เงินเฟ้อสหรัฐเกินคาด แต่มุมมองดอกเบี้ยคงเดิม 

เผยแพร่ 12/01/2567 10:13
SETI
-

ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐเดือน ธ.ค.66 ออกมาที่ 3.4% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดว่าจะ อยู่ที่ 3.2% แต่อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวยังไม่ทำให้มุมมองเรื่องทิศทางอัตรา ดอกเบี้ยเปลี่ยน โดย Fed Watch Tool ยังแสดงโอกาสที่จะเห็นการปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยของFedเดือน มี.ค.67 สูงถึง 71.8%ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง เราพบว่าในช่วงเวลาหลังจากที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องที่มากอย่างมีนัยสำคัญ จะใช้เวลาประมาณ4 –6 เดือน ที่จะคงอัตราดอกเบี้ยก่อนปรับตัวลดลง ซึ่งในรอบ นี้ก็ดูเหมือนจะไม่แตกต่างจากในอดีต และหาก Fed มีเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ตามคาด ก็มีโอกาสที่จะทำให้ กนง. ในบ้านเราพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายลงมาตาม ทั้งนี้ประเมินจากสภาพแวดล้อมที่เราได้กล่าวไปในรายงาน Market Talk ฉบับวานนี้ ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องตามในฐานะปัจจัยเสียงคือ สถานการณ์สู้รบ อิสราเอล-ฮามาส ซึ่งเสี่ยงต่อการขยายวง

คาดว่า SET Index น่าจะย่ำฐาน แต่ยังอยู่เหนือระดับ 1400 จุดได้ วันนี้คาด SET Index อยู่ในกรอบ 1400 –1414 จุด ส่วนหุ้น Top Pickวันนี้เลือก AP, CPALL (BK:CPALL) และ INTUCH

วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงใกล้เข้ามาเรื่อยๆ

วานนี้สหรัฐฯ มีรายงานตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ธ.ค. อยู่ที่ +3.4%YoY ปรับตัว เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 3.1%YoY โดยมีแรงผลักหลักๆ มาจากภาคบริการ อาทิ Shelter, Hospital services, Motor vehicle insurance ฯลฯ ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน อยู่ที่ +3.9%YoY ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ 4.0%YoY ส่งผลให้มุมมองต่อ ทิศทางดอกเบี้ยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก ซึ่งการสำรวจของ Fed Watch Tool ยังคงมีแนวโน้มที่จะเห็น Fed ปรับลดดอกเบี้ย 6 ครั้งในปี2567 (ปลายปีอยูที่ 4.0%) และอาจเริ่มปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงเดือน มี.ค. โดยมีโอกาสสูงถึง 71% นอกจากนี้ยังสะท้อนได้จาก Bond Yield 10 ปี สหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงหลุด 4.0%

สำหริบทิศทางของดอกเบี้ยจากข้อมูลในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ก่อนที่ Fed จะปรับ ลดดอกเบี้ย การคงดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐในอดีตมักอยู่ที่ 7-14 เดือน ขณะที่ บ้านเรา ก่อนที่ กนง. จะปรับลดดอกเบี้ย การคงดอกเบี้ยนโยบายของไทยในอดีตมัก อยู่ที่ 2-6 เดือน นอกจากนี้ กนง. มักปรับลดดอกเบี้ย หลัง Fed ปรับลดดอกเบี้ย ราว 3-12 เดือน และเมื่อพิจารณาระยะเวลาการส่งผ่านของนโยบายการเงินไปสู่ระบบ เศรษฐกิจ ธปท. คาดว่าจะอยู่ที่ 8-12 เดือน ดังนั้น จึงเชื่อว่าอาจเห็นดอกเบี้ยไทยชะลอ ตัวลงมาได้ในช่วง 2Q67

ทั้งนี้ หาก กนง. มีการใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายลง ที่เรียกว่า การลด ดอกเบี้ย น่าจะทำให้ MEYG (Market Earning Yield Gap) แคบลง เชื่อว่าจะช่วงหนุน ให้มูลค่าซื้อขายหุ้นในตลาดฯสูงขึ้น สังเกตจากกราฟ มูลค่าซื้อขายสูงขึ้น เวลา MEYG มักจะปรับตัวลดลงเสมอ พร้อมกับตามกลไกจะช่วยให้ตลาดหุ้นซื้อขายบน P/E ที่สูงขึ้นด้วย

สรุป การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในบ้านเราหากเกิดขึ้นจริง เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อ สินทรัพย์เสี่ยงในระยะถัดไปได้ และน่าจะทำให้หนุนให้ Trading Volume มีมากขึ้นใน ระยะต่อไป

ราคาน้ำมันดิบอยู่ในทิศขาขึ้นหนุน SET Outperform ตลาดหุ้น อื่นๆ

วานนี้ราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI ปรับตัวขึ้น 2.0% และ 0.9% ตามลำดับ จนอยู่ที่ ระดับ 78 และ 72เหรียญฯ/บาร์เรล จากแรงกดดันจากฝั่ง Supply ที่จะหายไป หลัง ลิเบียทำการปิดบ่อน้ำมันชาราราซึ่งมีกำลังการผลิต 300,000 บาร์เรล/วัน อีกทั้ง สถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางและทะเลแดงยังมีแนวโน้มบานปลายเป็นวง กว้าง หลังมีกองทัพเรืออิหร่านได้เข้ายึดเรือบรรทุกน้ำมัน ซึ่งเคยมีข้อพิพาทกับสหรัฐ เมื่อต.ค. 66 นักลงทุนมองว่าการที่อิหร่านยึดเรือเซนต์นิโคลาส และการที่กลุ่มกบฏฮูตี ยังคงเดินหน้าโจมตีเรือบรรทุกสินค้าในทะเลแดง จะทำให้สถานการณ์ในตะวันออก กลางมีความตึงเครียดมากขึ้น

ในส่วนฝั่ง Demand เช้าวันนี้จับตาจะมีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจจีน อาทิ CPI, ตัวเลข ส่งออก-นำเข้า ถ้าดีขึ้นจะเป็นแรงหนุนอุปสงค์น้ำมันโลกทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดังนั้น จึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม ทั้งประเด็นสงคราม และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ ล้วนมีแต่ ปัจจัยที่หนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า

ประเด็นดังกล่าว คาดสร้าง Sentiment เชิงบวกต่อ SET Index ในวันนี้ เนื่องจากได้ ประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้น โดย SET Index มีสัดส่วนหุ้นน้ำมัน-โรงกลั่น เกือบ 1 ใน 3 ของน้ำหนักตลาดฯ โดยหุ้นที่คาดได้ประโยชน์ คือ PTT (BK:PTT) PTTEP TOP SPRC เป็นต้น

สรุป แม้ตลาดหุ้นสหรัฐฯจะผันผวน แต่ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา จากความกังวล Supply ในตลาดน้ำมันตึงตัวขึ้น และความไม่สงบในสงคราม ตะวันออกกลางและทะเลแดง คาดเป็นประเด็นหนุนให้ SET Index Outperform ตลาด หุ้นอื่นๆได้ในวันนี้ โดยคาดมาจากหุ้นกลุ่มน้ำมัน-โรงกลั่น โดยฝ่ายวิจัยฯแนะนำ PTT PTTEP TOP SPRC เป็นต้น

SET เปิดฉากได้ดีแปปเดียว ก็ถูกกดด้วยความกังวลที่สะสม เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แนะหลบเข้าหุ้นปันผล INTUCH, AP, TISCO

SET Index เปิดมาในสัปดาแรกของปีปรับตัวขึ้นได้เด่นเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ก็ เริ่มทยอยย่อตัวลงมาจากความกังวลหลายๆ ปัจจัยที่สะสมเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ ดังนี้

• นักลงทุนกังวล GDP4Q66F จะต่ำคาดไหม? หลังวันที่ 5 ม.ค. มีการรายงาน ตัวเลขเงินเฟ้อไทย เดือน ธ.ค. 66 ออกมา -0.89%YoY ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดใน รอบ 34 เดือน และถ้าหากหักราคาค่าไฟฟ้าออกซึ่งมีสัดส่วนราว 5% ก็ยัง เห็นตัวเลขเงินเฟ้อที่ติดลบอยู่ ส่งผลให้นักลงทุนอาจกังวลว่า ตัวเลขการ เติบโตของเศรษฐกิจ หรือ GDP Growth 4Q66 ที่นักเศรษฐศาสตร์คาด 3.5% (รายงานช่วง 19 ก.พ. 67) อาจออกมาต่ำคาดซ้ำรอยในอดีต ที่ จุดเริ่มต้นของ SET Index ปรับฐานในปีที่แล้ว เกิดขึ้นเมื่อช่วงกลางเดือน ก.พ. 66 ตัวเลข GDP4Q65 Growth ออกมา 1.5% ต่ำกว่าคาดมาก (ตลาด ฯ คาด 3.5%) กดดันให้เกิดการปรับประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนลง และ SET ไหลลงมาจาก 1670 จุด ลดลงมาเรื่อยๆ

• ประเด็นความกังวลต่อการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ กลับมาหลอกหลอนตลาดฯ สังเกตได้จาก ราคาหุ้น ITD มีการปรับตัวลงมาเร็วกว่า -31% ในช่วง 4 วัน ทำการที่ผ่านมา (8 –11 ม.ค. 66)

• ถ้ากระเป๋าตังค์ดิจิตอลไม่เกิดขึ้น ทางธปท. คาด GDP67F อาจหายไป 0.6% จากคาดการเติบโต GDP67F ที่3.8% เหลือ 3.2%

• ความแตกต่างของการดำเนินนโยบายการเงินและการคลัง ส่งผลให้นักลงทุน กังวลว่า แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้ไม่เต็มที่

ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา ล้วนกดดัน SET Index ให้ติดๆ ขัดในช่วงนี้ พร้อมกับ Fund Flow ที่สลับมาขายสุทธิ -6.2 พันล้านบาท (ytd) ดังนั้นช่วงสั้นแนะนำหลบเข้าหุ้นปัน ผล อาทิ AP, INTUCH, TISCO, MAJOR ที่มักจะมีแรงหนุนให้ Outperform ตลาดได้ ดีในช่วง 2 – 3 เดือนแรกของปี พร้อมกับรอจังหวะสะสมหุ้น ในยามที่ดัชมีการย่อตัวลง มาระดับหนึ่ง

ฤดูงบแบงค์ 4Q66 คาดลด QoQ แต่เติบโต YoY

เข้าสู่การประกาศงบกลุ่มฯ งวด 4Q66 ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 67 ด้วย TISCO และปิด ท้ายด้วย ธ.พ. ใหญ่ในวันที่ 19 ม.ค. 67 (KBANK (BK:KBANK) เช้า, SCB ช่วงบ่าย) โดยฝ่ายวิจัย คาดกำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) ที่ 5.5 หมื่นล้านบาท (-5.7% QoQ, +36.5% YoY) ซึ่งการลดลง QoQ มีผลมาจาก OPEX ตามฤดูกาลเข้าสู่การประกาศงบกลุ่มฯ งวด 4Q66 ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 67 ด้วย TISCO และปิดท้ายด้วย ธ.พ. ใหญ่ในวันที่ 19 ม.ค. 67 โดยฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) ที่ 5.5 หมื่นล้านบาท (-5.7%QoQ, +36.5% YoY) ซึ่งการลดลง QoQ มีผลมาจาก OPEX ตามฤดูกาล และ ECL ที่ ประเมินไว้ใกล้เคียงงวดก่อน หักล้าง NII ของ ธ.พ. ใหญ่ ที่รับประโยชน์จากวัฎจักร ดอกเบี้ยขาขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย (YoY มาจากวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น) โดยภาพรวมมอง งบไม่ได้เด่นมากเชิง QoQ แต่หากพิจารณา YoY คาด KBANK มีอัตราการเติบโต สูงสุด เพราะฐานการตั้ง ECL สูงในงวด 4Q65

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามหลัประกาศงบ คือ เป้าหมายทางการเงินปี 2567 ของแต่ละ ธนาคาร โดยเฉพาะมุมมองต่อ NIM ของธนาคารขนาดใหญ่ และแนวโน้ม Credit Cost ด้านคุณภาพสินทรัพย์ คาดที่ 3.6% จาก 3.5% ณ สิ้นงวดก่อน (สิ้นปี 2565 ที่ 3.5%) แม้ประเมินมีการจัดการเชิงรุกก่อนหมดมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว แต่ฐาน สินเชื่อกลุ่มฯ ที่มีแนวโน้ม ลดลง 1.5% QoQ เป็น 1 ในปัจจัยที่ส่งผลให้ NPL / Loan กระตุกตัวขึ้น ผสานกับการฟื้นตัวช้าของเศรษฐกิจไทย ยังคงกดดันรายย่อย และ SME ด้าน Coverage Ratio กลุ่มฯ คาดไว้ทรงตัวจากสิ้นงวดก่อนที่ 181% (สิ้นปี 2565 ที่ 177%)

คงน้ำหนัก เท่าตลาด SETBANK ลบ 2.3% YTD VS SET INDEX ลบ 0.54% YTD ท่ามกลางแรงกดดันจากกระแสดอกเบี้ยกลับทิศ และความกังวลด้านคุณภาพ สินทรัพย์ แต่คาดหวัง PBV ในระดับต่ำของ ธ.พ. ใหญ่ที่ 0.5 – 0.7 เท่า และการใกล้ฤดู ปันผล ช่วย LIMIT DOWNSIDE ของราคาหุ้น โดยให้น้ำหนักการลงทุนไปยัง ธ.พ. เล็ก ที่ได้เปรียบหากดอกเบี้ยนโยบายปรับลง เลือก TISCO (FV@B109) คาด DIV YIELD 8% ต่อปี ด้าน ธ.พ. ใหญ่ เลือก KBANK(FV@B150) จาก COVERAGE RATIO เริ่มมีพัฒนาการดีขึ้น และ VALUATION น่าสนใจมี PBV 0.6 เท่า, DIV YIELD 3.5% ต่อปี

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย