ตลาดหุ้นบ้านเราวานนี้มีมูลค่าการซื้อขายต่ำเพียง 2.19 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือ เป็นภาวะปกติของตลาดหุ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ที่มีตลาดหุ้น 163 ประเทศ ทั่วโลกปิดทำการ เชื่อว่าเดือน ม.ค.67 มูลค่าการซื้อขายน่าจะกลับมาปกติ ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังนับตั้งแต่ตลาดหุ้นไทยเปิดดำเนินการ พบว่าเดือน ม.ค. จะมีมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุดของปี ส่วนปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน วานนี้มี การประกาศตัวเลขการส่งออกเดือน พ.ย.66 เติบโต 4.9% YoY ต่ำกว่าคาด (5.1%) และมียอดขาดดุลการค้า 2.4 พันล้าน USD แต่ยังหวังว่า ดุลบัญชี เดินสะพัดจะเป็นบวกจากการที่เป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของบ้านเรา ภาวะ ดังกล่าวเมื่อบวกกับการที่สหรัฐฯ กำลังเดินหน้าสู่การปรับลดดอกเบี้ย และ ญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มใช้นโยบายการเงินเข้มงวด น่าจะทำให้เงินบาทยังอยู่ในภาวะแข็ง ค่า ซึ่งดีต่อทิศทางFund Flow ที่มีโอกาสไหลกลับมาตลาดหุ้นบ้านเรามากขึ้น
ประเมินว่า SET Index ยังมีแรงที่จะขยับตัวขึ้นต่อในช่วง สัปดาห์สุดท้ายของปี 2566 ประเมินปลายทางอยู่ที่ 1415-1420 จุด ส่วนวันนี้อยู่ในกรอบ 1400 - 1415 จุด หุ้น Top Pick เลือก CRC, SIRI และ MAJOR
BOJ ส่งสัญญาณดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นอาจกดดัน ให้ Dollar อ่อนค่า
แม้อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นเดือนล่าสุดจะอยู่ที่ +2.8%YoY ซึ่งถือว่าไม่ได้อยู่ในระดับสูง มากนัก แต่วานนี้ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่ามีความเป็นไปได้มาก ขึ้นที่ BOJ จะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2%(ต่ำกว่าระดับปัจจุบัน) โดยจะจับตา พัฒนาการทางเศรษฐกิจในประเทศ รวมทั้งจับตาค่าจ้างและอัตราเงินเฟ้ออย่าง ใกล้ชิด โดยหาก BOJ พบว่าวงจรของค่าจ้างและเงินเฟ้ออยู่ในช่วงขาขึ้น ก็มีความ เป็นไปได้ที่ BOJ จะเริ่มพิจารณาเรื่องการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน โดยนัก เศรษฐศาสตร์กว่า 80% ในโพลสำรวจ Routers คาดว่า BOJ จะยุติการใช้นโยบาย อัตราดอกเบี้ยติดลบในปีหน้า และมีโอกาสสูงในช่วง 1Q67 ที่อัตราดอกเบี้ยจะกลับมา อยู่ในแดนบวก(>0%)
ขณะที่ทางฝั่งสหรัฐฯ มีโอกาสสูงที่จะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยในปีหน้า โดยเจ้าหน้าที่ Fed ส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2567 (ครั้งละ 0.25% รวม 0.75%) แต่ ตลาดกลับมองว่า FED มีโอกาสที่จะปรับลดดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้ง สะท้อนผ่าน FED WATCH TOOL ให้น้ำหนักสูงถึง 70% ที่อาจเห็น FED เริ่มลดดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. 67 และมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยสูงถึง 5 ครั้ง ในปี 2567 (ดอกเบี้ยปลายปีอยู่ที่ 4.0%)
ดังนั้นการที่ FED มีโอกาสทยอยลดดอกเบี้ยในปีหน้า บวกกับค่าเงินเยนเป็น องค์ประกอบราว 14% ของ DOllar index ทำให้มีโอกาสสูงที่จะเห็นการอ่อนค่าของ Dollar index และเห็นเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นในระยะถัดไป ซึ่งหาก Dollar index อ่อนค่าจริง คาดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง และลุ้น ให้ Flow ต่างชาติไหลเข้า SET Index และดันดัชนีปรับตัวขึ้นต่อได้
สรุป BOJ ส่งสัญญาณดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น สวนทาง FED ที่ส่ง สัญญาณดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงในปีหน้า อาจกดดันให้ DOLLAR
อ่อนค่าลงชัดเจนขึ้น และหนุนให้ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง คาดมีโอกาสทดสอบ แนว 34-34.5 บาท/เหรียญฯ และหนุนให้ FLow ต่างชาติไหลเข้า SET Index ระยะถัดไป โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index ที่ระดับ 1400-1415 จุด
ส่งออก พ.ย. +4.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือนติด
วานนี้กระทรวงพาณิชย์เผยยอดการส่งออกไทยเดือน พ.ย. ขยายตัว (+4.9%YoY) โต ต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากภาคเอกชนค่อนข้างแข็งแกร่ง ทำให้การส่งออก 11M66 อยู่ที่ -1.5%AoA (หดตัวน้อยลงเมื่อเทียบกับ 10M66 ที่ -2.7%) ซึ่งถือว่าจติด ลบน้อยที่สุดในกลุ่มประเทศผู้ส่งออก อาทิ ไต้หวัน (-11.5%), เกาหลีใต้ (-8.5%), เวียดนาม (-5.9%) เป็นต้น
กลุ่มสินค้าส่งออกหลักๆ ที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกษตร (เช่น ยางพารา, ข้าว) สินค้า อุตสาหกรรมเกษตร (ผักแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง อาหารกระป๋อง) และสินค้า อุตสาหกรรม (เช่น เหล็ก หม้อแปลงไฟฟ้า อุปกรณ์และชิ้นส่วนฯ) กระทรวงพาณิชย์ คาดกรณีที่การโจมตีทะเลแดงเยือเยื้อ อาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกในปีหน้า
สำหรับรายชื่อสินค้าเดือน พ.ย. ที่ขยายตัวได้ดีทั้ง YoY, MoM และมีความเกี่ยวข้อง กับธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อาทิ ยางราคา (STA NER), ทูน่ากระป๋อง (TU), อาหารสัตว์เลี้ยง (ASIAN AAI) เป็นต้น
ส่วนยอดการนำเข้าไทยเดือน พ.ย. ขยายตัวเด่น (+10.1%YoY) ส่งผลให้ขาดดุล 2.4 พันล้านเหรียญฯ อย่างไรก็ตาม หลักๆ เห็นการนำเข้าสินค้าทุนสูงถึง 17.9% คาด
รองรับการผลิตและการบริโภคที่มีทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคต อีกทั้งในไตรมาส 4 เป็นช่วง High Season ของภาคการท่องเที่ยว จึงพอมีความหวังว่าดุลบริการจะเกินดุลต่อได้ และน่าจะเป็นหนึ่งแรงหนุนที่ช่วยให้ดุลบัญชีเดินสะพัดบ้านเราดูดีขึ้น
สรุป ยอดการส่งออกบ้านเราเดือน พ.ย. ยังคงอยู่ในโซนขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน ติดต่อกัน และเมื่อนับตั้งแต่ต้นปีการส่งออกไทยถือว่าหดตัวน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับแถบ เอเชีย ขณะที่ยอดการนำเข้าโตสูงเช่นกัน ทำให้ดุลการค้าขาดดุลค่อนข้างหนัก อย่างไร ก็ตาม ในไตรมาส 4 เป็นช่วง High Season ของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งน่าจะเป็นหนึ่งแรง หนุนที่ช่วยให้ดุลบัญชีเดินสะพัดบ้านเราดูดีขึ้น จากความหวังดุลบริการเกินดุล
ซื้อดักหุ้น Beta สูง กำไร 2567 ดี รอ SET ฟื้นเด่นหลังปีใหม่
วานนี้ SET Index มูลค่าซื้อขายเบาบางสุดของปี เหลือเพียง 2.8 หมื่นล้านบาท และ มูลค่าซื้อขายหุ้นไทยมีโอกาสเบาบางต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ เพราะเป็นช่วงเทศกาลหยุด ยาวคริสต์มาสต่อเนื่องปีใหม่ โดยวานนี้มีตลาดหุ้นที่หยุดทำการซื้อขายสูงถึง 163 ประเทศ ขณะที่วันนี้จะมีตลาดหุ้นที่หยุดทำการซื้อขายสูงลดลงเหลือ 94 ประเทศ
ซึ่งเป็นภาวะปกติ เพราะหากดูข้อมูลย้อนหลัง 49 ปี พบว่า เดือน ธ.ค. มักมีมูลค่าซื้อ ขายเบาบางเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากเดือน เม.ย. (วันหยุดเยอะกว่า คือ สงกรานต์) โดยมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ 3.3 แสนล้านบาท เท่านั้น
อย่างไรก็ตามมูลค่าซื้อขายมีโอกาสกลับมาคึกคักขึ้นในต้นปี 2567 ซึ่งมูลค่าซื้อขาย เดือน ม.ค. มักจะสูงสุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆ พร้อมกับคาดหวังเหตุการณ์ January effectจึงทำให้ เดือน ม.ค. มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ 4.3 แสนล้านบาท
ด้วยการคาดหมายว่า SET index จะมีมูลค่าซื้อขายที่คึกคัก เฉกเช่นสถิติในอดีต ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุน จึงต้องทยอยสะสมหุ้นไทยในช่วงก่อนสิ้นปี โดยการซื้อดักหุ้น ที่มีBETA สูง(>1), กำไร 2567 เติบโต(EPS Growth24F >0%) รอ SET ฟื้นเด่นหลัง ปีใหม่ อย่าง JMT, SAWAD, STEC, GPSC, IVL, BGRIM, COM7, DOHOME, GULF, PLANB, CPAXT, CRC, CPALL (BK:CPALL), MINT
สรุป แม้มูลค่าซื้อขายในช่วงนี้ จะเบาบางลง ซึ่งเป็นภาวะปกติที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนสังเกตให้ดี จะเห็นว่าช่วง ม.ค. ของทุกปี จะเป็นช่วงที่ SET index Outperform กว่าช่วงอื่นของปี ดังนั้นกลยุทธ์เน้นลงทุนหุ้น BETA สูง EPS GROWTH67F เติบโตเด่น ในช่วงนี้ เพื่อรับผลตอบแทนที่ดีในเดือนหน้า ชอบ JMT SAWAD GPSC IVL BGRIM DOHOME CRC MINT
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities