Economic Highlight
ปัจจัยสำคัญจะอยู่ที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ อาทิ ดัชนี PMI
ภาคการผลิตและภาคการบริการ และผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรป
(ECB) นอกจากนี้ ควรติดตาม
สถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส
และรายงานผลประกอบการบรรดาบริษัทจดทะเบียน อย่างใกล้ชิด
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.
FX Highlight
สัปดาห์ที่ผ่านมา
แม้ว่าเงินบาทจะเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าจากทั้งความกังวลต่อสถานการณ์สง
ครามอิสราเอล-กลุ่มฮามาส
รวมถึงความกังวลแนวโน้มเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูงได้น
าน
ทว่าการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำก็มีส่วนช่วยชะลอการอ่อนค่าลงของเงิน
บาท
เรามองว่า หากสถานการณ์สงครามทวีความรุนแรงและบานปลายมากขึ้น
ก็อาจหนุน เงินดอลลาร์ รวมถึงสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) อื่นๆ เช่น
ทองคำ และพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ เงินบาทอาจไม่ได้อ่อนค่ารุนแรง
ตามโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ
จากปัจจัยสงคราม เรามองว่า ควรจับตาทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ซึ่งจะผันผวนไปตามสถานการณ์สงคราม
โดยต้องติดตามท่าทีของทางการอิหร่านอย่างใกล้ชิด
อนึ่ง ในสัปดาห์นี้
ควรระวังการปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการดำเนินนโยบายการ
เงินของเฟด ซึ่งจะขึ้นกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อาทิ ดัชนี
PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ รวมถึง อัตราเงินเฟ้อ PCE และ
อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3
ขณะเดียวกัน ควรจับตารายงานดัชนี PMI
ของยูโรโซนและผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)
ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางเงินยูโร (EUR) และเงินดอลลาร์ได้
ส่วนปัจจัยในประเทศที่อาจส่งผลกระทบต่อทิศทางเงินบาท คือ
ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติซึ่งอาจผันผวนไปตามบรรยากาศในตลาดการเงิน
ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน
โดยเฉพาะบริษัทเทคฯ ใหญ่ อย่าง Amazon, Alphabet, Meta และ
Microsoft
ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD (Time Frame รายวัน)
ชี้ว่า เงินบาทอาจแกว่งตัว sideway หรือเสี่ยงที่จะทยอยอ่อนค่าลงได้บ้าง
นอกจากนี้ ในส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1
สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ชี้ว่า เงินบาทมีแนวโน้มทยอยอ่อนค่าลง
โดยหากเงินบาทอ่อนค่าลงต่อ ก็อาจยังติดโซนแนวต้านแรกแถว 36.60
บาทต่อดอลลาร์ โดยมีโซน 36.85 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวต้านถัดไป
ขณะที่ โซน 36.20-36.30 บาทต่อดอลลาร์ อาจเป็นแนวรับแรกในช่วงนี้
และมีโซน 36.00 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวรับถัดไป
จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยอย่างชัดเจน
Gold Highlight
ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง มากกว่าที่เราประเมินไว้
หนุนโดยความต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางสถานการณ์สงครามที่ยั
งคงร้อนแรงและมีความไม่แน่นอนสูง
สัปดาห์นี้ ควรจับตาสถานการณ์สงคราม
รวมถึงมุมมองผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด
(จับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญจากฝั่งสหรัฐฯ)
จากการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตพบว่า
ราคาทองคำได้ปรับตัวเกินกว่าแรงหนุนปัจจัยความเสี่ยงสงครามมาพอสมควร
ทำให้หากสถานการณ์สงครามคลี่คลายลง
ราคาทองคำก็เสี่ยงที่จะเผชิญแรงขายได้พอสมควร
อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ตลาดคลายความกังวลสถานการณ์สงคราม
แนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางหลัก
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทิศทางบอนด์ยีลด์
จะกลับมาเป็นปัจจัยสำคัญต่อทิศทางราคาทองคำ
โดยราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวลงได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ออกมาดีกว่าคาด หนุนให้บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อ
ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน)
ชี้ว่า โมเมนตัมขาขึ้นของราคาทองคำยังคงมีอยู่ ทว่า
ราคาทองคำก็เริ่มเข้าสู่โซน RSI Overbought ส่วน สัญญาณจาก Time
Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1 ชี้ว่า
การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในช่วงที่ผ่านมา เริ่มเข้าสู่โซน Overbought
และมีการเกิดสัญญาณ Bearish Divergence บน RSI ทำให้
ราคาทองคำเสี่ยงที่จะย่อตัวลงได้บ้าง
เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดที่ได้ทยอยซื้อทองคำในช่วงก่อนหน้า จนล่าสุด
Risk-Reward เกิน 1:2 แล้ว ก็สามารถทยอยขายทำกำไรได้