วันนี้บ้านเราจะมีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือน พ.ย.66 ซึ่ง CONSENSUS คาดการณ์ที่ -0.25% YOY และ -0.1% MOM ส่วนทิศทางเงินเฟ้อในระยะถัดไป เรายังมองภาพว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบนโยบายต่อเนื่อง โดยภายใต้ สมมุติฐานที่ไม่มีการต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพต่างๆ ของรัฐบาล อัตรา เงินเฟ้อช่วง 1Q67 ก็ไม่น่าจะเกิน 1% (ดูรายละเอียดใน MARKET TALK 6 ธ.ค. 66) ภาวะดังกล่าวเมื่อนำไปประกอบกับ ราคาน้ำมันที่ปรับลดลง และ BOND YIELD ที่ปรับลดลง ทั้งในสหรัฐ และ บ้านเรา ถือเป็นการย้ำให้เห็นสัญาณของ อัตราดอกเบี้ยขาลง ส่วนในมุมของ SET INDEX แม้VALUATION จะถูก แต่ด้วย มูลค่าการซื้อขายเบาบางทำให้การปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นเป็นไปด้วยความ ยากลำบาก ทั้งนี้มูลค่าการซื้อขายเหมาะสมที่จะทำให้SET INDEX สามารถปรับ ขึ้นไปได้ไม่ควรต่ำกว่า 4.9 – 5 หมื่นล้านบาท/วัน ซึ่งเทียบเท่า TURNOVER ประมาณ 70%
ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน ถือว่ามีน้ำหนักในทางบวก แต่การที่ปริมาณการซื้อ ขายยังต่ำกว่า 4.9 – 5 หมื่นล้านบาท ทำให้การปรับขึ้นของ SET INDEX ดูยาก ประเมินกรอบ 1382 –1395 จุด หุ้น TOP PICK เลือก GULF, TISCO และ WHA
แรงกดดันเงินเฟ้อสงบ ช่วยสยบดอกเบี้ยขาขึ้น
การคงดอกเบี้ยไทยไว้ที่ 2.5% ในการประชุมรอบเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรก ของปีที่ กนง. ไม่ขึ้นดอกเบี้ย หลังดอกเบี้ยขึ้นมาแล้ว 5 ครั้งติดต่อกันจาก 1.25% เป็น 2.5% ซึ่งถือว่าการดำเนินนโยบายการเงินในบ้านเราผ่านคลายมากขึ้น ขณะที่ระยะ ถัดไปมีโอกาสที่วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นจะจบลงแล้ว และเชื่อว่าจะเห็นการปรับลด ดอกเบี้ยลงในปี 2567 สะท้อนได้จากหลายสัญญาณ ดังนี้
• เงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ ได้ลองทำภาพจำลอง โดย กำหนดให้ CPI ปรับขึ้นไปเหมือนกับช่วงที่ไม่มีมาตรการหนุน และราคาน้ำมัน สูงกว่าปัจจุบัน พบว่า อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในช่วง 0.33 – 1.14% ขณะที่เช้านี้ เวลา 10.00 น. รอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อในเดือน พ.ย. โดย CONSENSUS คาดว่าจะอยู่ที่ -0.25%YOY
• รัฐบาลอาจขยายระยะเวลามาตรการลดค่าครองชีพ โดยล่าสุดกระทรวงพลังงาน มีแนวคิดที่จะยืดเวลาตรึงราคาน้ำมันดีเซล 29.94 บาท ไปอีก 1-2 เดือน (มาตรการจะสิ้นสุด 31 ธ.ค.66) พร้อมกับหาแนวทางไม่ให้ค่าไฟขึ้นถึง 4.68 บาท/หน่วย
• ราคาน้ำมันร่วงลงแรง โดยวานนี้ราคานน้ำมันดิบ WTI ดิ่งกว่า 4% หลุด 70 ดอลลาร์/บาเรล ทำจุดต่ำสุดในรอบ 6 เดือน จากกังวล OVERSUPPLY ขณะที่เศรษฐกิจจีนที่ฟื้นช้ากว่าคาดอาจกดดันให้ DEMAND ชะลอตัว
• BOND YIELD 10 ปีของไทยปรับตัวลดลงเร็ว โดยล่าสุดเหลือเพียง 2.88% ทำให้ผลต่างระหว่าง BOND YIELD 10 ปี – POLICY RATE ของไทย อยู่ที่ 0.38% ซึ่งเข้าใกล้ศูนย์มากขึ้นเรื่อยๆ และอาจเห็นภาพของการปรับลด ดอกเบี้ยได้ในระยะถัดไป
สรุป วัฏจักรดอกเบี้ยไทยน่าจะะจบลงแล้ว และเชื่อว่าจะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยลงในปี 2567 สะท้อนได้จากหลายสัญญาณ อาทิ เงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ รัฐบาล อาจขยายระยะเวลามาตรการลดค่าครองชีพ ราคาน้ำมันร่วงลงแรง บวกกับBOND YIELD 10 ปีของไทยปรับตัวลดลงเร็ว
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ในช่วง กนง. ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย อาทิ MTC, TIDLOR, THANI, ASK, AP, SPALI
ลุ้นมาตรการ EASY E-RECEIPT ผ่านมติ ครม.ช่วงที่เหลือของปี
แม้มาตรการEASY E-RECEIPT (E-REFUND เดิม) จะผ่านความเห็นชอบหลักการ จากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.66 แต่กระทรวงการคลังยัง ไม่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลรายละเอียดของมาตรการดังกล่าว เนื่องจากขอนำกลับมา ปรับรายละเอียดบางประเด็นเพิ่มเติม โดยรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการที่ได้นำเสนอ เข้าสู่ที่ประชุม ครม. ได้แก่ ค่าหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร (ทั้งรูปแบบปกติ และ อินเทอร์เน็ต), ค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ต้องมี E-TAX INVOICE & ERECEIPT ของกรมสรรพากร
ขณะที่สินค้าที่คาดว่าจะไม่สามารถนำมาใช้สิทธิได้ คือ
• ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
• ค่าซื้อยาสูบ
• ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
• ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
• ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต และค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลง การให้บริการระยะยาว ซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 ม.ค.67 หรือสิ้นสุดหลัง 15 ก.พ.67 แม้ว่าจะจ่ายค่าบริการระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-15 ก.พ.ก็ตาม
• ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
ส่วนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่น ๆ น่าจะเหมือนเดิมที่ตลาดทราบ ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ คาดว่านโยบายดังกล่าวอาจเป็นคลื่นลูกใหม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้โตเกิน 5% ขณะที่เม็ดเงินดำเนินโครงการนี้คาดว่าจะทำให้ทางกรมสรรพากรสูญเสียรายได้ราว 1-2 หมื่นล้านบาท ขณะที่ประสิทธิภาพของโครงการ E-REFUND คาดว่าจะช่วยเกิด วงเงินเดินสะพัดในระบบเศรษฐกิจราว 1-2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP น่าจะอยู่ที่ราว 0.54% - 1.09% ซึ่งมีแนวโน้มสูงกว่าช่วง 2 ปี ผ่านมา เนื่องจาก ช่วงเวลาดังกล่าวมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกินอื่นๆ ร่วมด้วย
โดยฝ่ายวิจัยฯคาดว่า กลุ่มอุตสาหกรรม ที่จะได้ประโยชน์หากนโยบายดังกล่าวหาก เกิดขึ้นจริง คือ
• กลุ่มท่องเที่ยว : CENTEL, ERW, MINT
• กลุ่มบรรจุภัณฑ์ : SCGP
• กลุ่มอุปโภค/บริโภค : CPN, CPAXT, HMPRO, ADVANC, COM7, CRC
CPALL (BK:CPALL), BJC, CBG, OSP, JMART, COM7, DCC, MINT, M, AU
• กลุ่มคาดหวังเศรษฐกิจฟื้น : KBANK (BK:KBANK), BBL, TISCO, TIDLOR, MTC,
SAWAD, KTC, AEONTS
สรุป ประเด็นนโยบาย EASY E-RECEIPT คาดรู้ความคืบหน้า หลังการประชุม ครม. ก่อนสิ้นปีนี้ คาดเป็นอีกหนึ่งนโยบายหลักที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตสู่ระดับ 5% และ หนุนให้ SET INDEX ปรับตัวขึ้นต่อได้ในระยะกลาง-ยาว ส่วนหุ้นที่คาดได้ประโยชน์และ ฝ่ายวิจัยฯชื่นชอบ คือ CENTEL MINT SCGP CPN CRC CPALL OSP TISCO TIDLOR เป็นต้น
แนะนำเก็งกำไรหุ้นเล็ก หุ้นมีปัจจัยหนุน ช่วงตลาดสภาพคล่อง น้อย แต่รอฟื้นตัว
ช่วง 2 วันที่ผ่านมา BOND YIELD 10 ปี ไทยเริ่มลดลง 10 BPS. จาก 2.98% เหลือ 2.88% ซึ่งตามกลไกจะช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นซื้อขายบน P/E ที่สูงขึ้น ถือเป็น SENTIMENT ที่ดีต่อตลาดหุ้น ส่วน SET INDEX ก็ทยอยฟื้นขึ้นมาในช่วง 2 วันทำ การที่ผ่านมา9 จุด อยู่ที่ 1389 จุด การขยับขึ้นของดัชนียังไม่ค่อยแรง ส่วนหนึ่งเพราะ SET INDEX ยังขาดสภาพคล่อง โดยปัจจุบันมีมูลค่าซื้อขายเพียง 3.8 หมื่นล้านบาท (TURNOVER 55.6%ต่อปี)
ภายใต้ตลาดหุ้นที่มีโอกาสฟื้น กับสภาพคล่องที่ยังน้อย ส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนเอน เอียงไปลงทุนในหุ้นขนาดเล็กก่อนในช่วงนี้ สะท้อนได้จากผลตอบแทนจากดัชนีหุ้นเล็ก OUTPERFORM กว่าดัชนีหุ้นใหญ่มากในวานนี้ คือ MAI +1.66%, SSET +1.59% แต่ SET50 +0.20%
อย่างไรก็ตามในระยะถัดไป ฝ่ายวิจัยฯ ยังคาดหวังเม็ดเงินใหม่จาก THAILAND ESG FUND ที่จะเข้ามา 1 –2 หมื่นล้านบาท หนุนตลาดฯ ให้ OUTPERFORM ในช่วงวันที่ 8 ธ.ค. 66 และเม็ดเงินจะเข้ามาชัดๆ ในสัปดาห์หน้าจนถึงสิ้นปีน่าจะช่วยหนุนตลาดหุ้น ไทยให้ฟื้นได้ดีขึ้น
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้แนะนำ
• หุ้น ANTI-COMMODITY อย่าง BGRIM, GULF, MINT,IVL, SCGP, AAV,
BA, BEM
• หุ้นได้ประโยชน์ BOND YIELD ลง TIDLOR, MTC, TIDLOR, SPALI, SIRI
• เก็งกำไรหุ้นขนาดเล็กเทคนิคสวย MBK, MC, SINGER, RS, UV เป็นต้น
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities