ลุ้นผลการประชุมบรรดาธนาคารกลางหลัก พร้อมจับตาคาดการณ์ดอกเบี้ยเฟด (Dot Plot) ใหม่

เผยแพร่ 12/12/2566 08:49
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าต่อเนื่อง ตามการปรับตัวขึ้นของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด
  • ระวังความผันผวน ในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุมบรรดาธนาคารกลางหลัก (เฟด, BOE และ ECB) และรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ จากฝั่งสหรัฐฯ ยุโรป รวมถึงจีน
  • เงินดอลลาร์มีโอกาสกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดหรือเฟดส่งสัญญาณพร้อมคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานกว่าที่ตลาดกำลังคาดการณ์อยู่ อนึ่ง หากเฟดเซอร์ไพรส์ตลาดด้วยการขึ้นดอกเบี้ย ก็อาจทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเร็วและแรง ในส่วนของค่าเงินบาท โมเมนตัมการอ่อนค่ายังคงอยู่ ทำให้เงินบาทอาจอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้าน 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ ต้องจับตาทิศทางราคาทองคำ เนื่องจาก โฟลว์ธุรกรรมทองคำยังคงส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทได้พอสมควร โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ราคาทองคำได้ย่อตัวลงใกล้โซนแนวรับ นอกจากนี้ ค่าเงินหยวนจีนก็อาจส่งผลต่อทิศทางสกุลเงินเอเชียได้ ซึ่งจะขึ้นกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีนว่าจะสะท้อนภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ดีขึ้นหรือไม่
  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    35.30-36.00
    บาท/ดอลลาร์
  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯประเด็นสำคัญที่อาจสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินได้ คือ ผลการประชุมเฟด และรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการปรับมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดของผู้เล่นในตลาด โดยเรามองว่า เฟดอาจ “คง” อัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หลังอัตราเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มชะลอตัวลงมากขึ้นและมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เพิ่มโอกาสในการกลับสู่เป้าหมาย 2% ของเฟด ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็มีแนวโน้มชะลอลงเช่นกัน อย่างไรก็ดี เรามองว่า คาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Dot Plot) ใหม่ของเฟด และถ้อยแถลงของประธานเฟดอาจยังคงส่งสัญญาณว่า เฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน หรือ เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้ เพื่อให้มั่นใจว่า เฟดจะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อได้จริง โดย Dot Plot ใหม่อาจยังคงย้ำจุดยืนว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยเพียง -50bps ในปีหน้า ซึ่งน้อยกว่าที่ ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่กำลังคาดการณ์ว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้กว่า -100bps โดยภาพดังกล่าวอาจยิ่งหนุนให้ เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ  อย่าง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ (S&P Manufacturing & Services PMIs) ในเดือนธันวาคม รวมถึงรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนพฤศจิกายน โดยหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งอยู่ ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมาประเมินว่า เฟดมีโอกาสคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้น รวมถึงเพิ่มโอกาสที่เฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งภาพดังกล่าวจะยิ่งส่งผลให้ ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น กดดันทั้งราคาทองคำและค่าเงินบาท (รวมถึงสกุลเงินอื่นๆ ได้)
    • ฝั่งยุโรปเราประเมินว่า แนวโน้มการชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ จะส่งผลให้ ทั้งธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 4.00% (Deposit Facility Rate) และ 5.25% ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เราคาดว่า ทั้ง ECB และ BOE อาจยังคงส่งสัญญาณว่า พร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้ หากอัตราเงินเฟ้อกลับมาเร่งตัวขึ้น อย่างไรก็ดี หาก ECB และ BOE ส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น หรือ แสดงความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ก็อาจกดดันให้สกุลเงินฝั่งยุโรป อย่าง เงินยูโร (EUR) และเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) อ่อนค่าลงได้บ้าง และนอกเหนือจากผลการประชุมของทั้ง ECB กับ BOE ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของอังกฤษ รวมถึงยูโรโซน
    • ฝั่งเอเชียไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างคาดว่า เศรษฐกิจจีนจะส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน โดยยอดค้าปลีกอาจโตกว่า +12%y/y (ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำในปีก่อนหน้า) ส่วนยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ก็อาจโตราว +5%y/y นอกจากนี้ ตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการเศรษฐกิจญี่ปุ่นผ่านรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ ซึ่งหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่นออกมาดีกว่าคาด ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงคาดหวังว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะสามารถใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้ในปีหน้า ทั้งนี้ ตลาดประเมินว่า แนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ จะทำให้ทั้งธนาคารกลางไต้หวัน (CBC) และธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.875% และ 6.50% ตามลำดับ

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย