การที่ตลาดหุ้นสหรัฐปรับฐานแรงเมื่อคืน อาจส่ง SENTIMENT เชิงลบผ่านมายัง ตลาดหุ้นไทยได้บ้าง แต่เชื่อว่าน่าจะมีผลเพียงทำให้เกิดการปรับฐานเล็กน้อย ทั้งนี้ เป็นเพราะ การปรับฐานของตลาดสหรัฐฯ ยังอยู่ภายใต้สมมุติฐานเชิงมหภาคที่ไม่ เปลี่ยนแปลงกล่าวคือดอกเบี้ยยังอยู่ในวัฎจักรขาลง และการชะลอของเศรษฐกิจที่ จะเกิดขึ้นเป็นแบบ SOFT LANDING สำหรับบ้านเราภาพรวมทั้ง กำไรบริษัทจด ทะเบียน และภาพรวมเศรษฐกิจอยู่ในช่วงการฟื้นตัว ส่วนดอกเบี้ยน่าจะทรงตัว ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ขณะที่ VALUATION ของตลาดยังถูก ซึ่งช่วยลดผลกระทบ จาก SENTIMENTเชิงลบได้ สำหรับ THEME การลงทุนยังเน้นไปที่ 2 จุด คือ หุ้น ที่มีESG RATING ระดับสูง ซึ่งเป็นเป้าหมายการซื้อของนักลงทุนสถาบัน และหุ้น ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการ EASY E – RECEIPT
การปรับฐานของ SET INDEX อาจเกิดขึ้นได้ผลจาก SENTIMENTของตลาดหุ้น สหรัฐ แต่น่าจะจำกัด วันนี้ประเมินกรอบที่ 1390 –1408 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BEM, CRC และ MAJOR
แนวโน้มดอกเบี้ยยังไม่เปลี่ยนทิศ หลังเงินเฟ้อลดลงเรื่อยๆ
วานนี้ BOND YIELD สหรัฐฯ 10 ปี ปรับตัวลดลงมาอีก 8 BPS. หลุด 3.9% ซึ่งเป็น ระดับต่ำสุดนรอบ 5 เดือน และหากนับตั้งแต่ต้นเดือน ธ.ค. ร่วงลงมาแล้วกว่า 48 BPS. (เทียบเท่ากับการปรับลดดอกเบี้ยราว 1-2 ครั้ง) ส่วนหนึ่งสะท้อนถึงความคาดหวังว่า FED จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้า ขณะที่ FED WATCH TOOL มองว่าจะเห็น ดอกเบี้ยขาลงนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 67 เป็นต้นไป
ระยะถัดไปธนาคารกลางหลายแห่งมีโอกาสดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมาก ขึ้น หลังทิศทางเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากสัญญาณตัวเลข เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ อาทิ
• จีน :วานนี้PBOC มีมติคงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 1 ปี และ 5 ปี ตามคาด หลังเงินเฟ้อล่าสุดเดือน พ.ย. ยังคงติดลบต่อเนื่องที่ -0.5%YOY
• อังกฤษ : เงินเฟ้อเดือน พ.ย. +3.9%YOY ซึ่งต่ำกว่าตลาดคาดที่ +4.3%YOY และปรับตัวลดลงมากจากเดือนก่อนที่ +4.6%YOY โดยการชะลอตัวหลักๆ มาจาก TRANSPORT, RECREATION AND CULTURE และ FOOD
• สหรัฐฯ :รอติดตามการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อ PCE ในวันพรุ่งนี้ เวลา 20.30 น. โดย CONSENSUS คาดว่า เดือน พ.ย. จะอยู่ที่ +2.8%YOY ซึ่งปรับตัว ลดลงจากเดือนก่อนที่ +3.0%YOY
สรุป แนวโน้มเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง ช่วยหนุนให้ทิศทางดอกเบี้ยไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก เดิม โดยในปี 2567 อาจเห็น FED เข้าสู่วงจะดอกเบี้ยขาลงได้ สะท้อนจากมุมมองตลาด ที่ BOND YIELD 10 ปี สหรัฐฯ ร่วงต่อเนื่อง
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทยอยออกมาไม่พัก หนุนหุ้นไทย OUTPERFORM ระยะถัดไป
วานนี้ รมช.คลัง เปิดเผยว่าโครงการ EASY E-RECEIPT เป็นโครงการให้บุคคล ธรรมดา สามารถหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าและบริการ ไม่เกิน 5 หมื่นบาท(1 ม.ค.-15 ก.พ.67) โดยต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าเพิ่มเงิน หมุนเวียนในระบบ 70,000 ล้านบาท หรือกระตุ้น GDP ปี 2567 ให้เพิ่มขึ้นอีก 0.18% ทั้งนี้ผู้ที่ใช้มาตรการ EASY E-RECEIPT แล้ว หากเข้าเงื่อนไขของเกณฑ์ DIGITAL WALLET ก็ยังสามารถใช้โครงการดังกล่าวได้ด้วย ส่วนสินค้าหรือค่าบริการที่ไม่ สามารถหักลดหย่อนได้ คือ ค่าซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ ค่าน้ำมัน และก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการโทรศัพท์ และค่าบริการอินเทอร์เน็ต ค่าเบี้ย ประกันวินาศภัย เป็นต้น
ขณะที่หากพิจารณาในมุมของกลุ่มอุตสาหกรรม ที่จะได้ประโยชน์จากนโยบาย ดังกล่าว คือ
• กลุ่มท่องเที่ยว : CENTEL, ERW, MINT
• กลุ่มอุปโภค/บริโภค : CPN, CPAXT, HMPRO, ADVANC, COM7, CRC CPALL (BK:CPALL), BJC, CBG, OSP, JMART, COM7, DCC, M, AU, SCGP
• กลุ่มคาดหวังเศรษฐกิจฟื้น : KBANK (BK:KBANK), BBL, TISCO, TIDLOR, MTC, SAWAD, KTC, AEONTS, BAM
ในส่วนของนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ล่าสุดบอร์ดไตรภาคี ยึดมติเดิม คือ ปรับ ค่าจ้างขั้นต่ำ 2-16 บาท พร้อมเสนอเข้าที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า(26 ธ.ค.66) ลุ้นมี ผลตั้งแต่ ม.ค.67 หลังจากนั้นอาจมีการปรับขึ้นค่าจ้างอีกครั้งช่วงก่อนหรือหลังวัน แรงงานปี2567(1 พ.ค.67) แต่ต้องดูความพร้อมของทุกฝ่ายด้วย ซึ่งอาจพิจารณา ปรับขึ้น ตามประเภทของกิจการโดยการปรับสูตรการคำนวณค่าจ้างครั้งนี้ถือเป็น การปรับในรอบ 6 ปี และอาจปรับขึ้นไปได้ถึง 400 บาท
โดยฝ่ายวิจัยฯคาดว่า กลุ่มอุตสาหกรรม ที่จะได้รับผลกระทบ หากนโยบายดังกล่าว เกิดขึ้นจริง คือ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง, กลุ่มนิคม, กลุ่มอสังหาฯ, กลุ่มท่องเที่ยว/ เครื่องบิน, กลุ่มค้าปลีก เป็นต้น อย่างไรก็ตามการที่บอร์ดไตรภาคี ยึดมติเดิม ทำให้ แรงกดดันที่ส่งมาถึงกลุ่มอุตสาหกรรมเบาบางลง เนื่องจากตอบรับตัวเลขดังกล่าวไป ระดับหนึ่งแล้ว ทำให้ช่วงสั้นมีโอกาสสูงที่จะสามารถเก็งกำไรได้ ในหุ้นที่มีพื้นฐาน แข็งแกร่ง ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง อัตราปรับขึ้นหรือไม
สรุป ประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่จะเข้า ครม. ธ.ค.66 หากเกิดขึ้นจริง คาดเกิดผล กระทบต่อหุ้นกลุ่มที่เสียประโยชน์น้อยลง เนื่องจากรับรู้ไปมากแล้ว ถือเป็นโอกาสใน การสะสมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง ขณะที่นโยบาย EASY-RECEIPT รมช.คลังคาดว่าจะ เพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบ 70,000 ล้านบาท หรือกระตุ้น GDP ปี 2567 ให้เพิ่มขึ้นอีก 0.18% โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดได้ประโยชน์หลักๆ คือ กลุ่มอุปโภค-บริโภค อาทิ CPN CPALL CRC ADVANC JMART SCGP เป็นต้น
หุ้นไทยขึ้นแบบกระจายตัวได้ดี...หุ้นอิง ESG เด่นขึ้นเรื่อยๆ
วานนี้หุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.47 จุด มายืนเหนือ 1400 จุด พร้อมกับมูลค่าซื้อขายที่ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท (สูงสุดในเดือนนี้) อีกทั้ง SET ยังบวกต่อเนื่องมาแล้ว 5 วันติดต่อกัน 43 จุด ซึ่งหากวิเคราะห์ลงไปเป็นรายหุ้นใน SET100 พบว่า มีหุ้นใน SET100 ที่บวก 4 ใน 5 วัน และบวก 5 วันติด มากถึง 59 ใน 100 บริษัท และมีถึง 40 บริษัท ที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาด แสดงให้เห็นว่าภาพรวมของหุ้นไทยในช่วงนี้เป็นการ ขึ้นที่กระจายตัวได้ดี ดูแข็งแรงขึ้นผิดกลับช่วงก่อนหน้าที่เป็นการสลับกลุ่มการซื้อขาย หรือ SECTOR ROTATION
ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่า ในช่วงที่เหลือของปี SET INDEX ยังมีโอกาสเดินหน้าต่อ แนะนำเก็งกำไรหุ้นเด่น 2 ธีม
• หุ้นรับกระแส EASY E-RECEIPT-> CPALL CRC CENTEL CPN
• หุ้นแรงกดดันเรื่องค่าแรงขั้นต่ำผ่อนคลายลงชั่วคราว -> TU, CENTEL, CPALL , STEC, CK
แนะนำทยอยสะสมหุ้นให้ความสำคัญกับ ESG ที่แนวโน้มกำไรเติบโตเด่น หรือ ปันผลสูง
• หุ้น ESG RATING สูง กำไรเติบโตเด่น -> CK, GULF, CRC, BEM, CPALL, MINT
• หุ้น ESG RATING สูง ปันผลสูง -> SIRI, BRI, TISCO, ORI, SPALI, SC, LH, INTUCH, AP, TTCL, MAJOR, BBL, ADVANC
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities