รอฟังผลการหารือ ผู้ว่า ธปท. กับ รมว.คลัง 

เผยแพร่ 10/01/2567 09:44

ประเด็นที่ติดตามในบ้านเรามี 2 เรื่อง ได้แก่ แนวทางของ Digital Wallet หลังจาท ที่กฤษฎีกา ให้ความเห็นกลับมายังรัฐบาล ซึ่งต้องรอดูดว่ารัฐบาลจะมีแนวทางใน การขับเคลื่อนต่อไปอย่างไร ทั้งนี้เรายังเชื่อว่ามีโอกาสสูงที่รัฐบาลจะเดินหน้า โครงการดังกล่าวต่อไป อีกเรื่องหนึ่งคือการพบกันของ ผู้ว่า ธปท. กับ นายกรัฐมนตรี (รมว.คลัง) โดยสิ่งที่เราคาดหวังคือการปรับมุมมองภาพรวม เศรษฐกิจให้เป็นเอกภาพ ซึ่งน่าจะทำให้ทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายการเงิน และ นโยบายการคลัง สอดคล้องกัน ส่วนปัจจัยในต่างประเทศเป็นมุมมองเรื่องทิศทาง ดอกเบี้ยของสหรัฐ ซึ่งกำลังมองหาจุดเริ่มต้นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นโยบาย โดยล่าสุด Fed Watch Tool แสดงผลของคนที่คิดว่าFedจะคงดอกเบี้ย ในการประชุมรอบเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 40% ในอีกด้านหนึ่ง World Bank ปรับ ลด GDP Growth บ้านเราปี 2567 ลง มาอยู่ที่ 3.2% เดิม 3.6%

ประมวลจากภาพรวมของปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน ยังไม่เห็นปัจจัยที่มีน้ำหนัก ในการขับเคลื่อน SET Index ที่ชัดเจน คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1410 –1423 จุด สำหรับหุ้น Top Pick เลือก AMATA, AP และ MAJOR

FED อาจคงดอกเบี้ยนานขึ้น ส่วนท่าทีกนง. ต้องรอดูต่อไป

วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯแกว่งทรงตังในแดนลบเล็กน้อย 0.1%-1.0% หลังการพุ่งขึ้น ของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ และเจ้าหน้าที่เฟดได้ออกมาส่งสัญญาณในเชิง สนับสนุนการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงต่อไป โดยประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า กล่าวว่า Fed มีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายคุมเข้มด้านการเงินต่อไป และหนึ่งใน สมาชิกคณะผู้ว่าการเฟด กล่าวว่า วงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มสิ้นสุด ลงแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเวลาที่เหมาะสม คือ กรอบ เป้าหมายเงินเฟ้อต้องอยู่ระดับ 2% ประเด็นดังกล่าว จึงทำให้ตลาดคาดว่า Fed มี โอกาสคงดอกเบี้ยรอบ มี.ค.67 สูงขึ้นจาก 21.7%(14 ธ.ค. 66) สู่ระดับ 40.0%(9 ม.ค. 67)

ซึ่งต้องจับตาดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนธ.ค.ของสหรัฐในวันพรุ่งนี้ตลาด คาดดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 3.3%YoY และคาดว่าดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและ พลังงาน จะเพิ่มขึ้น 3.8%YoY

ขณะที่ประเทศไทย แม้ กนง.จะส่งสัญญาณว่าจะคงดอกเบี้ยที่ระดับ 2.50% ในปีนี้ แต่ เริ่มเห็นกระแสที่จะผลักดันให้เกิดการปรับลดดอกเบี้ยมากขึ้น ดังนี้

• ธนาคารออมสินประกาศลดดอกเบี้ย MRR เหลือ 6.845% เพื่อช่วยเหลือ บรรเทาภาระทางการเงินของประชาชนในช่วงระยะนี้ไปจนกว่าจะมีการ เปลี่ยนแปลง นับเป็นอัตราดอกเบี้ย MRR ที่ต่ำสุดในระบบธนาคาร ณ เวลา นี้

• นายกฯ ถกผู้ว่าฯ แบงก์ชาติวันนี้ส่วนประเด็นที่จะหารือกัน คือ เงินเฟ้อไทย, ดอกเบี้ยนโยบายสูง, ความเสี่ยงหุ้นกู้ผิดนัดชำระ จึงทำให้ตลาดคาดว่ามี โอกาสสูงที่ กนง. จะผ่อนคลายนโยบายทางการเงินบ้างหลังจากนี้

ส่วนหุ้นที่คาดได้ประโยชน์ หากดอกเบี้ยเข้าสู่ขาลง คือ กลุ่มเช่าซื้อ, ธพ.ขนาดเล็ก, อสังหาฯ, ปันผลสูง, Net debt

สรุป แม้ Fed มีโอกาสคงดอกเบี้ยนานขึ้น แต่ระยะยาวเชื่อว่ากำลังก้าวเข้าสู่ยุคดอกเบี้ย ขาลงอยู่ดี ขณะที่ไทยคาดหวังการใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายลง หลังนายก ฯ ถกผู้ว่าฯ แบงก์ชาติวันนี้ โดยวันนี้คาดกรอบ SET Index 1410-1423 จุด

เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มโตน้อยลง สวนทางกับบ้านเรา

วานนี้ World Bank มีรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2566 จะขยายตัว +2.6%YoY ส่วนปี 2567 จะโตได้น้อยลงที่ +2.4%YoY ซึ่งนับว่าชะลอตัว 3 ปี ติดต่อกัน ทั้งนี้ หากไม่นับรวมช่วงวิกฤตโควิด-19 ปี 2563 จะทำให้ประมาณการ GDP Growth โลกในปันี้เป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่วิกฤต Subprime ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในช่วง 2H66 เติบโตน้อยลง จากผลกระทบของเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวได้ช้า บวกกับการค้าระหว่าง ประเทศชะลอตัว

อย่างไรก็ตาม World Bank ได้มีการปรับเพิ่มประมาณ GDP Growth ปี ในกลุ่ม ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งมากกว่า คาด จึงน่าจะเป็นแรงหนุนให้เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงเป็นไปในรูปแบบ Sofl Landing

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาการคาดการณ์ GDP growth ของสำนักเศรษฐกิจต่างๆ ค่อนข้างที่จะเป็นไปในรูปแบบที่สอดคล้องกัน โดยในปี 66-67 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้ม ขยายตัวเฉลี่ยได้น้อยลงที่ 2.9% และ 2.7% ตามลำดับ ซึ่งสวนทางกับภาพเศรษฐกิจ ในบ้านเราที่มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยได้ดีต่อเนื่องที่ 2.6% และ 3.2% ตามลำดับ จึงเชื่อว่า จะเป็นแรงบวกเม็ดเงินให้ไหลเข้ามาในไทยระยะต่อไปได้มากขึ้น

สรุป คาดการณ์เศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวได้น้อยลงในปี 66 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก เศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่าคาด บวกกับการค้าระหว่างประเทศชะลอตัว อาจเป็น ปัจจัยกดดันสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงสั้นๆ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกในปี 67 ยังมี แนวโน้มขยายตัวต่อได้จากแรงหนุนเศรษฐกิจสหรัฐที่ค่อนข้างแข็งแกร่งในปีที่ผ่านมา ทำให้ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง อาจเป็นไปในรูปแบบ Soft Landing

ตลาดหุ้นไทยยังมีประเด็น Overhang กดดัน Fund Flow ชะลอ ช่วงนี้

เปิดปีใหม่ 2567 มา ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้ดีในสัปดาห์แรกของปี แต่เริ่มย่อตัวใน สัปดาห์นี้ พร้อมกับ Fund Flow ที่เริ่มกลับมาไหลออก โดยต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย - 3.3 พันล้านบาท (ytd)

ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดหุ้นที่ถูกขายสูงสุดในภูมิภาคในปีนี้ (ytd) -96.2 ล้าน เหรียญ ตามมาด้วยเวียดนาม -22 ล้านเหรียญ สวนทางกับประเทศส่วนใหญ่ที่ถูกซื้อ สุทธิ อาทิ ตลาดหุ้นอินเดีย +567 ล้านเหรียญ, เกาหลีใต้ +484 ล้านเหรียญ, อินโดนีเซีย +259 ล้านเหรียญ, มาเลเซีย +120 ล้านเหรียญ, ไต้หวัน +46 ล้านเหรียญ , ฟิลิปปินส์ 44 ล้านเหรียญ

ประเด็นที่กดดันตลาดหุ้นไทยให้เกิด Overhang ในช่วงนี้ ความกังวลเรื่องผิดนัดชำระ หนี้ของบริษัท และเรื่องนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ยังขาดความชัดเจน โดยฝ่าย วิจัยทำการค้นหาข้อมูลมูลค่าหุ้นกู้ในระบบอยู่ที่ 4.4 ล้านล้านบาท (จำนวน 2015 Issues) โดยเป็นหุ้นกู้ที่ครบกำหนดอายุในปีนี้ 8.8 แสนล้านบาท (จำนวน 551 Issues , 193 บริษัท)รายละเอียดอื่นๆ จะนำเสนอต่อในระยะถัดไป

นอกจากนี้ยังมีประเด็นรอความชัดเจนจากโครงการกระเป๋าตังค์ดิจิตอล รวมถึง ความต่อเนื่องของนโยบายการลดค่าไฟฟ้าจะเป็นอย่างไร กลยุทธ์แนะนำมีหุ้นสถานะ การเงินแข็งแกร่งปันผลสูงติดพอร์ตในช่วงนี้ SCCC มี Dividend Yield 5.8% AP 5.8%, INTUCH 6.3%, MAJOR 5.1%, TISCO 8.0%

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย