รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ กดดันตลาดการเงิน 

เผยแพร่ 19/01/2567 10:23
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จุดสนใจหลักอยู่ที่ตะวันออกกลางที่ เกิดเหตุสู้รบกันในหลายจุดโดยทิศทางในอนาคตยากที่จะคาดการณ์ ภาวะ ดังกล่าวทำให้ความกังวลเรื่อง Cost Push Inflation กลับเข้ามาอีกครั้ง และอาจ ส่งผลให้ภาพของโอกาสที่จะเห็นอัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงต้องยืดระยะเวลาออกไป ถือเป็นปัจจัยที่ต้องจับตาใกล้ชิด ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือความเสี่ยงที่จะเกิด Downside ของประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนทั้งในปี 2566 และ 2567 โดย รายการที่เห็นได้ชัด ณ ปัจจุบันคือการตัดสินใจถอนการลงทุนใน RLของTU ที่จะ บันทึกผลขาดทุนกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท และยังมีกรณีของ Single Pool Gas ใน กลุ่มปิโตรเคมี โดยหากมีการปรับลดประมาณการในอนาคตก็จะส่งผลต่อ เป้าหมาย SET Index ปี 2567 ได้ ส่วนประเด็นที่น่าเก็งกำไรคือการค้นพบแหล่งลิ เธียม ในประเทศไทยซึ่งดีต่ออุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี

ประเมินว่า SET Index ยังอยู่ในช่วงของการปรับฐาน แต่ภาพใหญ่ยังไม่ถึงกับเป็น การเปลี่ยนแนวโน้ม วันนี้ประเมินกรอบ SET Index ที่ 1375 –1388 จุดตามเดิม หุ้น Top Pick เลือก BEM, CPN และ MAJOR

ความขัดแย้งตะวันออกกลางร้อนแรง เสี่ยงเงินเฟ้อขยับขึ้น

ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ เป็นปัจจัยที่เข้ามากดดันให้ราคาสินค้าผัน ผวนในช่วงที่มา ขณะที่สถานการณ์ล่าสุด

• สหรัฐฯ – ฮูตี: สหรัฐฯ ยิงขีปนาวุธโจมตีกลุ่มฮูตีนเยเมน เป็นครั้งที่ 4 หลัง กลุ่มฮูตีโจมตีเรือสินค้าสหรัฐฯ และถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำเป็นกลุ่มก่อการ ร้ายของโลก

• ปากีสถาน-อิหร่าน : ปากีสถานโจมตีทางอากาศกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ปากีสถานที่อยู่ในอิหร่าน เพื่อตอบโต้อิหร่านหลังมีการยิงขีปนาวุธและส่ง โดรนโจมตีกลุ่มก่อการร้ายในปากีสถาน

ทั้งนี้ ความตึงเครียดในตะวันออกกลางเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ Brent ดีดตัว ราว +1.57% ทะลุ 79.1 เหรียญฯ/บาเรล และหากนับตั้งแต่ต้นปี +2.7%Ytd ซึ่งอาจ ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นจากฝั่ง Supply (Cost-push Inflation) กลายมาเป็นที่อาจส่งผล ต่อการกำหนดทิศทางดอกเบี้ยโลกอีกครั้งหนึ่งได้

ในอีกแง่มุมหนึ่ง สหรัฐฯ อาจจะต้องเผชิญกับแรงกระตุ้นเงินเฟ้อที่มาจากภาพรวม เศรษฐกิจที่ยังดูดี (Demand-pull Inflation) โดยล่าสุดสหรัฐมีรายงานตัวเลขผู้ขอ สวัสดิการผู้ว่างานอยู่ที่ 187,000 ตำแหน่ง ต่ำกวาตลาดคาดที่ 207,000 ต่ำแหน่ง สะท้อนตลาดแรงงานยังไม่ได้ชะลอตัวลงมาก ทำให้ยังมีกำลังซื้อจากการมีงานทำ

แนวโน้มเงินเฟ้อที่มีโอกาสขยับขึ้นทั้งจาก Cost-push และ Demand-pull อาจเป็น ปัจจัยกดดันให้ Fed คงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงนานกว่าตลาดคาด ขณะที่ตลาดเริ่มมี มุมมองที่เปลี่ยนไป โดยให้น้ำหนักมากขึ้นในการคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.5% ซึ่งจาก เดิมคาดว่าจะมีโอกาสราว 30% แต่ล่าสุดอยู่ที่ 43.4%

สรุป ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรง บวกกับภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐ ยังดูดี ส่งผลให้แนวโน้มเงินเฟ้อที่มีโอกาสขยับขึ้นทั้งจาก Cost-push และ Demandpull ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันให้ Fed คงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงนานกว่าตลาดคาด

ต้องระมัดระวังความเสี่ยง Downside เศรษฐกิจและกำไรบริษัท จดทะเบียน

Bloomberg consensus คาด GDP4Q66 แตะระดับ 3.5% อย่างไรก็ตามมีความ เสี่ยงที่ตัวเลขจะออกมาต่ำกว่าคาดได้ สะท้อนได้จากตัวเลขเงินเฟ้อไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ติดลบทุกเดือน อาจเกิดจากภาคบริโภคที่ชะลอตัว พร้อมกับนักท่องเที่ยวที่ ยังกลับเข้ามาได้ไม่เต็มที่ รวมถึงการเบิกจ่ายภาครัฐยังทรงๆ ตัว ล้วนเป็น Downside ต่อประมาณการเศรษฐกิจ รวมถึงกำไรบริษัทจดทะเบียนทำให้มีโอกาสเห็นการทยอย ปรับลดคาดการณ์ลง หรือเป็น Downside ก่อนการรายงานรายบริษัท

ขณะที่ฝั่งกำไรบริษัทจดทะเบียน ฝ่ายวิจัยฯ ทำการรวบรวมข้อมูลล่าสุดจาก Bloomberg Consensus มีคาดการณ์ทั้งหมด 216 บริษัท (มีสัดส่วน 82% ของ Market Cap ทั้งตลาดฯ) มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 2.16 แสนล้านบาท (ลดลง -15.4%QoQ, +36.8%YoY)

ดังนั้นอาจเกิด DOwside เช่นเดียวกับ GDP เนื่องจาก กำไรงวด 4Q66 ต้องแตะระดับ 2.92 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 28% ถึงจะทำให้คาดการณ์ทั้งปีอยู่ระดับ 1.06 ล้านล้านบาทได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากพอควรที่กำไรรายไตรมาสจะแตะระดับ 2.9-3 แสน ล้านบาท ขณะที่ยังมีประเด็นเฉพาะตัวที่ฉุดกำไรบริษัทจดทะเบียนลง ซึ่งยังไม่ได้รวมใน ประมาณการของ Bloomberg consensus อาทิ

TU คาดกำไรปกติ 4Q66 1.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% qoq (แต่ลดลง 16% yoy) ภาพรวมทั้งปี 2566 ประเมินกำไรปกติ 5.3 พันล้านบาท (-27% yoy) เมื่อรวมกับ รายการพิเศษที่เกิดขึ้น 9M66 และการบันทึกค่าด้อยที่ไม่ใช้รายการเงินสดครั้งเดียว อันเป็นผลจากการถอนการลงทุนในธุรกิจ Red Lobster มูลค่า 1.85 หมื่นล้านบาท จะทำให้ปี 2566 พลิกเป็นขาดทุนสุทธิ 1.36 หมื่นล้านบาท

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

SPRC งวด 4Q66 คาดพลิกกลับเป็นขาดทุนสุทธิ 4.3 พันล้านบาท จากรายการ สต็อกน้ำมันเป็นหลัก ทำให้เกิดการปรับลดกำไรสุทธิปี 2566 ลง เป็นขาดทุนสุทธิ 944.3 ล้านบาท จากเดิมที่เป็นกำไรสุทธิ 1.9 พันล้านบาท เพิ่อสะท้อนผลขาดทุนจาก สต็อกน้ำมันและ NRV รวมถึงรายการพิเศษอื่นๆที่คาดจะเกิดขึ้นในปี 2566 ราว 1.5 พันล้านบาท

โดยจากการศึกษาในอดีต พบว่า เวลาประมาณการเศรษฐกิจออกมาต่ำ และต่ำคาด มากๆ มักกดดันให้ SET Index ปรับตัวลงแรงได้ อาทิ GDP4Q65 รายงานออกมา เติบโต 1.4%YoY ต่ำคาดมากที่ 3.6%YoY อยู่ในช่วงเวลาที่กำไรงวด 4Q66 ทยอย ประกาศออกมาและต่ำคาดถึง -30% ซึ่งหลังจากนั้น 2 เดือนครึ่ง SET Index ทยอย ปรับลงถึง -5.3% ขณะที่ในปี 2566 GDP ออกมาต่ำคาดในไตรมาส 2 และ 3 บวกกับ กำไรบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาต่ำคาดราว 2%-3% หลังจากนั้น 2 เดือนครึ่ง SET Index ทยอยปรับลง 4%-5%

สรุป เริ่มเห็น DOwnside ของประมาณการ GDP และ EPS ปี 2566 ซึ่งจากสถิติใน อดีต บ่งชี้ว่าเวลาประมาณการเศรษฐกิจออกมาต่ำ และต่ำคาดมากๆ มักกดดันให้ SET Index ปรับตัวลงแรงได้ โดยวันนี้คาดกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index ที่ ระดับ 1375-1388 จุด ดังนั้นนักลงทุนจึงควรถือเงินสดไว้ในพอร์ตราว 5%-10% เพื่อลดความผันผวนของ SET ในช่วงเวลาหลังจากนี้

ไทยพบแร่ลิเทียม 14 ล้านตัน หุ้นใดมีโอกาสได้ประโยชน์บ้าง

วานนี้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยว่า ไทยได้สำรวจพบ “แร่ลิ เธียม” ที่มีศักยภาพ 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งเรืองเกียรติ และแหล่งบางอีตุ้ม ทางภาคใต้ของ ประเทศไทยกว่า 14,800,000 ล้านตัน ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่ค้นพบ “แร่ลิเทียม” มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากโบลิเวีย และอาร์เจนตินา เนื่องด้วยแร่ดังกล่าว ถือเป็นแร่หลักที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV 100% คาดการณ์ว่า จะเห็นการลงทุนทั้งซัพพลายเชนที่เป็นรูปธรรมภายใน 5 ปี จากปัจจุบันที่มีผู้ผลิต แบตเตอรี่ EV เข้าลงทุนไทยแล้ว 7 ราย

สำหรับประเด็นดังกล่าว ถือเป็น sentiment เชิงบวกต่อกลุ่มธุรกิจ EV รวมถึง ผู้ประกอบการที่มีธุรกิจแบตเตอรี่ ซึ่งช่วยให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ครองแร่ลิ เที่ยม จึงเป็นส่วนช่วยผลักดันและช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดยานยนต์ ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ในประเทศไทยได้

ทั้งนี้บริษัทจดทะเบียนที่มีธุรกิจแบตเตอรี่ ที่ฝ่ายวิจัยศึกษาอยู่ ได้แก่

GPSC + PTT (BK:PTT) : ปัจจุบันมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ 30 MWh ในประเทศไทย ซึ่ง ใช้เป็นโรงงานต้นแบบ เพื่อศึกษาและเตรียมรองรับการเติบโตของธุรกิจ EV ที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต นอกจากนี้การลงทุนในต่างประเทศผ่านการถือหุ้นผ่านบริษัท AXXIVA และ NV GOTION ซึ่งทำโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในประเทศจีน โรงงานละ 1000 MWh เพื่อส่งมอบให้กับกลุ่มตลาด EV ในต่างประเทศ

EA : มีทั้งโรงงานแบตเตอรี่ที่ไต้หวัน 400MWh และโรงแบตในประเทศไทยอีก 1000 MWh ปัจจุบันโรงงานแบตฯ มีวัตถุประสงค์ผลิตแบตฯเพื่อป้อนให้กับยานต์ยนต์ ไฟฟ้าในบริษัทของตัวเอง โดยในอนาคตอันใกล้นี้ มีแผนจะขยายกำลังการผลิตขึ้นเป็น 2000 -4000 MWh

BANPU + BPP : ลงทุนในบริษัท ดูราเพาเวอร์ ประเทศจีน มีโรงงานรองรับการผลิต แบตเตอรี่ได้ 1.0 พัน MWh สำหรับใช้ทั้งในอุตสาหกรรม EV และระบบกักเก็บพลังงาน ในต่างประเทศ ขณะที่พัฒนาการในประเทศไทย ได้ร่วมมือกับบริษัทเชิดชัยมอเตอร์ เซลส์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถบัสรายใหญ่ในประเทศ เพื่อสร้างโรงงานประกอบแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน กำลังการผลิต 200 MWh โดยคาดว่าจะดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2567 เพื่อรองรับแบตเตอรี่ในกลุ่มรถบัสไฟฟ้า (E-Bus) ของกลุ่มเชิดชัยเป็นหลัก

BCPG : ปัจจุบันมีการร่วมศึกษาธุรกิจแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนกับบริษัท Ampace ประเทศจีน เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าสองล้อและสามล้อ แบตเตอรี่สำหรับ ติดตั้งในภาคครัวเรือน ในภาคอุตสาหกรรม

ในแง่ของประมาณการ ปัจจุบันธุรกิจแบตเตอรี่ยังไม่ได้ช่วยสร้างกำไรได้อย่างมี นัยสำคัญฯให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ ดังนั้น อาจยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะ แต่ถือเป็น มุมมองเชิงบวกในระยะยาว และถือเป็นส่วนช่วยผลักดันให้กระแส EV กลับมามีความ น่าสนใจ และคาดจะช่วยให้ราคาหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดังกล่าวปรับตัวขึ้นได้ในระดับ หนึ่ง

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย