เงินเฟ้อเดือนตุลาคมลดลงสู่ระดับ -0.31% ตามการลดลงของราคาสินค้าพลังงาน

เผยแพร่ 06/11/2566 13:40
อัพเดท 09/07/2566 17:32

เงินเฟ้อเดือนตุลาคมลดลงสู่ระดับ -0.31%

ตามการลดลงของราคาสินค้าพลังงาน และผลของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐบาล

  • Headline Inflation October 2023

Actual: -0.31%       Previous: 0.30% 

KTBGM: -0.70%     Consensus: 0.10%

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนตุลาคมลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ -0.31% กดดันโดยราคาสินค้าพลังงานที่ลดลง และผลของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐบาล ขณะเดียวกัน ราคาเนื้อสัตว์ รวมถึงผักสด ก็ปรับตัวลดลง กดดันราคารสินค้าหมวดอาหาร
  • สำหรับเดือนพฤศจิกายน กระทรวงพาณิชย์มองว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลงตามการปรับตัวลดลงต่อเนื่องของราคาเนื้อสัตว์ ผลของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ และฐานราคาที่สูงในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้น กอปรกับความไม่แน่นอนของทิศทางราคาพลังงาน ก็อาจทำให้เงินเฟ้อไม่เป็นไปตามคาดได้ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ยังประเมินอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ ในกรอบ 1.0%-1.7% (ค่ากลาง 1.35%) ตามเดิม
  • เราคงมุมมองเดิมว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% หลังอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลง และไม่ต่างจากคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยล่าสุด ในงานสัมนา Monetary Policy Forum
  • อย่างไรก็ดี ทิศทางอัตราเงินเฟ้อยังมีความไม่แน่นอนอยู่ จากผลกระทบของ El Nino รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่จะดีขึ้นในปีหน้าชัดเจน ขณะเดียวกัน สถานการณ์สงครามอิสราเอล-กลุ่มฮามาสก็ยังมีความเสี่ยงที่จะบานปลายและส่งผลกระทบต่อแนวโน้มราคาพลังงานได้
  • ทั้งนี้ เราคงแนะนำ “Buy on Dip” บอนด์ หลังบอนด์ยีลด์ระยะกลาง-ยาว ได้ปรับตัวขึ้น ตามบอนด์ยีลด์โลกและความกังวลต่อเสถียรภาพการคลังของไทยมาพอสมควร

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ        -0.31% ลดลงจากระดับ 0.30% ในเดือนกันยายน

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนล่าสุด ลดลง -0.28% จากเดือนก่อนหน้า (เรามอง -0.70%) ตามการปรับตัวลดลงของราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม -0.6% โดย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงกว่า -3.7% ขณะที่ ราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ก็พลิกกลับมาเพิ่มขึ้น +0.18% ตามการปรับตัวขึ้นของราคาผักในช่วงเทศกาลกินเจ รวมถึงราคาข้าว แป้งที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ราคาเนื้อสัตว์ ยังคงปรับตัวลดลง
  • เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงสู่ระดับ -0.31% จาก 0.30% ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 25 เดือน กดดันโดยการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าพลังงาน อาทิ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึง ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค ตามผลของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐบาล นอกจากนี้ ในราคาหมวดอาหาร ราคาเนื้อสัตว์และราคาผักสดก็อยู่ในระดับที่ต่ำจากปีก่อนหน้า และเมื่อหักราคาอาหารสดรวมถึงพลังงานออก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) พลิกกลับมาสูงขึ้น สู่ระดับ 0.66% จากระดับ 0.63% ในเดือนก่อนหน้า

เราคงมุมมองเดิม ว่า กนง. ได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแล้วที่ระดับ 2.50% หลังอัตราเงินเฟ้อชะลอลง และโดยรวมยังมีแนวโน้มเป็นไปตามคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

  • การชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุด แม้ว่าจะน้อยกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ แต่ก็จะช่วยลดความกังวลต่อแนวโน้มเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ และเมื่อเราได้ประเมิน โดยให้โมเมนตัมของอัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วง +0.2%m/m จนถึง +0.4%m/m เราพบว่า หากโมเมนตัมอัตราเงินเฟ้อไม่เกินระดับ +0.3%m/m ก็จะทำให้ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไม่ต่างจากคาดการณ์ของธปท. ล่าสุด ในงานสัมนา Monetary Policy Forum ส่งผลให้ มุมมองของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ล่าสุด ที่มองว่า “อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ถือว่าเป็นระดับที่เหมาะสมภายใต้สมมติฐานเศรษฐกิจล่าสุด” ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
  • อย่างไรก็ดี แนวโน้มอัตราเงินเฟ้ออาจสูงกว่าที่เรา หรือ ธปท. ประเมินไว้ได้ หากผลกระทบของภาวะ El Nino ส่งผลให้ ราคาหมวดอาหารเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ประเมิน และผลกระทบจากมาตรการ Digital Wallet ต่ออุปสงค์ในประเทศอาจสูงกว่าคาด อย่างไรก็ดี จากการประเมินล่าสุด เรามองว่า แรงหนุนเงินเฟ้อจากปัจจัยดังกล่าวอาจไม่ได้น่ากังวลมากนัก เนื่องจากสถานการณ์ El Nino ก็ดูผ่อนคลายลงบ้าง ขณะเดียวกัน วงเงินของมาตรการ Digital Wallet ก็อาจถูกปรับลดลงมาพอสมควร อนึ่ง นอกจากปัจจัยดังกล่าว สิ่งที่ต้องจับตาใกล้ชิด คือ ทิศทางราคาพลังงาน ซึ่งจะขึ้นกับ สถานการณ์สงครามอิสราเอล-กลุ่มฮามาสและพันธมิตร โดยหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังที่เราได้ประเมินไว้ในบทวิเคราะห์สถานการณ์สงครามก่อนหน้า ราคาพลังงานอาจสูงขึ้นและอยู่ในระดับสูงได้นาน จนทำให้ อัตราเงินเฟ้อกลับมาเร่งตัวขึ้นได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะต้องจับตาว่า รัฐบาลไทยจะสามารถคงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ โดยเฉพาะการคุมราคาพลังงานและค่าไฟฟ้าได้นานเพียงใด 
  • ในช่วงที่ผ่านมา บอนด์ยีลด์ไทยได้ปรับตัวขึ้น ตามบอนด์ยีลด์โลก และความกังวลเสถียรภาพการคลังของรัฐบาลไทย พอสมควร ทำให้ เราประเมินได้ถูกต้องว่า ดอกเบี้ยนโยบายของไทย และของสหรัฐฯ ได้ถึงจุดสูงสุด (Terminal Rate) แล้ว ส่วนเฟดก็มีแนวโน้มจะลดดอกเบี้ยลงได้เร็วและลึกกว่าที่ตลาดคาด บอนด์ยีลด์ฝั่งสหรัฐฯ โดยเฉพาะ บอนด์ยีลด์ 10 ปี ก็มีแนวโน้มทยอยปรับตัวลดลง ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อบอนด์ยีลด์ 10 ปี ไทย ทำให้ เรามองว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี ของไทย ที่ระดับ 3.20% ก็ยังมีความน่าสนใจอยู่ เช่นเดียวกันกับ บอนด์ยีลด์ 5 ปี ที่ระดับ 2.85% ซึ่งสูงกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายราว +35bps ก็เป็นระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในอดีต ดังนั้น นักลงทุนก็สามารถทยอยซื้อบอนด์ระยะกลาง-ยาว หรือจะรอจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้นในการเข้าซื้อได้ (เน้น Buy on Dip) ทั้งนี้ นักลงทุนควรลดความคาดหวังต่อผลตอบแทนในรูปของ Capital Gains เนื่องจาก เรามองว่า บอนด์ยีลด์ไทยก็อาจไม่ได้ปรับตัวลดลงมากนัก เพราะแม้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ได้ในช่วงต้นปีหน้า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยก็อาจไม่รุนแรง จนทำให้ กนง. ต้องลดดอกเบี้ยนโยบายลง ขณะเดียวกัน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ก็อาจทำให้ ผู้เล่นในตลาดยังมีความกังวลต่อปริมาณการออกบอนด์ของรัฐบาลอยู่บ้าง 

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย