เศรษฐกิจ Q3 ขยายตัว +1.5%y/y ชะลอจาก Q2 ตามการหดตัวของการส่งออกและการใช้จ่ายรบ.

เผยแพร่ 20/11/2566 13:14

เศรษฐกิจไตรมาสสาม ขยายตัว +1.5%y/y

ชะลอลงจากไตรมาสสองตามการหดตัวของการส่งออกสินค้าและการใช้จ่ายของรัฐบาล

  • GDP Q3 2023

    Actual: +1.5%y/y Previous: +1.8%y/y 

    Consensus: +2.4%y/y

  • เศรษฐกิจไทยไตรมาสสามของปี 2023 ขยายตัว +1.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่โต +1.8% โดยมีปัจจัยกดดันจากการหดตัวลงต่อเนื่องของการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ รวมถึงการหดตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า ขณะที่ปัจจัยหนุนยังคงเป็นการฟื้นตัวของการส่งออกภาคการบริการ (การท่องเที่ยวจากต่างชาติ) ที่หนุนให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น
  • สศช. ประเมินอัตราการเติบโตเศรษฐกิจทั้งปี 2023 +2.5% และส่วนในปี 2024 อาจโตราว +2.7% ถึง +3.7% โดยเศรษฐกิจไทยจะได้แรงหนุนจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้า รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่ปัจจัยเสี่ยง คือ ความล่าช้าของการจัดทำงบประมาณของรัฐบาล ปัญหาหนี้ครัวเรือนและเอกชนที่อยู่ในระดับสูง ผลกระทบจากภาวะ El Nino และความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าคาด
  • แนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่อาจไม่ได้ขยายตัวได้ดีมากตามที่เราคาด รวมถึง แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่อาจเคลื่อนไหวในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำให้เราคงมองว่า ธปท. ได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแล้วที่ระดับ 2.50%

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Real GDP) ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2023 ขยายตัว +1.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแย่กว่าที่ตลาดคาดที่ +2.4%

  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสามของปี 2023 ขยายตัวเพียง +1.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยยังมีปัจจัยหนุนจากการบริโภคภาคเอกชน +8.1% การส่งออกบริการซึ่งส่วนใหญ่คือ การท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง +23.1% ส่วนการลงทุนก็กลับมาขยายตัวดีขึ้น หลังการลงทุนภาคเอกชนโต +3.1% เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การลงทุนของภาครัฐ รวมถึงการใช้จ่ายของภาครัฐยังคงหดตัวลงต่อเนื่องกว่า -2.6% และ -4.9% ตามลำดับ นอกจากนี้ การส่งออกสินค้าก็ยังคงหดตัวต่อเนื่อง -2.0% แต่เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าที่ดีขึ้น อาทิ สินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม ที่ได้แรงหนุนจากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่กลับมาเป็นขาขึ้น
  • สศช. “ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2023 เป็นขยายตัว 2.5% และขยายตัว 2.7%-3.7% ในปี 2024 โดยในปีหน้าเศรษฐกิจไทยยังคงได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการลงทุนโดยรวม แนวโน้มการบริโภคภาคเอกชนที่จะขยายตัวได้ดี ส่วนการส่งออกก็จะพลิกกลับมาขยายตัวได้กว่า +3.8% จาก -2% ในปี 2023
  • นอกจากนี้ ในการปรับประมาณการเศรษฐกิจใหม่ สศช. ได้มองอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2023 ที่ระดับ 1.4% และมองอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2024 ในกรอบ 1.7%-2.7% เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน สศช. ได้ประเมิน ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2024 อาจเกินดุลราว 1.5% ของ GDP ดีขึ้นจากที่เกินดุล 1.0% ของ GDP ในปีนี้

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่อาจโตน้อยกว่าที่เราประเมินไว้ก่อนหน้า ทำให้เราคงมุมมองเดิมว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแล้วที่ระดับ 2.50%

  • เราประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2023 อาจโตได้ไม่ถึง +3.0%y/y ตามที่เคยประเมินไว้ หลังในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ล่าสุด เศรษฐกิจไทยขยายตัวแย่กว่าที่ประเมินไว้ (ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากการลดลงของสินค้าคงคลัง หรือ Inventories พอสมควร) นอกจากนี้ การฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจจีน ก็อาจกระทบต่อทั้งภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทยในช่วงไตรมาส 4 
  • ส่วนในปีหน้า เรายังคงมองว่า เศรษฐกิจไทยก็มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีขึ้น ตามการขยายตัวของเครื่องยนต์เศรษฐกิจสำคัญ โดยเฉพาะการส่งออกที่จะกลับมาขยายตัวได้ ทว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้า ก็อาจไม่ได้ขยายตัวได้ตามที่เราเคยประเมินไว้ก่อนหน้า +3.6%y/y หากสุดท้าย รัฐบาลไม่สามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น Digital Wallet วงเงิน 5-6 แสนล้านบาท (มีความเป็นไปได้ว่า รัฐบาลอาจต้องลดวงเงินของมาตรการดังกล่าวลงราว 50%) นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอกอย่างผลกระทบของภาวะ El Nino รวมถึง ความเสี่ยงเศรษฐกิจหลักทั้ง สหรัฐฯ ยุโรป และจีน อาจชะลอตัวลงมากกว่าคาด ก็สามารถฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจในปีหน้าได้บ้าง ซึ่งหากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยอาจไม่ได้ขยายตัวแข็งแกร่ง ก็จะช่วยลดแรงกดดันฝั่งอุปสงค์ต่อเงินเฟ้อ ทำให้เรามองว่า อัตราเงินเฟ้อก็จะยังมีแนวโน้มอยู่ในกรอบ 1%-3% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำให้ เราคงมุมมองเดิมว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2. 50% ซึ่ง ธปท. มองว่า เป็นระดับที่ “เหมาะสม” กับแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ได้ประเมินไว้ล่าสุด  

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย