โอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายมีมากขึ้น 

เผยแพร่ 11/01/2567 10:17

หลังการแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่าง นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กับ ผู้ว่าการ ธปท. แม้จะไม่เห็นประเด็นที่ออกมาเป็นข่าวมากนัก แต่ดูเหมือนว่าปัจจัยแวดล้อม ที่เป็นอยู่มีน้ำหนักที่จะเพิ่มโอกาสในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย กล่าวคือ 1) แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกที่กำลังเป็นขาลง 2) อัตราเงินเฟ้อที่ลต่ำลงจนถึงติด ลบ 3) Real Interest Rate ที่เป็นบวกค่อนข้างสูง และ 4) กำลังซื้อของผู้บริโภคที่ ไม่แข็งแรง จากหนี้ภาคครัวเรือนที่สูงกว่า 90% ของ GDP อย่างไรก็ตามเชื่อว่า บ้านเราไม่น่าจะลดดอกเบี้ยนำ Fed ความคาดหมายเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว น่าจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้น เนื่องจากทำให้Market Earning Yield Gap ขยาย กว้างขึ้นหนุนเม็ดเงินเคลื่อนย้ายเข้าตลาด ส่วนปัจจัยอื่นที่มีน้ำหนักคือ ผลของ การกำหนดค่าไฟฟ้าที่ 4.18 บาท/หน่วย ทำให้ต้องปรับลด Fair Value ของทั้ง PTTและ PTTGC ลง ส่วนในต่างประเทศต้องติดตาม ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์

มีโอกาสที่ SET Index จะดีดตัวกลับหลังจากที่ได้พักฐานมีระยะหนึ่งแล้ว ทั้งนี้แรง ขับเคลื่อนอาจมาจากทิศทางดอกเบี้ยที่มีโอกาสปรับตัวลดง วันนี้คาดเคลื่อนไหว ในกรอบ 1407 –1423 จุด Top Pick เลือก AMATA, CPALLและ MAJOR

กระแสดอกเบี้ยขาลงดูเหมือนแรงขึ้น

นายกรัฐมนตรีเผยผลการหารือร่วมกับผู้ว่า ธปท. โดยได้มีการพูดคุยถึงภาพรวม เศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบัน ทั้งในแง่ปัจจัยภายนอกประเทศ สถานการณ์เงินเฟ้อ – ดอกเบี้ย รวมถึงการดำเนินงานนโยบายการเงินการคลังต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา ภายในประเทศ อย่างไรตามท่านนายกฯ ยืนยันว่าไม่มีการใช้อำนาจกดดันให้ ธปท. เร่งปรับลดดอกเบี้ยแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ยังเผยว่าจะมีการพูดคุยและหารือกับทาง ธปท. เรื่อยๆ เป็นประจำทุกสัปดาห์

ขณะที่ในแง่มุมเรื่องทิศทางดอกเบี้ย ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าสภาพแวดล้อมในปัจจุบันมี หลายปัจจัยที่เพิ่มโอกาสในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อาทิ

1. ทิศทางดอกเบี้ยโลกเป็นวัฏจักรขาลง โดย Fed มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ย 3-6

ครั้งในปี 2567จากระดับ 5.5% ลดลงมาอยู่ที่ 4.75% (Dot Plot คาดการณ์)

ถึง4.0% (Fed Watch Tool และ Bloomberg คาดการณ์)

2. เงินเฟ้อไทยติดลบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.-ธ.ค. 66) โดยมีแรงกกดดัน

จากกสินค้าบางกลุ่มที่นอกเหนือจากค่าไฟฟ้าฯ ขณะที่เงินเฟ้อในเดือน ม.ค.

ยังมีโอกาสหดตัวต่อเนื่อง ทำให้ Real Interest Rate เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเดิม

3. หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยสูง โดยล่าสุด ใน 3Q66 อยู่ที่ระดับ 90.9%

อาจกดดันให้กำลังซื้อลดลงได้

4. หนี้สาธารณะต่อ GDP สูง โดยล่าสุดอยู่ที่ 62.44%

หากดอกเบี้ยในไทยปรับลดลงจะ หนุน SET ซื้อขายบน PER ที่ สูงขึ้น เปิด Upside เชิง Valuation

หลังจากที่นายกฯ หารือผู้ว่าธปท. เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และอัตรา ดอกเบี้ยในปัจจุบัน (รายละเอียดตามหัวข้อด้านบน) ซึ่งตลาดคาดว่า กนง.อาจมีการ ใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายลง ที่เรียกว่า การลดดอกเบี้ย ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงทำ SENSITIVITY การลดดอกเบี้ยนโยบายว่า หากลดดอกเบี้ย 0.25% จะทำให้ MEYG เพิ่มขึ้น 0.25% และหนุนการซื้อขาย SET Index บน PER ที่สูงขึ้น 0.77 เท่า และเปิด Upside ของ Target SET ราว 77จุด

หากพิจารณาในมุมกำไรบริษัทจดทะเบียน จะเห็นการสวนทางกัน ระหว่างกำไรรวม และ ดัชนี SET โดย SET INDEX ณ ปัจจุบันอยู่เหนือ 1400 จุด เล็กน้อย แต่ก็ยังต่ำกว่า ระดับช่วงท้ายปี 2022 และ 2021 อยู่มากเกินกว่า 200 จุด สวนทางกับทิศทางกำไร บริษัทจดทะเบียนที่ทยอยฟื้นขึ้นเรื่อย ๆ โดย ปี 2021 มีกำไร 9.89 แสนล้านบาท, ปี 2022 มีกำไร 1.02 ล้านล้านบาท , ปี 2023 คาดกำไร 1.045 ล้านล้านบาท เติบโต ต่อเนื่องในปี 2024 คาดกำไร 1.175 ล้านล้านบาท

สรุป SET Index ในปัจจุบันถือเป็นโอกาสสะสม จากความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของ กนง.ที่จะเปิด Upside ต่อ Target SET ปลายปี และมุมของกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ฟื้น ตัวขึ้นเรื่อยๆ สวนทางดัชนีที่ต่ำกว่า 2 ปีก่อนเกินกว่า 200 จุด โดยวันนี้คาด SET IndeX แกว่งตัวในกรอบ 1407-1423 จุด

การปรับลด FT ส่งผลต่อกลุ่ม โรงไฟฟ้า และ PTT (BK:PTT) PTTGC อย่างไร บ้าง

การปรับปรุงค่า Ft ดังกล่าว เป็นไปตามการพิจารณาโครงสร้างราคาต้นทุนพลังงาน ใหม่ ควบคู่กับมาตรการลดค่าไฟฟ้าของกระทรวงพลังงาน โดยมีรายละเอียดการ ปรับปรุงการคำนวณ ได้แก่

1) ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับภาระเงินคงค้างสะสม สำหรับงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 จำนวน 15,963 ล้านบาท แทนประชาชนไปก่อน

2) ปรับปรุงราคาประมาณการ Spot LNG จากเดิมที่เคยประมาณการไว้ที่ 16.9 เหรียญฯ/ล้านบีทียู ลงเหลือ 14.3 เหรียญฯ/ล้านบีทียู

3) ปรับราคาก๊าซธรรมชาติเข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ เป็นราคา Pool Gas ซึ่งเป็นราคารวมก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นๆ ยกเว้นก๊าซธรรมชาติที่ นำไปใช้ผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ให้ใช้ต้นทุนราคาก๊าซ ธรรมชาติเท่ากับราคาก๊าซธรรมชาติอ่าวไทย (Gulf Gas)

4) เรียกเก็บเงินค่าปรับ Shortfall กรณีที่ผู้ผลิตก๊าซในอ่าวไทยไม่สามารถส่ง มอบก๊าซได้ตามเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติในช่วงปี 2563 -2565 จำนวน 4,300 ล้านบาท จาก PTT โดยให้นำเงินดังกล่าวมาลดค่าก๊าซฯในรอบ Ft งวดเดือน ม.ค. –เม.ย. 67

สำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้า ภาพรวมการปรับลดค่า Ft ในครั้งนี้ ถือเป็นไปตามกลไกของ อัตราค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลงตามต้นทุนก๊าซธรรมชาติ และส่วนหนึ่งเป็นการเว้นการ เรียกเก็บหนี้ที่จะชำระคืนให้แก่กฟผ. ออกไป เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในงวดเดือน ก.ย.- ธ.ค. 2566 ดังนั้นเบื้องต้นคาดอัตรากำไรของกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ที่มีสัดส่วนขาย ไฟฟ้าให้กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง อาทิ GPSC (สัดส่วนรายได้จากการขาย ไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 32% ของรายได้รวม) , BGRIM (สัดส่วนรายได้จาก การขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 27% ของรายได้รวม), GULF (สัดส่วน รายได้จากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 10% ของรายได้รวม) คาดจะยัง ทรงตัวได้ในระดับใกล้เคียงเดิม QoQ ขณะที่ภาพปัจจัยพื้นฐานระยะยาวปี 2567 คาด กำไรปกติยังเห็นการค่อยๆทยอยฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ จากอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ที่คาดจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามราคาต้นทุนพลังงาน ทั้งก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินที่ คาดจะลดลง ตามเข้าสู่สมดุล demand และ supply ที่แท้จริง และการเริ่มทยอยชำระ หนี้คืนให้แก่ กฟผ.ในอนาคต จึงคงคำแนะนำหาจังหวะเข้าทยอยสะสมลงทุนระยะยาว สำหรับ GULF (FV@63B), BGRIM (FV@32B) และ GPSC (FV@55B) โดยเลือก GULF เป็น Top pick จากฐานกำไรที่แข็งแกร่งสุดในกลุ่มฯ

นอกจากนี้ ตามประกาศค่าไฟฟ้าใหม่งวดใหม่ ม.ค.-เม.ย.2567 มีการระบุชัดเจนว่า ส่วนหนึ่งของค่า Ft ที่ปรับตัวลดลงมาจากปรับราคาก๊าซธรรมชาติเข้าและออกจาก โรงแยกก๊าซธรรมชาติให้เป็นราคา SinGLE Pool Gas ตามโครงสร้างราคาก๊าซฯใหม่ และเรียกเก็บเงินค่าปรับ Shortfall ของ PTT 4.3 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทั้ง PTT และ PTTGC โดย PTT จะมีการประชุมบอร์ดในวันที่ 12 ม.ค.67 แต่เบื้องต้นคาด ว่าจะต้องทำภาครัฐ แต่อาจมีแนวทางการบริหารจัดการเพิ่มเติม โดยฝ่ายวิจัยได้ปรับ ลดประมาณการเบื้องต้นของทั้ง PTT และ PTTGC เพื่อสะท้อนประเด็นดังกล่าว กระทบ PTT และ PTTGC ซึ่งจะกระทบกำไรของ PTT ราว 1.5-2.0 หมื่นล้านบาทต่อ ปี และจะกระทบกำไรของ PTTGC ราว 5.0-7.0 พันล้านบาทต่อปี และรวมผลกระทบ จากการเรียกเก็บเงิน Shortfall 4.3 พันล้านบาท คืนให้กับภาครัฐของ PTT ด้วย ส่งผลให้มูลค่าพื้นฐานใหม่ของ PTT ลดลงมาอยู่ที่ 36 บาท/หุ้น (เดิม 41 บาท) และ PTTGC ลดลงมาอยู่ที่ 36 บาท/หุ้น (เดิม 48 บาท) แนะนำ Undeperform ทั้ง PTT และ PTTGC

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย