รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ราคาทองคำมีโอกาสผันผวนย่อตัวลงได้บ้าง ตามแรงขายทำกำไร

เผยแพร่ 20/11/2566 08:33
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Economic Highlight

ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการจากสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น รวมถึงรายงานอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3

**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.

FX Highlight

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง หลุดโซนแนวรับที่เราประเมินไว้ หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่าง ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน ที่ออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดยิ่งเชื่อว่าเฟดได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว และเฟดมีโอกาสลดดอกเบี้ยลงราว -1% ในปีหน้า  
  • เราประเมินว่า โมเมนตัมการแข็งค่าของเงินบาทอาจชะลอลงบ้าง หลังเงินบาทแข็งค่าใกล้แนวรับหลัก 35.00 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้บรรดาผู้นำเข้าบางส่วนอาจรอจังหวะทยอยเข้าซื้อเงินดอลลาร์
  • นอกจากนี้ ตลาดก็ได้รับรู้แนวโน้มเฟดคงอัตราดอกเบี้ยและลดดอกเบี้ยลงในปีหน้า -1% ไปมากแล้ว ทำให้ ต้องมีปัจจัยใหม่ๆ จนทำให้ตลาดปรับเปลี่ยนมุมมองแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดที่ชัดเจน ถึงจะทำให้ เงินดอลลาร์ บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ รวมถึงราคาทองคำ มีทิศทางการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน
  • โดยในสัปดาห์นี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อย่าง ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการจากสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น รวมถึง รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของญี่ปุ่น และยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานสหรัฐฯ
  • ในกรณีที่ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด ก็อาจทำให้ ผู้เล่นในตลาดเริ่มปรับมุมมองแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดใหม่ เช่น มองว่า เฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้น หรือลดดอกเบี้ยน้อยกว่า -1% ซึ่งมุมมองดังกล่าวอาจหนุนให้ เงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้
  • ที่น่าสนใจ คือ แนวโน้มเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) หลังเงินเยนกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง หลุดโซน 150 เยนต่อดอลลาร์ ซึ่งหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น สะท้อนโอกาสที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ก็อาจหนุนให้ เงินเยนแข็งค่าขึ้นต่อได้ไม่ยากและอาจกดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง
  • และนอกเหนือจาก ปัจจัยดอกเบี้ยเฟด และการเคลื่อนไหวของเงินเยนญี่ปุ่น เราคงมองว่า โฟลว์ธุรกรรมเกี่ยวกับทองคำ รวมถึงฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติจะมีผลต่อค่าเงินบาทได้พอสมควร
  • โดยในส่วนของราคาทองคำนั้น เรามองว่า ราคาทองคำเสี่ยงที่จะย่อตัวลงได้บ้างในระยะสั้น โดยหากราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ก็อาจส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดทยอยเข้าซื้อทองคำ ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวอาจกดดันเงินบาทให้อ่อนค่าลงได้
  • ส่วนฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ก็ยังมีความผันผวน ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3
  • ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มทยอยแข็งค่าขึ้นได้ แต่ในส่วนของ RSI เริ่มเข้าโซน Oversold ทำให้เงินบาทอาจผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้าง
  • นอกจากนี้ ในส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ชี้ว่า เงินบาทอาจเริ่มอ่อนค่าลงได้ หลังเงินบาทได้แข็งค่าแรงและเร็วในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยต้องจับตาแนวต้านโซน 35.20-35.30 บาทต่อดอลลาร์ และมีโซนแนวต้านสำคัญแถวโซน 35.50 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่  โซนแนวรับสำคัญ ยังคงเป็นโซน 35.00 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนแนวรับถัดไปอาจอยู่โซน 34.80 บาทต่อดอลลาร์

Gold Highlight

  • ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง มากกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ หลังผู้เล่นในตลาดเริ่มมองว่า เฟดได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว และเฟดอาจลดดอกเบี้ยลงราว -1% ในปีหน้า
  • สัปดาห์นี้ มุมมองผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดและบรรยากาศในตลาดการเงิน ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางราคาทองคำ
  • ราคาทองคำมีโอกาสผันผวนย่อตัวลงได้บ้าง ตามแรงขายทำกำไร นอกจากนี้ หากตลาดการเงินยังเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยง หรือ กลับมาเชื่อว่า เฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน (ซึ่งต้องเห็นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าคาด)
  • ทั้งนี้ ควรจับตาความผันผวนของเงินเยนญี่ปุ่นที่อาจส่งกระทบต่อราคาทองคำ ผ่านการเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์ได้ โดยหากเงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นต่อ กดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ก็อาจช่วยพยุงราคาทองคำได้
  • ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า โมเมนตัมการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำยังมีอยู่ และต้องรอลุ้นสัญญาณจาก MACD ที่อาจกลับมา Bullish มากขึ้นได้ ขณะที่ กราฟแท่งเทียนวันศุกร์ที่ผ่านมามีลักษณะ Shooting Star ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเชิง Bearish ต่อราคาทองคำ
  • สำหรับ สัญญาณจาก Time Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1 ชี้ว่า ราคาทองคำอาจเริ่มย่อตัวลงหรือแกว่งตัว sideway 
  • หลังจากที่เราได้แนะนำ Trade Idea สำหรับ ผู้เล่นฝั่ง Long ทองคำ ในสัปดาห์ก่อนหน้า เราประเมินว่า ระดับราคาทองคำล่าสุด ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มพิจารณาทยอยขายทำกำไรออกมาได้บ้าง แต่หากราคาทองคำสามารถยืนเหนือโซน 1,970-1,980 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก็อาจถือต่อเพื่อรอประเมินสถานการณ์ได้ 

Economics Highlight

 

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย