ดอกเบี้ย .. Digital Walletวัดใจรัฐบาล 

เผยแพร่ 09/01/2567 10:32
SETI
-

กฤษฎีกา ให้ความเห็นเรื่องการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านกลับมายังรัฐบาล โดยเห็นว่ารัฐบาลมีอำนาจทำได้ แต่ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย กล่าวคือ การกู้ เงินดังกล่าวต้องทำในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วน เพื่อแก้วิกฤติของประเทศ และ การใช้ เงินตามแผนงานต้องมีความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ-สังคม หลังจากนี้รัฐบาลจะ ตัดสินใจเดินหน้า Digital Wallet หรือไม่ ต้องรอติดตาม ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเป็น เรื่อง ทิศทางดอกเบี้ย ซึ่งในมุมของรัฐบาล เห็นว่า กนง. ควรพิจารณาปรับลด อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งในมุมนี้เรามองว่าเป็นการเห็น ภาพเศรษฐกิจไทยที่ต่างกันระหว่าง มุมของผู้ที่ขับเคลื่อนนโยบายการเงิน กับผู้ที่ ขับเคลื่อนนโยบายการคลัง ทั้งนี้หากมุมที่ออกมาสวนทางกัน ก็จะทำให้การเดิน นโยบายต่างๆ มีประสิทธิผลที่ลดลง กรณีนี้ก็คงต้องรอดูท่าที่ของรัฐบาลต่อไป สำหรับปัจจัยในต่างประเทศ ความสนใจอยู่ที่ราคาน้ำมันที่ปรับฐานลง

ประเมินว่าทิศทางของ SET Index วันนี้อาจจะผันผวนอยู่ในกรอบแคบ รอความ ชัดเจนของเรื่องที่สำคัญต่างๆ ประเมินกรอบ 1415 – 1428 จุด สำหรับหุ้น Top Pickเลือก CRC, SJWD และ TISCO

ความเห็นกฤษฎีกาเรื่องพ.ร.บ.กู้เงินแล้ว รอดูท่าทีรัฐบาล เดินต่อ Digital wallet ?

รมช.คลังเปิดเผยว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตอบข้อถามของกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับ พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการdigital wallet กลับมาแล้ว โดยทางกฤษฎีกาบอกว่า สามารถทำได้ตามอำนาจของคณะรัฐมนตรี แต่ต้องอยู่ ภายใต้กรอบของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง

ทั้งนี้ กฤษฎีกาได้ตั้งข้อสังเกตใน 3 ประเด็นที่ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ได้แก่

1. มาตรา 53 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ ที่ระบุว่า การกู้เงินเพิ่มเติมต้องเกิด สถานการณ์วิกฤต หรือต้องใช้กรณีจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น

2. มาตรา 57 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ ที่ระบุว่า การกู้เงินเพิ่มเติมจะกระทำ ได้แต่เฉพาะเพื่อใช้จ่ายตามแผนงานหรือโครงการที่มีความคุ้มค่าทาง เศรษฐกิจหรือสังคม

3. ต้องมีการเปิดรับฟังความเห็นอย่างรอบด้าน ซึ่งรัฐบาลต้องกลับมาดูว่า จะต้องทำกลไกเพิ่มเติมอย่างไร เช่น ต้องรับความคิดเห็นจากประชาชนหรือ ส่วนงานอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่

ซึ่งทาง รมช.คลัง ระบุว่าจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการฯ และรัฐบาล ในการหา คำตอบและรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อชี้แจงต่อสังคมให้ครบถ้วน รวมไปถึงเป็นหน้าที่ ของส่วนงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบว่าสถานการณ์ปัจจุบันเป็นไปตามกรอบของ กฎหมายหรือไม่ โดยขั้นตอนต่อไปจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบาย Digital Wallet โดยนำข้อสังเกตของกฤษฎีกามาพิจารณากันต่อไป เพื่อเดินหน้านโยบายให้ ทันตามกรอบไทม์ไลน์เดิม คือช่วง พ.ค.67

ึ่งฝ่ายวิจัยฯคาดว่าหากนโยบายดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นจริง คาดสร้างความ ต่อเนื่องในการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากช่วงต้นปีมีมาตรการ Easy E-Receipt คาด หนุนให้ GDP Growth ปีนี้จะโตราว 3.2%-3.7% ดังที่หลายสำนักเศรษฐกิจประเมินไว้ ซึ่งหากพิจารณาในมุมของกลุ่มอุตสาหกรรม ที่คาดจะได้ประโยชน์จากนโยบาย ดังกล่าว คือ

• กลุ่มท่องเที่ยว : CENTEL, ERW, MINT

• กลุ่มอุปโภค/บริโภค : CPN, CPAXT, HMPRO, ADVANC, COM7, CRC CPALL (BK:CPALL), BJC, CBG, OSP, JMART, COM7, DCC, M, AU, SCGP

• กลุ่มคาดหวังเศรษฐกิจฟื้น : KBANK (BK:KBANK), BBL, TISCO, TIDLOR, MTC, SAWAD, KTC, AEONTS, BAM

สรุป หากรัฐบาล ตัดสินใจเดินหน้าโครงการ Digital Wallet คาดว่าจะน่าจะสร้างแรง ขับเคลื่อนให้กับหุ้นในกลุ่ม PKG, FIN, BANK, COMM, ICT เป็นต้น ซึ่งได้ประโยชน์ทั้ง จากนโยบายภาครัฐฯ และ Fund flow ที่ทยอยไหลเข้า โดยวันนี้คาดกรอบ SET Index 1415-1428 จุด

ดอกเบี้ยไทยสูงเกินไป ??

ดอกเบี้ยไทยนโยบายบ้านเราในปัจจุบันที่ 2.5% นับเป็นสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี ท่ามกลางเงินเฟ้อไทยหดตัว 3 เดือนติดต่อกัน (ต.ค-ธ.ค. 67) ทำให้มีกระแสออกมา จากภาครัฐบาล โดยเห็นว่า ธปท. ควรพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากมองว่าดอกเบี้ยที่ขึ้นมาเร็วและแรงในช่วงที่ผ่านมา เป็นการสร้างแรงกดดันให้ ภาพรวมเศรษฐกิจไม่เติบโต ประเด็นการปรับลดดอกเบี้ย กดดันให้เงินบาทวานนี้อ่อน ค่าลงกว่า 0.87% ทะลุ 35 บาท/USD อีกครั้ง ซึ่งหากนับตั้งแต่ต้นปีเงินบาทถือว่าอ่อน ค่ามากสุดในภูมิภาค

สำหรับ แง่มุมเรื่องทิศทางดอกเบี้ตลอดจน ผลที่จะเกิดขึ้นต่อภาพรวมเศรษฐกิจ พอ ประเมินได้ดังน

• การดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่สวนทางกัน โดย ธปท. มีมุมมองใน เชิงบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในช่วงฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้ดอกเบี้ย 2.5% ถือเป็นระดับที่เหมาะสม (Neutral rate) ขณะที่ภาครัฐมองว่าเศรษฐกิจ ไทยกำลังอยู่ในช่วงวิกฤต

• ภาพรวมเศษฐกิจไทยขยายตัวได้น้อยลง โดย GDP Growth ของไทยใน 3Q66 ขยายตัวเพียง 1.9%YoY และทั้งปี 2566 คาดว่าจะโตเฉลี่ยราว 2.5% (ประเมินจากหลายสำนักเศรษฐกิจ) ซึ่งข้อมูลในอดีตชี้ให้เห็นว่าตัวเลขสำคัญ ทางเศรษฐกิจของไทยในช่วง1 ไตรมาส ก่อน กนง. ปรับลดดอกเบี้ย มักจะส่ง สัญญาณชะลอตัวลง เฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกและการลงทุน

• อัตรากดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทยล่าสุดอย่ในระดับสูงกว่า 3.33% ซึ่งเมื่อย้อน ไปดูข้อมูลในอดีตจะเป็นได้ว่า ในช่วงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของ “ไทย” สูงกว่า “สหัรฐ” มักตามมาด้วยการลดดอกเบี้ยหลังจากนั้นราว 3-12 เดือน

สรุป กระแสเงินบาทที่อ่อนค่าอาจจะเป็นปัจจัยที่เข้ามากดดันให้ตลาดหุ้นผันผวน ในช่วงสั้นๆ จากแรงขายของต่างชาติ อย่างไรก็ตามการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายใน บ้านเราหากเกิดขึ้นจริง เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระยะถัดไปได้ และน่าจะ ทำให้หนุนไหนเม็ดเงินไหลเข้าไทยมากขึ้นในระยะต่อไป

หาหุ้นเก็งกำไร รับกระแสหุ้นต่างประเทศฟื้น

ตลาดหุ้นโลกวานนี้ปรับตัวขึ้นมาเด่น โดยเฉพาะหุ้นเทคฯ อาทิ NVDA +6%, AMD +5% หนุนดัชนี Nasdaq +2.2% พร้อมกับ Bond Yield 10 ปีสหรัฐ ที่พลิกกลับมา ย่อตัวลงจาก 4.06% เหลือ 4.01% ดีต่อหุ้นกลุ่มการเงิน และหุ้นเทคฯ ไทย

ขณะเดียวกันราคาน้ำมันดิบโลก WTI ปรับตัวลดลง 4% ภายในวันเดียว จากแรง กดดันอุปทานน้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยแหล่งข่าวจาก Reuters สำรวจกำลังการผลิตกลุ่ม OPEC เดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น 7 หมื่นบาร์เรล/วัน รวมถึงความกังวลอุปสงค์น้ำมันที่ ลดลงจากความกังวลเศรษฐกิจเอเชียชะลอตัว ทำให้ Saudi Aramco ลดราคาน้ำมัน ส่งมอบเดือน ก.พ. ในฝั่งเอเซียหลายชนิดลง 2 เหรียญ/บาร์เรล กดดันให้ราคา Arab Light ลดลงมาต่ำสุดในรอบ 27 เดือน หนุนหุ้น Anti – Commodity ฟื้นทั้ง 2 เหตุการณ์น่าจะช่วงหนุนกลุ่มหุ้นไทยที่ย่อตัวแรงในปีนี้ ให้ฟื้นกลับขึ้นมา อาทิ กลุ่ม ETRON -3.9%ytd และ PETRO -3%ytd

กลยุทธ์แนะนำหุ้นราคาย่อตัวลงมา แต่ได้ Setiment จากปัจจัยภายนอกหนุนช่วงสั้น คาดหวังมีโอกาสพลิกกลับมา Outperform SET Index ในช่วงสั้นๆได้ ดังนี

• หุ้นเทคฯ ไทย มีโอกาสฟื้นแรงตามเทคฯโลก อาทิ HANA, KCE, DELTA, BE8, BBIK, INET, INSET

• หุ้นได้แรงหนุนจากดอกเบี้ยขาลง TIDLOR, MTC, SAWAD, JMT

• หุ้นได้ Sentiment ต้นทุนพลังงานถูกลง TOP, SPRC, IRPC, PTTGC, BGRIM, GPSC

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย