รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ราคาทองคำผันผวนหนักและปรับตัวลงต่อเนื่องมากกว่าที่เราคาดไว้

เผยแพร่ 12/12/2566 09:00

Economic Highlight

ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ได้แก่ ผลการประชุมของบรรดาธนาคารกลางหลัก ทั้ง เฟด ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) รวมถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ และรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก รวมถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน

 

**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ.

FX Highlight

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลง กดดันโดยแรงขายสินทรัพย์ไทยโดยนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงการพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ และการย่อตัวลงของราคาทองคำ 
  • เราประเมินว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทยังคงมีอยู่ โดยมีโอกาสที่เงินบาทอาจผันผวนอ่อนค่าทดสอบแนวต้าน 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และผลการประชุมเฟด
  • หากเฟด “ขึ้น” ดอกเบี้ย สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ หรือ เฟดอาจคงดอกเบี้ยตามคาด แต่ยังคงส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อาทิ คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายเฟด (Dot Plot) ใหม่ อาจยังคงสะท้อนการลดดอกเบี้ยเพียง -50bps ในปีหน้า ไม่ต่างจาก Dot Plot เดิม ในกรณีนี้ เราคาดว่า เงินบาทมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลงทดสอบโซนแนวต้านไม่ยาก
  • ในทางกลับกัน หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ แย่กว่าคาด และสะท้อนแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจมากขึ้น ส่วนเฟดก็ “คง” อัตราดอกเบี้ยตามคาด และคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ รวมถึง คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายใหม่ (Dot Plot) ใกล้เคียงกับสิ่งที่ตลาดกำลังประเมินไว้ เรามองว่า ในกรณีนี้นั้น เงินบาทมีโอกาสผันผวนแข็งค่าขึ้น แต่ก็อาจจะแค่กลับไปทดสอบโซนแนวรับ 35.20-35.30 บาทต่อดอลลาร์
  • ทั้งนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำ โดยราคาทองคำได้ย่อตัวลงใกล้โซนแนวรับทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะเข้าซื้อ ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวจะเป็นปัจจัยกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้
  • ขณะที่ หากราคาทองคำสามารถรีบาวด์ขึ้นได้บ้าง (อย่างน้อย 20 ดอลลาร์ต่อออนซ์) เราคาดว่า ผู้เล่นในตลาดอาจทยอยขายทำกำไรทองคำ ซึ่งจะช่วยชะลอการอ่อนค่าลงของเงินบาทได้
  • นอกจากปัจจัยแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ควรระวังความผันผวนจากเงินหยวนจีน (CNY) ที่จะอ่อนไหวไปตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน อย่าง ยอดค้าปลีก (Retail Sales) 
  • ส่วนฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ก็ยังมีความผันผวน ซึ่งจะขึ้นกับบรรยากาศในฝั่งตลาดการเงินโลก
  • ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า เงินบาทมีความเสี่ยงที่อาจผันผวนอ่อนค่าลงได้ 
  • อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ชี้ว่า การอ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมา อาจเริ่มแผ่วลงบ้าง และเริ่มเห็นสัญญาณการเกิด Bearish Divergence ในส่วนของ RSI โดยต้องจับตาแนวต้านสำคัญโซน 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่  โซนแนวรับสำคัญ ยังคงเป็นโซน 35.20-35.30 บาทต่อดอลลาร์ 

Gold Highlight

  • ราคาทองคำผันผวนหนักและปรับตัวลงต่อเนื่อง มากกว่าที่เราคาดไว้ ตามการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ  
  • สัปดาห์นี้ มุมมองผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดและบรรยากาศในตลาดการเงิน ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางราคาทองคำ
  • ราคาทองคำมีโอกาสผันผวนในกรอบกว้าง โดยมีโอกาสปรับตัวลดลงทดสอบโซนแนวรับ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด และผลการประชุมเฟดยังคงทำให้ผู้เล่นในตลาดกังวลว่า เฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานกว่าที่ตลาดกำลังคาดการณ์อยู่
  • ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ อย่าง ดัชนี S&P500 ได้ปรับตัวขึ้นใกล้โซนแนวต้านสำคัญ จะต้องจับตาใกล้ชิดว่า ดัชนี S&P500 จะย่อตัวลง หรือ ปรับตัวขึ้นต่อชัดเจน โดยภาพดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงิน และทิศทางราคาทองคำได้
  • ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า โมเมนตัมการปรับตัวลดลงของราคาทองคำยังมีอยู่ หลังสัญญาณจาก RSI และMACD ยังคง Bearish 
  • สำหรับ สัญญาณจาก Time Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1 ชี้ว่า ราคาทองคำมีโอกาสรีบาวด์ขึ้นได้บ้าง โดยเริ่มเห็นสัญญาณ Divergence บน RSI และ Bullish MACD ใน TF H1
  • หลังจากที่ราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะ Long ทองคำ ใกล้โซนแนวรับ 1,985-1,990 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยอาจตั้ง Stop loss สำหรับ สถานะ Long ราว -20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าการรีบาวด์แถวโซนแนวต้าน 2,040-2,050 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ความคิดเห็นล่าสุด

ขอบคุณมากครับ​ ข้อมูลดีมากๆครับอาจารย์
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย