัญอีกหลายด่าน อย่างไรก็ตาม หากนโยบายเรือธงทั้ง 2 โครงการมีความชัดเจน มากขึ้น ทั้งในส่วนของประโยชน์ที่คาดว่าจะได้ และ ที่มาของแหล่งเงินทุน คาดสร้างความ มั่นใจต่อนักลงทุน และหนุนให้ SET Index ปรับตัวขึ้นได้ในระยะถัดไป
คาดกระแสวัฏจักรดอกเบี้ยขาลง หนุน SET สั้นๆ
วานนี้ Bond Yield 10 ปีสหรัฐ ปรับตัวลดลง 7 bps. เหลือ 4.07% ก่อนจะมีการประชุม Fed ในคืนวันพรุ่งนี้ หนุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ พลิกกลับมาเป็นบวก 0.6% -1.1% ในคืน ที่ผ่านมา พร้อมกับส่วนต่างระหว่าง BOND YIELD สหรัฐ-ไทย แคบลง
ฝ่ายวิจัยฯ เคยทำการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่าง Bond Yield 10 ปี สหรัฐกับไทย พบว่า เวลาส่วนต่างแคบลง ค่าเงินบาทมักแข็งค่า ประเด็นดังกล่าวเลยช่วยให้ค่าเงิน บาทมีการชะลอการอ่อนค่าช่วงสั้นๆ โดยปัจจุบันอยู่ที่ 35.4 บาท/เหรียญ
พร้อมกันกับหนุนให้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยเล็กน้อย 160 ล้านบาท (หลังจาก ขายสุทธิ 16 วัน) และสังเกตได้ว่าเป็นการซื้อสุทธิผ่านโบรกเกอร์ต่างชาติขนาดใหญ่ เกือบทั้งสิ้น อาทิ KKPS, MACQ, JPM, UBS, CGS-CIMB เป็นต้น
สรุป กระแสวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงที่กลับมา น่าจะช่วยหนุน SET สั้นๆ ให้แกว่งตัวใน กรอบ 1364 – 1380 จุดในวันนี้ ส่วนกลยุทธ์แนะนำเก็งกำไร หุ้นได้ประโยชน์จากความ คาดหวังดอกเบี้ยขยับลง อย่าง TIDLOR, MTC, SAWAD, TISCO, SPALI, AP, NER, ADVANC, BGRIM, MINT และหุ้นตัวอื่นๆ
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities