เตรียมรับมือความผันผวน จากรายงาน ยอดการจ้างงานสหรัฐฯ

เผยแพร่ 04/12/2566 11:52
อัพเดท 09/07/2566 17:32

เตรียมรับมือความผันผวน จากรายงาน ยอดการจ้างงานสหรัฐฯ

▪ สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงท้ายสัปดาห์ หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำและการอ่อนค่าลงบ้างของเงินดอลลาร์

▪ จับตาไฮไลท์สำคัญ อย่าง รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่อาจสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินได้ และรอติดตาม รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของไทย

▪ เงินดอลลาร์มีโอกาสกลับมาแข็งค่าขึ้น หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมออกมาดีกว่าคาดและชี้ว่าเฟดอาจไม่รีบลดดอกเบี้ยได้เร็วและลึกอย่างที่ตลาดกำลังคาดการณ์อยู่ ในส่วนของค่าเงินบาท แม้จะพลิกกลับมาแข็งค่าในช่วงท้ายสัปดาห์ก่อน ทว่าเงินบาทก็อาจติดอยู่ในโซนแนวรับ 34.50 บาทต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ควรระวังความเสี่ยงเงินบาทพลิกอ่อนค่าเร็วและแรง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด อนึ่ง แรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติอาจชะลอลงบ้าง ซึ่งอาจช่วยลดแรงกดดันฝั่งอ่อนค่า ส่วน โฟลว์ธุรกรรมทองคำยังคงส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทได้ ซึ่งต้องจับตาทิศทางราคาทองคำอย่างใกล้ชิด หลังล่าสุดราคาทองคำได้ปรับตัวขึ้นใกล้จุดสูงสุดใหม่ (All-time High) เปิดโอกาสให้ผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรได้

▪ มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
34.35-35.15 บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

▪ ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อย่าง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (ISM Services PMI) ในเดือนพฤศจิกายน รวมถึงรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ทั้ง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (Job Openings) รวมถึง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (U of Michigan Consumer Sentiment) โดยหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งอยู่ ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมาประเมินว่า เฟดมีโอกาสคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้น รวมถึงเพิ่มโอกาสที่เฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งภาพดังกล่าวจะส่งผลให้ ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น โดยเรามองว่า ควรระวังความเสี่ยงดังกล่าว เนื่องจาก หากพิจารณาจาก CME FedWatch Tool จะเห็นได้ว่า ผู้เล่นในตลาดได้หวังว่า เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยลงในการประชุมเดือนมีนาคม และอาจลดดอกเบี้ยลงได้ราว -125bps ในปีหน้า ซึ่งถือว่า เป็นมุมมองที่ยังไม่ได้สอดคล้องกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุดมากนัก

▪ ฝั่งยุโรป – ตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่านถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ BOE และ ECB โดยล่าสุดผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่ต่างมองว่า ทั้ง BOE และ ECB มีโอกาสลดดอกเบี้ยลงในปีหน้าไม่น้อยกว่า -75bps หลังรายงานอัตราเงินเฟ้อล่าสุดชะลอตัวลงชัดเจน นอกจากนี้ หากรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในสัปดาห์นี้ หดตัวลงต่อเนื่อง ก็อาจยิ่งย้ำมุมมองดังกล่าวของผู้เล่นในตลาด และอาจส่งผลกดดันให้สกุลเงินฝั่งยุโรป โดยเฉพาะเงินยูโร (EUR) อ่อนค่าลงได้บ้าง

▪ ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า แนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงการที่ค่าเงินเริ่มมีเสถียรภาพและแข็งค่าขึ้นจะหนุนให้ทั้งธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) และธนาคารกลางอินเดีย (RBI) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 4.35% และ 6.50% ตามลำดับ ส่วนในภาพเศรษฐกิจ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานยอดการค้าระหว่างประเทศของจีน (Exports & Imports)เพื่อประเมินแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน

▪ ฝั่งไทย – เราประเมินว่า ความไม่แน่นอนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ Digital Wallet อาจทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) เดือนพฤศจิกายน ย่อลงเล็กน้อยสู่ระดับ 60 จุด ทว่าโดยรวมดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวได้ดี และเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เดือนพฤศจิกายน ทรงตัวใกล้ระดับ 0.60% ทว่า มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ รวมถึงการย่อตัวลงของราคาพลังงาน และระดับฐานราคาสินค้าและบริการที่สูงในปีก่อนหน้า จะกดดันให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ยังคงอยู่ที่ระดับ -0.30% อย่างไรก็ดี เรามองว่า อัตราเงินเฟ้อที่ติดลบดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการปรับนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในระยะสั้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มทยอยปรับตัวสูงขึ้นและอยู่ในกรอบเป้าหมายของ ธปท.ทำให้ภายใต้การดำเนินนโยบายการเงินแบบ Outlook Dependent ธปท. อาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 2.50% ไปจนถึงปี 2025

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย