รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

เงินเฟ้อติดลบ เพิ่มโอกาสใช้มาตรการกระตุ้น 

เผยแพร่ 08/01/2567 09:21
อัพเดท 09/07/2566 17:32

เงินเฟ้อเดือน ธ.ค.66 ของบ้านเรา อยู่ที่ -0.83% YoY ขณะที่ Core Inflation อยู่ ที่ +0.58% สำหรับแนวโน้มในเดือน ม.ค.67 ยังมีแนวโน้มที่ติดลบต่อ โดน ภาพรวมปี 2567 คาดเงินเฟ้ออยู่ช่วง 0.3 –1.7% (ค่ากลาง 0.7%) ด้วยฐานเงิน เฟ้อระดับต่ำ ส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นกำลังซื้อที่ไม่แข็งแรง แต่ในอีกทางหนึ่งก็ เปิดทางให้การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายการเงิน และ การคลัง สามารถทำได้มากขึ้น ซึ่งสภาวะดังกล่าวน่าจะเป็นแรงกระตุ้นในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ หุ้น Domestic Consumption ทั้งนี้ในช่วง 2 วันข้างหน้า อาจมีการแถลงเรื่อง ความคืบหน้าของ Digital Wallet ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามใกล้ชิด ได้แก่ความ เสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ โดยกรณีของสงครามอิสราเอล-ฮามาส มีความเสี่ยงต่อ การขยายวงมากขึ้น ขณะที่คาบสมุทรเกาหลีก็มีความร้อนแรงมากขึ้น ส่วน สงครามรัสเซีย-ยูเครน ก็ยังร้อนแรงต่อเนื่อง

จากปัจจัยแวดล้อมที่เห็นเช้านี้ เห็นว่ายังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาขับเคลื่อน คาดว่า น่าจะทำให้SET Index ผันผวนในทิศทางแกว่งลง ประเมินกรอบ 1418 – 1435 จุด สำหรับหุ้น Top Pick เลือก JMART, PTTEP และ TISCO

สัญญาณเศรษฐกิจโตไม่ร้อนแรง อาจหนุนแบงค์ชาติใช้นโยบาย การเงินผ่อนคลาย

วันศุกร์ที่ผ่านมา สหรัฐเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน ธ.ค. 66 เพิ่มขึ้น 216,000 ต่ำแหน่ง สูงสุดในรอบ 3 เดือน อย่างไรก็ตาม การ จ้างงานที่ขยับขึ้นหลักๆ อยู่ในกลุ่ม Education and Healthcare และ Government ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยจากดอกเบี้ยพุ่งสูง ขณะที่อัตราการ ว่างงาน (Unemployment Rate) เดือน ธ.ค. ยังคงทรงตัวอยู่ที่ 3.7%

ภาวะข้างต้นสะท้อนภาพรวมของตลาดแรงงานที่ไม่ดูดีจนเกินไป บวกกับภาคการ บริการสหรัฐส่งสัญญาณชะลอตัวลง (ISM Non Manufacturing เดือน ธ.ค. อยู่ที่ 50.2 จุด ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน) ทำให้เกิดการตีความว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจ Soft Landing (ความเสี่ยง Recession ลดลง) ซึ่งมีโอกาสที่จะหนุนให้ Fed ปรับลด ดอกเบี้ยลงน้อยกว่าตลาดคาด 6 ครั้ง ในปี 2024 สังเกตุได้จาก Bond Yield 10Y สหรัฐ ขยับขึ้นเรื่อยๆ

ในส่วนของบ้านเรา กระทรวงพาณิชย์รายงานเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือน ธ.ค. - 0.83%YoY ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 34 เดือน ซึ่งการหดตัว หลักๆ จากมาตรการลดค่าครองชีพ รวมถึงราคากลุ่มอาหารสดปรับตัวลดลง อาทิ หมู ผักสด ฯลฯ ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2566 +1.23%AoA ส่วน Core CPI ล่าสุด +0.58 %YoY เท่ากับเดือนก่อน แต่ก็ต่ำสุดในรอบปี

ขณะที่ระยะถัดไปกระทรวงพาณิชย์ คาดว่าเงินเฟ้อไทยเดือน ม.ค.67 มีโอกาสติดลบ เป็นเดือนที่ 4 จากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลง และยังอยู่ในช่วงที่ภาครัฐช่วยลดค่า ครองชีพ พร้อมกันนี้ยังได้ประเมินเงินเฟ้อปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 0.7%YoY (-0.3 ถึง 1.7%)

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ ช่วงเริ่มต้นปี 2567 รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้น การใช้จ่ายผ่านโครงการ Easy E-Receipt น่าจะช่วยหนุนให้เงินเฟ้อมีโอกาสปรับตัว เพิ่มขึ้นในเดือน ม.ค. 67 นี้ได้ สังเกตได้จากช่วงเวลาที่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่าง ช้อปดีมีคืนในปี 2563-66 หนุนให้ Core CPI ขยายตัวทุกรอบทั้ง MoM และ YoY

ทั้งนี้ Core CPI ไทยที่ยังขยายตัวได้ บวกับการอัดฉีดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ ภาครัฐ อาจจะยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ ธปท. ไม่จำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ดังเช่นสหรัฐฯ ที่ดอกเบี้ยพุ่งขึ้นมาแรงในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งหาก Fed มีการปรับลด ดอกเบี้ยในช่วงถัดไป เชื่อว่าจะช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่ามากขึ้น

สรุป ความกังวลเรื่องเงินฝืดในไทยกดดัน SET Index ย่อตัวช่วงสั้นๆ แต่ในระยะถัดไป ยังมีโอกาสฟื้นตัว หาก กนง. และรัฐบาลมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการใช้นโยบาย การเงินผ่อนคลายและนโยบายการคลังที่เข้มข้นขึ้น อาทิ Digital Wallet, ปรับขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ เป็นต้น รวมถึงเศรษฐกิจไทยปีหน้ายังมีแนวโน้มขยายต่อเนื่องที่ 2.7 - 3.7%

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ช่วงตลาดหุ้นย่อตัว แนะนำสะสมหุ้นได้รับอานิสงค์จากความหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านนโยบายการเงินและการคลังเพิ่มเติม SAWAD, MTC, TIDLOR, SIRI, LH, TISCO, INTUCH, JMART, CRC, BJC, CPALL (BK:CPALL)

ราคาน้ำมันดิบยังไปต่อ หนุน SET แข็งแกร่งในระยะนี้

วันศุกร์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI ปรับตัวขึ้น 1.5% และ 2.3% ตามลำดับ จนอยู่ที่ระดับ 79 และ 74 เหรียญฯ/บาร์เรล หลังสถานการณ์ในตะวันออก กลางยังคงมีความตึงเครียดจากการที่กลุ่มฮูตีทำการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดง และ การที่สหรัฐทำการโจมตีทางอากาศกรุงแบกแดดของอิรัก ด้วยความตึงเครียดที่ยังมี อยู่อย่างต่อเนื่องจากทั้ง 2 ฝั่ง ทำให้บริษัทเมอส์ก (Maersk) ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งสินค้า ทางเรือรายใหญ่สัญชาติเดนมาร์ก ประกาศปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือของเรือบรรทุก ตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 4 ลำให้เดินทางอ้อมไปทางทวีปแอฟริกาแทน

ขณะที่ประเด็นอื่นที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น คือ สงครามเหาหลีเหนือ-ใต้ หลัง เกาหลีเหนือได้ยิงปืนใหญ่มากกว่า 200 นัดลงเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเล ใกล้กับ เกาะยอนพยองและเกาะเพ็งยองของเกาหลีใต้ส่งผลให้มีคำสั่งอพยพประชาชนที่อาศัย อยู่บนเกาะทั้ง 2 แห่งและระงับการเดินเรือข้ามฟากเนื่องจากเกาหลีใต้เตรียมที่จะจัดการ ซ้อมรบทางทะเลเพื่อตอบโต้เกาหลีเหนือ

ดังนั้นจึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม ว่าจะมีความคืบหน้าทางด้านความรุนแรงทางด้าน สงครามอีกหรือไม่ ถ้าหากมีอาจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ Supply ชะลอตัวลงไปอีก และ หนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วง 1-2 สัปดาห์ โดยหุ้นที่คาดได้ประโยชน์ คือ PTT (BK:PTT) PTTEP TOP SPRC เป็นต้น

สรุป วานนี้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง จากความกังวล Supply ในตลาดน้ำมัน ตึงตัวขึ้น หลังเกิดความไม่สงบในสงครามตะวันออกกลาง-ทะเลแดง และเกาหลีเหนือใต้ คาดเป็นประเด็นหนุนให้ราคาน้ำมันดิบยังทรงตัวในระดับสูงได้ โดยฝ่ายวิจัยฯแนะนำ PTT PTTEP TOP SPRC เป็นต้น คาดราคาหุ้นสามารถ Outperform หุ้นตัวอื่นๆได้

ช่วงต้นปี 2567 มีโอกาสถูกแรงขายจากกองทุน LTF ที่ครบ กำหนดอายุเยอะไหม?

ฝ่ายวิจัย ASPS ประเมินว่าแรงขายจาก LTF ในช่วงต้นปี 2567 น่าจะน้อย และไม่น่า กังวลเหมือนต้นปี 2566 ครับ ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้

1. ในเดือน ม.ค. 66 กองทุนขายสุทธิหุ้นไทยสูงถึง 2.4 หมื่นล้านบาท โดยเป็นแรงขาย จากกองทุน LTF ราว 1 หมื่นล้านบาท ทำให้เกิดความกังวลว่าจะซ้ำรอยในปี67 นี้ หรือไม่? ส่วนหนึ่งเกิดจากคนที่ซื้อ LTF ในช่วงท้ายปี 60 มีต้นทุนเฉลี่ยช่วงท้ายปี1724 จุด และเฉลี่ยทั้งปี 1612 จุด โดย SET ปิดปี 2565 ที่ 1668 จุด ทำให้ยอดซื้อ LTF ปี 61 ที่ 6.45 หมื่นล้านบาท พอมีกำไรบ้าง และสามารถขายออกได้ทันที พร้อมกับยังมียอด คงค้าง LTF ในปีอื่นๆ รวมอยู่ด้วยสูงถึง 3.3 แสนล้านบาท

2. เดือน ม.ค. 67 เชื่อว่าแรงขายจาก LTF น้อยกว่าปีที่แล้ว และน้อยกว่า 1 หมื่นล้าน บาท เพราะ ต้นทุนคนซื้อ LTF ช่วงท้ายปี 2561 อยู่ในกรอบ 1550 –1670จุด และเฉลี่ย ทั้งปี 1720 จุด ยังขาดทุนอยู่มากเมื่อเทียบกับดัชนีปัจจุบัน 1430 จุด ทำให้ยอดซื้อในปี 2561 ที่ 7.6 หมื่นล้านบาท ยังไม่น่าขายออกมาในตอนนี้

3. ยอดคงค้างของกองทุน LTF รวมปัจจุบันอยู่ที่ 2.65 แสนล้านบาท (เป็นยอดคงค้าง ในปีอื่นๆ นอกจากปี 62 ราว 1.9 แสนล้านบาท) ถือว่าลดลงมามากเมื่อเทียบกับในอดีต ราว 4-5 แสนล้านบาท และต่ำกว่าปลายปี 2565 อยู่ที่ 3.3 แสนล้านบาท นั่นคือ ปริมาณที่จะว่าจะถล่มขายออกมาได้ลดน้อยลงไปมากเมื่อเทียบกับในอดีต

สรุปคือ ยอดซื้อ LTF ในปี 2561 ที่พร้อมขายได้ในปีนี้ยังขาดทุนอยู่พอสมควร ส่วน ยอดคงค้าง LTF ถือว่าลดลงมาจากในอดีตมาก ดังนั้นแรงถล่มขาย LTF ในช่วงต้นปีนี้ ยังไม่น่ากังวลเทียบเท่ากับช่วงต้นๆ ปีในอดีต

ปัญหาผิดชำระหุ้นกู้ เสี่ยงกับอสังหาฯ กลาง-เล็ก มากกว่าราย ใหญ่ที่ยังแข็งแรง

จากประเด็นข่าวเรื่องการเลื่อนชำระคืนหุ้นกู้ของ ITD ส่งผลให้เกิดความกังวลต่อภา คอสังหาฯ เนื่องจากหากอิงข้อมูลของ SCB EIC (จากกรุงเทพธุรกิจวันที่ 8 ม.ค. 2566) พบว่าหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดปี 2567 (รวมหุ้นกู้ระยะสั้นและยาว) มีมูลค่าทั้งสิ้น 1.07 ล้านล้านบาท (แบ่งตามเครดิตเรตติ้งในกลุ่ม Investment Grade ราว 9 แสนล้านบาท และที่เหลือ Non-Investment Grade) ซึ่งหากแบ่งตามกลุ่มธุรกิจพบว่าอยู่ในกลุ่ม อสังหาฯ ราว 1.8 แสนล้านบาท (หรือสัดส่วน 17% ชองหุ้นกู้ทั้งหมด) และอยู่ในกลุ่ม Non-Investment Grade 6.12 หมื่นล้านบาท (สัดส่วน 34% ของหุ้นกู้ประเภท NonInvestment Grade) นอกจากนี้หากอิงตามหนังสือกรุงเทพธุรกิจระบุถึงหุ้นกู้ในระบบ ที่จะครบกำหนด 1Q67 มีอยู่เกือบ 1.9 แสนล้านบาท (แบ่งเป็น Investment Grade 1.48 แสนล้านบาท, Non-Investment Grade 2.04 หมื่นล้านบาท และ Non-Rated ีกราว 1.77 หมื่นล้านบาท) และในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ในกลุ่มอสังหาฯ เป็น หลัก ทำให้เกิดความกังวลต่อความเสี่ยงที่จะไม่สามารถคืนหุ้นกู้ หรือไม่สามารถ Rollover ได้

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

แม้ประเด็นดังกล่าวสร้าง Sentiment เชิงลบต่อภาพรวมของกลุ่มอสังหาฯ แต่ก็ไม่ สามารถเหมารวมความเสี่ยงต่อกลุ่มอสังหาฯ ทั้งระบบได้ เนื่องจากต้องพิจารณาและ วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาหุ้นกู้เป็นรายตัวมากกว่า โดยมองว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่มี ความเสี่ยงมากกว่ารายอื่น คือ ผู้ประกอบการอสังหาฯ รายกลาง-เล็ก ที่มีพอร์ต สินค้าไม่ได้กระจายตัว โดยกระจุกตัวในสินค้าประเภทคอนโดฯ (เสี่ยงมากกว่าแนวราบฯ ที่มี Business Cycle สั้นกว่า และสามารถทยอยลงทุนเป็นเฟส ๆ ได้) รวมถึง ผู้ประกอบการที่มีปัญหาสภาพคล่องการเงิน โครงสร้างการเงินอ่อนแอ วัดจาก Net Gearing สูงเกิน 2-3 เท่าขึ้นไป ทั้งนี้หากพิจารณาถึงผู้ประกอบการที่ฝ่ายวิจัยศึกษา 15 บริษัทใน SET ถือเป็นบริษัทรายกลาง-ใหญ่ พบว่าส่วนใหญ่ยังมีฐานะการเงินอยู่ใน เกณฑ์ดี วัดจากอัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายต่อทุนสุทธิ (Net Gearing) อยู่ใน กรอบ 1-1.2 เท่า มาโดยตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา และล่าสุดสิ้น 3Q66 อยู่ที่ 1.1 เท่า โดยมีภาระหนี้สินที่มีดอกเบี้ยจ่ายรวมทั้งสิ้น 4.07 แสนล้านบาท (รวม Perp Bond ของ ANAN และ SIRI รวม 8 พันล้านบาท) พบว่าหนี้สินสัดส่วน 45% ของหนี้ที่มีดอกเบี้ย อยู่ในรูปแบบเงินกู้ยืมธนาคารและอื่น ๆ ขณะที่สัดส่วนใหญ่ราว 55% หรือเท่ากับ 2.23 แสนล้านบาท อยู่ในรูปแบบหุ้นกู้ระยะสั้นและยาว และหากจำแนกลงไปถึงหุ้นกู้ที่จะครบ กำหนดชำระคืนภายใน 1 ปีข้างหน้า มีทั้งสิ้น 6.66 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 30% ของหุ้นกู้ทั้งหมด หลัก ๆ มาจาก LH มีหุ้นกู้ครบใน 1 ปีข้างหน้าเกือบ 1 หมื่นล้านบาท, SIRI 8.16 พันล้านบาท, SPALI และ PSH เฉลี่ย 6 พันล้านบาท/บริษัท รวมถึง AP 5.3 พันล้านบาท ซึ่งล้วนถือเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีสายป่านยาว เน้นธุรกิจแนวราบ ที่มีกระแสเงินสดหมุนเร็ว และการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องสภาพ คล่องแต่อย่างใด ขณะที่ ANAN แม้มีหุ้นกู้ที่ครบกำหนดใน 1 ปีข้างหน้า ราว 7 พันล้าน บาท แบ่งเป็น 2 งวด คือช่วง ม.ค. จำนวน 3.8 พันล้านบาท แต่ปัจจุบันมีแหล่งเงินทุน รองรับพร้อมชำระแล้ว ขณะที่อีกงวดเดือน ก.ค. อีก 3.2 พันล้านบาท อยู่ระหว่างการ จัดหาแหล่งเงินทุน คาดมาจากการขายสต๊อกโครงการเดิม รวมถึงแผนขายสินทรัพย์ เช่น Serviced Apartment และที่ดินบางส่วน รวมมูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งบริษัท คาดธุรกรรมเสร็จสิ้นภายใน 1Q67

คงแนะนำลงทุนเท่าตลาดสำหรับกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย เลือกหุ้นที่มีพอร์ตธุรกิจ กระจายตัว การเงินแข็งแรง และ Div Yield เกิน 5% ต่อปี ได้แก่ AP (FV@B16.00), LH (FV@B10.00) และ SPALI (FV@B27.30)

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย