ต่างชาติ ขายไม่หยุด ฉุด SET ต่ำกว่าพื้นฐาน 

เผยแพร่ 23/01/2567 10:14

แรงขายจากต่างชาติยังรุนแรงต่อเนื่อง โดยวานนี้ขายสุทธิอีก 4 พันล้านบาท ทำ ให้ยอด Net Sell สะสมจากต้นปี 2567 จนถึงปัจจุบันสูงถึง 2.1 หมื่นล้านบาท เรา ได้ไปศึกษาย้อนหลังเกี่ยวกับต้นทุนการซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้น บ้านเรา พบว่าการขายที่ระดับ SET Index ปัจจุบันจะทำให้มีผลขาดทุนตั้งแต่ 10- 18% การที่ยังมีแรงขายทั้งที่มีผลขาดทุนดังกล่าวทำให้การประเมินถึงจุดกลับตัว มาซื้อรอบใหม่ของนักลงทุนต่างชาติ ทำได้ยาก และน่าจะต้องถือเป็นปัจจัยที่สร้าง แรงกดดันกับตลาดหุ้นบ้านเราต่อไป ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามนอกจากเป็นเรื่อง Digital Wallet และ Land Bridgeซึ่งเป็นนโยบายหลักที่รัฐบาลต้องการขับเคลื่อน แล้ว ในมุมของการเมืองก็มี 2 เรื่องที่อยู่ในความสนใจเริ่มจาก คำวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญกรณีการถือหุ้น ITV ของ คุณพิธา และกรณีที่ สว. จะเปิดอภิปราย รัฐบาล โดยไม่มีการลงมติ

ประเมินจากปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน ยังไม่เห็นแรงขับเคลื่อนที่มีน้ำหนัก ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ จึงคาดว่า SET Index ยังต้องอยู่ในช่วงของการย่ำ ฐาน บริเวณ 1363 –1378 จุด หุ้น Top Pick เลือก BEM, PLANB และ PTTEP

Fed ลดดอกเบี้ยช้ากว่าคาด อาจกดเงินบาทอ่อนค่าชั่วคราว

ฤดูกาลประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ครั้งแรกในปี 2567 ได้เริ่มขึ้น ช่วงปลายเดือน ม.ค. – ต้นเดือน ก.พ. โดย Consensus คาดว่าแบงค์ชาติส่วนใหญ่จะ ยังตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมอยู่ (รายละเอียดดังตารางด้านล่าง) ขณะที่ล่าสุดวานนี้ PBOC มีมติคงดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) 1 ปี และ 5 ปี ไว้ที่ 3.45%และ 4.20% ตามลำดับ

สำหรับการประชุม Fed ในวันที่ 31 ม.ค. นี้ (1 ก.พ. เวลา 2.00 น. ตามประเทศไทย) Fed Watch Tool ให้น้ำหนักเกือบ 100% ที่จะเห็นการคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.5% ทั้งนี้ แรง กระตุ้นเงินเฟ้อ ทั้งจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังดูดีหนุนการใช้จ่าย (Demand-Pull Inflation) รวมถึงความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาตร์ที่มักผลักให้ราคา Commodity พุ่งสูง (Cost-Push Inflation) ล้วนเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า การตรึงดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐยัง มีโอกาสยืดเยื้อออกไปจนถึงช่วง 2Q66 โดย Fed อาจเลื่อนการปรับลดดอกเบี้ยไป เป็นเดือน พ.ค. ซึ่งช้ากว่าตลาดคาด สะท้อนจาก Bond Yield 10Y มีแนวโน้มสูงขึ้นนับ แต่ต้นปี ทำให้ Dollar แข็งค่าราว 2%Ytd จึงเป็นแรงกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าชั่วคราว ขณะที่ Fund Flow มีโอกาสไหลออกในช่วงสั้นๆ

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ตลาดจะมีมุมมองการปรับลดดอกเบี้ยที่เปลี่ยนไป แต่ทิศทาง ดอกเบี้ยนโยบายปีนี้ยังอยู่ในวัฎจักรขาลง และเชื่อว่าจะทำให้ค่าเงิน USD อ่อนค่าใน อนาคต หนุนให้ค่าเงินบาทแข็งค่า ซึ่งภาพดังกล่าวน่าจะเป็นผลดีต่อทิศทาง Fund Flow ที่มีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้นบ้านเรามากขึ้นได้

สรุป การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ในยกที่ 1 ปี 2567 คาดว่า จะยังเห็นการตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมอยู่ ขณะที่ Fed มีโอกาสเลื่อนการปรับลด ดอกเบี้ยออกไปเป็นช่วง 2Q66 ซึ่งช้ากว่าตลาดคาด (เดือน มี.ค.) ทำให้ Dollar แข็งค่า ขึ้นราว 2%Ytd จึงเป็นแรงกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าชั่วคราว ขณะที่ Fund Flow มี โอกาสไหลออกในช่วงสั้นๆ

ราคาน้ำมันดิบอยู่ในทิศขาขึ้นอาจเป็นตัวช่วย SET Index

วานนี้ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวขึ้น 1.9% จนอยู่ที่ระดับ 80 เหรียญฯ/บาร์เรล จากแรงกดดันจากฝั่ง Supply ที่จะหายไป หลังกองทัพยูเครนได้ส่งโดรนโจมตีโรงงาน น้ำมันของบริษัทโนวาเทก (Novatek) ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานของรัสเซียส่งผลให้ทาง บริษัทตัดสินใจระงับการดำเนินงานที่สถานีส่งออกเชื้อเพลิงอุสต์-ลูกา (Ust-Luga) ใน ทะเลบอลติก จึงทำให้นักลงทุนคาดว่าสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางและ ทะเลแดงยังมีแนวโน้มบานปลายเป็นวงกว้าง และมีความตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผล ให้ Supply ในตลาดฯน้ำมันดิบหายไปได้ อีกทั้งนักลงทุนยังคงจับตารายงานสต็อก น้ำมันดิบจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ในวันพุธนี้คาดจะเป็น ตัวกำหนดทิศทางราคาน้ำมันดิบอีกแรง

ประเด็นดังกล่าว คาดสร้าง Sentiment เชิงลบต่อ SET Index ในวันนี้จากความผัน ผวนของสถานการณ์ทะเลแดง อย่างไรก็ตาม SET Index ไม่น่าจะผันผวนมากนัก เนื่องจากได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้น โดย SET Index มีสัดส่วนหุ้น น้ำมัน-โรงกลั่น เกือบ 1 ใน 3 ของน้ำหนักตลาดฯ โดยหุ้นที่คาดได้ประโยชน์ คือ PTT (BK:PTT) PTTEP TOP SPRC เป็นต้น

สรุป ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา จากความกังวล Supply ในตลาด น้ำมันตึงตัวขึ้น และความไม่สงบในสงครามตะวันออกกลางและทะเลแดง คาดเป็น ประเด็นหนุนให้ SET Index Outperform ตลาดหุ้นอื่นๆได้ในวันนี้ โดยคาดมาจากหุ้น กลุ่มน้ำมัน-โรงกลั่น โดยฝ่ายวิจัยฯแนะนำ PTT PTTEP TOP SPRC เป็นต้น

ต่างชาติขายหุ้นไทยเยอะ จนยอดซื้อสะสมตั้งแต่ต้นปี 2022 พลิกกลับมาติดลบ

ต่างชาติเคยซื้อสุทธิสะสมหุ้นไทยในปี 2022 สูงถึง 2.02 แสนล้านบาท แต่ในปี 2023 ถึงปัจจุบัน ต่างชาติขายสุทธิออกมาต่อเนื่อง -2.13 แสนล้านบาท ทำให้ยอดช้อสุทธิ ตั้งแต่ต้นปี 2022 ถึง ปัจจุบันพลิกกลับมาติดลบ 1.1 หมื่นล้านบาท

และหากวิเคราะห์ให้ลึกลงไป พบว่า ต่างชาติเคยซื้อสุทธิหุ้นไทยในปี 2022 มีต้นทุน เฉลี่ยในการซื้อเทียบเท่า SET Index อยู่ที่ 1674 จุด แต่ในปี 2023 ถึง ปัจจุบันมีการ ขายสุทธิออกมาต่อเนื่อง โดยมีต้นเฉลี่ยในการขายอยู่ที่ 1517 จุด แสดงว่า ภาพรวม ต่างชาติยอมขายขาดทุนเฉลี่ยราว -10% (คำนวณจากดัชนีซื้อเฉลี่ย 1674 จุด และ ขายเฉลี่ยที่ 1517 จุด) และณ ปัจจุบัน SET Index อยู่ที่ 1369 จุด ถ้าต่างชาติซื้อสะสม หุ้นไทยในปี 2022 แล้วมาขายตอนนี้จะขาดทุนราว -18.3%

สรุป แสดงให้เห็นว่าในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นตลาดหุ้นไทย พอสมควร เนื่องจากภาพรวมในช่วง 1 ปีกว่า ที่ผ่านมา เห็นแรงขายจาก ต่างชาติที่ยอมขาดทุนถึง -10% แต่หลังจากนี้แรงขายหลังจากนี้มีโอกาสชะลอลง เพราะยอดซื้อตั้งแต่ต้นปี 2022 พลิกกลับมาติดลบแล้ว ส่วนต่างชาติจะกลับมาซื้อ เมื่อไหร่? หลายๆ ฝ่าย อาทิ รัฐบาล, ธปท., ตลาดหลักทรัพย์ฯ, กลต., โบรกเกอร์ คง ต้องช่วยเรียกความเชื่อมั่นให้นักลงทุนกลับมาลงทุนอีกครั้ง

หุ้นกู้ในกลุ่มไหนมีความเสี่ยงมาก/น้อย ... มาดูกัน

วันนี้ฝ่ายวิจัยฯมีการรวบรวมข้อมูลหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในแต่ละปีตั้งแต่ปี 2024 เป็น ต้นไป ของหุ้นที่ฝ่ายวิจัยฯทำการศึกษา โดยมีรายละเอียด ดังนี้

กลุ่มท่องเที่ยว : CENTEL (Rating A - / Tris) : ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดชำระภายในปี 2567ราว 6ร้อยล้านบาท ขณะที่สัดส่วน D/E ณ สิ้นงวด 3Q66 อยู่ที่ 0.7เท่า จึงมอง ความเสี่ยงทางการเงินต่ำ ERW : ไม่มีการใช้ตราสารหนี้ ความเสี่ยงจากความกังวล ด้านตราสารหนี้ ต่ำสุดในกลุ่มฯ MINT (Rating A / Tris) : ตราสารหนี้ที่ครบกำหนด ชำระภายในปี 2567ราว 1.1 หมื่นล้านบาท ในเชิง Net gearing ณ สิ้นงวด 3Q66 ที่ 1 เท่า ต่ำกว่า Debt covenant ที่ 1.75เท่า และกรอบการบริหารภายในของบริษัทที่ 1.3 เท่า ขณะที่เงินสดในมือ ณ สิ้นงวด 3Q66 อยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท จึงประเมินอยู่ในการ บริหารจัดการ โดยในกลุ่มโรงแรม ภายใต้เศรษฐกิจจีนที่อ่อนแรง ส่งผลต่อเนื่องถึงภาค ท่องเที่ยวไทย ทำให้ MINT ที่โครงสร้างโรงแรมอยู่ใน EU ราว 50% ของรายได้ ซึ่งพึ่งพา จีนน้อย ประเมินแรงกดดันจากการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจจีนต่ำ กว่ากลุ่มฯ

กลุ่มจำนำทะเบียน : ถือเป็นกลุ่มที่ใช้ Financial leverage สูง เพื่อนำเงินไปปล่อย สินเชื่อ อย่างไรก็ดีสัดส่วน D/E หุ้นในกลุ่มฯ ยังอยู่ในเกณฑ์ Debt covenant หรือ กรอบการบริหารจัดการโครงสร้างเงินทุนภายในของแต่ละบริษัทที่คุมไม่ให้เกิน 4 เท่า

MTC (Rating BBB+ / Tris) : ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดชำระภายในปี 2567 ราว 2.5

หมื่นล้านบาท โดยสัดส่วน D/E ณ สิ้นงวด 3Q66 อยู่ที่ 3.7 เท่า ยังอยู่ในกรอบการ

บริหาร

SAWAD (Rating BBB+ / Tris) : ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดชำระภายในปี 2567 ราว

9.8 พันล้านบาท โดยสัดส่วน D/E ณ สิ้นงวด 3Q66 อยู่ที่ 2.7 เท่า อยู่ในกรอบการ

บริหารจัดการ

TIDLOR (Rating A / Tris) : ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดชำระภายในปี 2567 ราว 8.3

พันล้านบาท โดยสัดส่วน D/E ณ สิ้นงวด 3Q66 อยู่ที่ 2.4 เท่า อยู่ในกรอบการบริหาร

จัดการ

กลุ่มนิคมฯ : มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจาก rating ของบริษัทนิคมฯ อยู่ในเกณฑ์ดี บริษัทมี ความสามารถในการทำกำไรต่อเนื่อง ประกอบกับฐานะการเงินแข็งแกร่งสะท้อนจาก net gearing ratio ที่ 0.6 -0.9 เท่า นอกจากนี้หุ้นกู้บริษัทนิคมฯ มีอายุไม่เกิน 5 ป

กลุ่มวัสดุก่อสร้าง : มีความเสี่ยงต่ำ แม้ปีนี้มีหุ้นกู้ครบกำหนดสูงถึง 7.6 หมื่นล้านบาท แต่เนื่องจากบริษัทในกลุ่มมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง และมีปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจดี ทุก บริษัทมีเครดิตเรตติ้งสูง SCC(A),SCCC(A) และ TPIPL (A-)

กลุ่มมีเดีย : มีความเสี่ยงต่ำ ไม่มีหุ้นกู้ครบกำหนดในปีนี้ และบริษัทในกลุ่มที่ฝ่ายวิจัย วิเคราะห์มีฐานะการเงินค่อนข้างด

กลุ่มบรรจุภัณฑ์ : มีความเสียงต่ำ โดยบริษัทในกลุ่มที่ฝ่ายวิจัยวิเคราะห์คือ SCGP มี ฐานะการเงินดี และมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง

กลุ่มขนส่ง : มีความเสี่ยงต่ำ บริษัทที่ออกหุ้นกู้อยู่ในธุรกิจขนส่งมวลชนอย่าง BTS และ BEM มีเครดิตเรตติ้งสูง และมีกระแสเงินสดเข้ามาสม่ำเสมอ มีอายุหุ้นกู้ยาว และกระจาย ตัวครบกำหนดในแต่ละปี ไม่กระจุกตัวในปีใดปีหนึ่งเป็นพิเศษ

กลุ่มการแพทย์: ไม่มี concern ที่มีนัยสำคัญ เนื่องจากมีเพียง BDMS ตัวเดียวที่ออก หุ้นกู้ โดยครบกำหนดชำระจำนวน 1.5 พันล้านบาทในปี 2024 จากมูลค่ารวม 6 พันล้านบาท ซึ่งมีกระกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เพียงพอในการ service debt. Interest coverage ในงวด 9M23 มากกว่า 40.3 เท่า

กลุ่มพลังงาน : โดยภาพรวมมีความเสี่ยงต่ำ แม้ปีนี้มีหุ้นกู้ครบกำหนดสูงถึง 6.0 หมื่น ล้านบาท แต่เนื่องจากบริษัทในกลุ่มมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง และมีปัจจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจดี เกือบทุกบริษัทมีเครดิตเรตติ้งสูง PTT (AAA), PTTEP (AAA) มีเพียง BANPU ที่มีหนี้รวมค่อนข้างสูงรวมกว่า 8.3 หมื่นล้านบาท แต่ยังได้รับเครดิตเรทติ้งในระดับที่ดี A+ อาจจะต้องมีการติดตามใกล้ชิด

กลุ่มโรงไฟฟ้า : โดยภาพรวมมีความเสี่ยงต่ำ แม้ปีนี้มีหุ้นกู้ครบกำหนดถึง 4.1 หมื่น ล้านบาท แต่เนื่องจากบริษัทในกลุ่มมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง และมีปัจจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจดี รวมถึงลักษณะธุรกิจจะเป็นการกู้ยืมในสัดส่วนสูง D/E ราว 3:1 ของแต่ โครงการโรงไฟฟ้า จึงทำให้มูลหนี้ค่อนข้างสูง อันดับเครดิตเรทติ้งอยู่ในกรอบ AA+ ถึง BBB

กลุ่มเกษตรและอาหาร (CPF และ TU) : มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทมีเครดิตเร ตติ้งสูงระดับ A+ นอกจากนี้หุ้นกู้มีอายุยาว กระจายตัวครบกำหนดในแต่ละปี โดยปีนี้ ครบ 2.8 หมื่นล้านบาท (คิดเป็น 12% ของหุ้นกู้ทั้งหมด)

กลุ่มปิโตรเคมี: มีความเสี่ยงปานกลาง บริษัทที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ IVL (AA- )เพราะหนี้รวมค่อนข้างสูงถึง 8.4 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ธุรกิจยังมีความผันผวนด้าน กำไรเพราะอิงกับราคา commodity ซึ่งแปรผันตามเศรษฐกิจ ต้องให้ความระมัดระวัง

กลุ่มอสังหาฯ (พัฒนาที่อยู่อาศัยและเพื่อเช่า) : มีความเสี่ยงปานกลาง แม้ปีนี้มีหุ้นกู้ ครบกำหนดสูง 1.06 แสนล้านบาท (สัดส่วน 35% ของหุ้นกู้ทั้งหมด) แต่ส่วนใหญ่อยู่ใน กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ เช่น LH, CPN, FPT, SIRI, SPALI, PSH และ AP ที่มีธุรกิจ มั่นคง การเงินค่อนข้างดี สำหรับบริษัทที่มีผลขาดทุน และ อัตราหนี้สินต่อทุนสูงกว่า กลุ่มฯ อย่าง ANAN ปีนี้มีหุ้นกู้ครบ 7 พันล้านบาท ได้คืนสำหรับเดือน ม.ค. แล้ว 3.8 พันล้านบาท ที่เหลือ 3.2 พันล้านบาท จะครบ ก.ค. 2567 ส่วน PF ปีนี้ครบรวม 6.7 พันล้านบาท เตรียมคืนหุ้นกู้ 1Q67 รวม 2.68 พันล้านบาท เรียบร้อยแล้ว สำหรับหุ้นกู้ ที่เหลือต้องติดตามต่อไป

กลุ่ม ICT : ที่ฝ่ายวิจัยศึกษาและมีการออกหุ้นกู้ คือ ADVANC, TRUE, และ JMART โดยมีมูลค่าคงค้างอยู่รวมกันราว 2.2 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่ 1.8 แสนล้านบาท เป็น ของ TRUE ซึ่งในปี 2567 นี้จะครบกำหนดราว 3.6 หมื่นล้านบาท แต่บริษัทยังมีกระแส เงินสดในการดำเนินงานปีละราว 7 หมื่นล้านบาท รวมไปถึงยังมีวงเงินกู้ยืมจากสถาบัน การเงินอีกราว 5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้จากเรตติ้งของบริษัทที่ A+ น่าจะช่วยให้ สามารถกู้ยืมเพิ่มเพื่อมาชำระหุ้นกู้ที่ครบกำหนดได้

กลุ่มพาณิชย์: ที่ฝ่ายวิจัยศึกษาและมีการออกหุ้นกู้ คือ BJC, CRC, CPALL (BK:CPALL), CPAXT, HMPRO และ DOHOME มีมูลค่าหุ้นกู้คงค้างรวมกัน 3.5 แสนล้านบาท โดยบริษัทที่มี หุ้นกู้ในมูลค่ามากสุดคือ CPALL ที่ 2.2 แสนล้านบาท (ไม่รวม Perpetual bond 1 หมื่น ล้านบาท) รองลงไปเป็น BJC ที่ 8.9 หมี่นล้านบาท โดยในปี 2567 มีหุ้นกู้ของ CPALL, BJC และ HMPRO ที่จะครบกำหนด 2.9 หมื่นล้านบาท, 2.3 หมื่นล้านบาท และ 4 พันล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่าทุกบริษัทจะไม่มีปัญหา จากฐานะการเงินที่ยัง แข็งแกร่ง และเรตติ้งของบริษัทในระดับ A+ (CPALL), A (BJC) และ A- (HMPRO) ที่จะ สนับสนุนให้ยังสามารถก่อหนี้เพิ่มได้

กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง : มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง บริษัทที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ NWR และ ITD เพราะมีหุ้นกู้ครบกำหนดปีนี้ค่อนข้างมากในขณะที่ธุรกิจหลักยังมีผลขาดทุน และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสูงมาก ส่วน UNIQ และ SQ ซึ่งมีเครดิตเรตติ้ง BBB- และ มีฐานกำไรต่ำ ก็ต้องให้ความระมัดระวังเช่นเดียวกัน

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย