ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.ย.66 ของบ้านเรา ออกมาที่ 0.3% YoY ซึ่งลดลงจากเดือน ที่ผ่านมาและต่ำกว่า Consensus คาด ถือเป็นสัญญาณบวก และน่าจะเป็นการ เพิ่มโอกาสที่จะเห็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% สอดคล้องกับ ทิศทางของ Fed ที่คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 5.5% จากนี้ไปยาว 8-9 เดือน สัญญาณดังกล่าวน่าจะทำให้เกิดภาวะที่นิ่งมากขึ้นในตลาดการเงิน และในระยะถัดไปก็น่าจะช่วยลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ สำหรับ ตลาดหุ้นบ้านเราช่วงครึ่งหลังของเดือน ก.ย.66 เป็นต้นมา เห็นการปรับตัวลดลง มาอย่างรวดเร็ว ซึ่งเรามองว่าในเชิง Valuation น่าจะเห็น Downside ที่จำกัด โดย ที่ SET Index บริเวณ 1430 จุด มีค่า PBV 1.37เท่า คิดเป็น -2SD ซึ่งต่ำในรอบ 3 ปี ขณะที่เป้าหมายคำนวนโดย MEYG 3.3% อยู่ที่ 1524 จุด
ประเมินว่า SET Index เริ่มสร้างฐานได้ดีขึ้น และมี 1430 จุดเป็นแนวรับหลัก สำหรับวันนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวช่วง 1445 – 1460 จุด สำหรับหุ้น Top Pickวันนี้เลือก COM7, JMARTและTU
ปัจจัยต่างๆ ยังหนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้นไทย มองแนวต้าน วันนี้ 1460 จุด
ช่วงต้นเดือน ต.ค.66 ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงแรงทุกดัชนี หลังนักลงทุนกังวลว่า FED มีโอกาสที่จะใช้นโยบายทางการเงินเชิงรุกต่อไป หลัง Bond Yield สหรัฐฯ เร่งตัว ขึ้นทั้ง Yield Curve อย่างไรก็ตาม วานนี้ Bond Yield สหรัฐฯ เริ่มทยอยปรับตัวลดลง ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 โดย Bond Yield2 ปี อยู่ที่ระดับ 5.02%, Bond Yield10 ปี อยู่ที่ ระดับ 4.72% ประเด็นดังกล่าว ทำให้นักลงทุนคาดว่า FED น่าจะคงอัตราดอกเบี้ย ระดับนี้ไปจนถึงกลางปีหน้า และทยอยปรับลดดอกเบี้ยในช่วง 2H67 หนุนให้ Dollar Index มีโอกาสชะลอการแข็งค่า และหนุนเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ซึ่ง สอดคล้องกับสถิติในอดีตที่ว่า ดอกเบี้ยสหรัฐฯทรงตัว Dollar Index มักอ่อนค่า ตลาด หุ้นไทยมักขึ้น
• ช่วงปี 2006-2007 FED คงดอกเบี้ยนาน 14 เดือน Dollar Index อ่อนค่า 7% SET Index ปรับขึ้น 20%
• ช่วงปี 2019 FED คงดอกเบี้ยนาน 7 เดือน Dollar Index แข็งค่าเพียง 1% SET Index ปรับขึ้น 7%
ขณะที่หากพิจารณาช่องว่าง Bond Yield ของไทย-สหรัฐฯ จะเห็นได้ว่ามีช่องว่างที่แคบ ลง กล่าวคือ Bond Yield สหรัฐฯ ทรงตัวในระดับนี้ ขณะที่ Bond Yield ไทยทยอย ปรับตัวขึ้น หลัง กนง.มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 2.50% ซึ่งช่องว่างมี โอกาสแคบลงเรื่อยๆ หนุนให้ตลาดหุ้นไทยยิ่งน่าสนใจในมุมนักลงทุนต่างชาติ หนุนให้ ค่าเงินบาทมีโอกาสชะลอการอ่อนค่าในระยะถัดไป
อีกหนึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน คือ ราคาน้ำมันดิบ Brent / WTI ที่ฝ่ายวิจัยฯ คาดว่ามี Downside ไม่มากนัก และมีโอกาสยืนในระดับ 80-90 เหรียญฯ/บาร์เรล ไปสักระยะจาก ประเด็น Dollar ชะลอการแข็งค่า และการประชุมกลุ่ม OPEC+ ที่มีมติคงนโยบายการ ผลิตตามเดิม คือ การปรับลดกำลังการผลิตรวม 3.66 ล้านบาร์เรล/วันไปจนถึงสิ้นปี 2567 ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยพยุง SET Index เนื่องจาก หุ้นกลุ่มพลังงาน-โรงกลั่นมี Market Cap ทั้งอุตสาหกรรมกว่า 1 ใน 3 ของ Market Cap SET Index ซึ่งหุ้นที่ชอบ คือ PTT (BK:PTT) PTTEP TOP SPRC เป็นต้น
สรุป ตลาดหุ้นไทยมีโอกาส Outperform ตลาดหุ้นอื่นๆ หลังมีปจจัยหนุนทั้งภายนอก ประเทศ และสถิติในอดีต คาดทำให้ Flow ต่างชาติมีโอกาสไหลเข้าในช่วงที่เหลือของปี โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวที่ระดับ 1445-1460 จุด
ตลาดหุ้นไทย อาจใกล้ถึงจุดที่ Fund Flow กลับมา
ในปีนี้ SET Index ปรับตัวลดลงมากว่า -13.2%ytd แต่นักลงทุนต่างชาติระทมกว่านัก ลงทุนไทย เนื่องจากขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มอีก -6.4%ytd รวมขาดทุน -18.8%ytd และนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อและถือหุ้นไทยมาตลอด 3 ปี กำไรลดลงจนเหลือเพียง 2.1% แม้ SET Index จะขยับขึ้นมาจาก 1195 จุด (ปลาย เดือน ต.ค. 63) มาอยู่ที่ 1447.6 จุด (5 ต.ค. 66) หรือ +21.1%แปลว่าค่าเงินบาทที่อ่อน ค่ามาต่อเนื่องน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่กดดันให้ Fund Flow ไหลออกในช่วงที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม หากสังเกตกราฟ SET Index (USD) หรือแปลง SET เป็นค่าเงินดอลลาร์ สหรัฐ พบว่า เข้ามาใกล้แนวรับในรอบ 3 ปีแล้ว และหลังจากนี้ หากนักลงทุนต่างชาติ กลับเข้ามาซื้อ น่าจะได้เปรียบคนไทยเยอะเลยทั้งในมุมค่าเงินที่อ่อนมาเยอะแล้ว และใน มุมพื้นฐาน SET Index ที่เคยย่อตัวลงมาลึกที่ระดับ 1430 จุด มีPBV 1.37 เท่า ซึ่งเป็น ระดับ -2SD ในรอบ 5 ปี พอดี ถือเป็นแนวรับทางพื้นฐานที่สำคัญอีก 1 แนว รวมถึง ปกติ Fund Flow ต่างชาติมักจะไหลกลับมาที่ตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 4 เสมอ โดย ตั้งแต่ปี 2020 –2022 ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยในไตรมาสที่ 4 ทุกปี เฉลี่ย 3.1 หมื่นล้าน บาท
สรุป แม้ปัจจุบัน SET Index จะอยู่ในช่วงปรับสมดุล และในเชิงเทคนิค SET Index (USD) เข้าใกล้แนวรับในรอบ 3 ปี พร้อมกับในเชิงพื้นฐาน มี PBV ที่ต่ำอยุ่ใกล้ระดับ -2SD แสดงให้เห็นว่า ดัชนีหุ้นไทยอนู่ในโซนน่าสะสมมากขึ้น ขณะที่ Fund Flow ต่างชาติ ยังมี โอกาสไหลกลับเข้ามาสมทบตลาดหุ้นไทยในระยะถัดไปมากขึ้นเช่นกัน
เงินเฟ้อไทยเดือน ก.ย. +0.30%YoY ต่ำกว่าคาด
กระทรวงพาณิชย์ เผยเงินเฟ้อไทยเดือนก.ย. +0.30%YoY ต่ำกว่าตลาดคาดที่ +0.6%YoY และปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่ +0.88%YoY ส่วนหนึ่งเป็นผลของ มาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ ทั้งค่าน้ำมันและค่าไฟ ขณะที่เงินเฟ้อหมวด อาหาร -0.1%YoY ถือเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 23 เดือน ทำให้เงินเฟ้อบ้านเรา นับตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 1.82%AoA ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานล่าสุดอยู่ที่ +0.63% ต่ำกว่า ตลาดคาดที่ +0.7%YoY และชะลอลงจากเดือนก่อนที่ +0.79%YoY
สำหรับเงินเฟ้อทั่วไปใน 4Q66 กระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวจาก ไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากอยู่ในช่วงที่ภาครัฐช่วยเหลือประชาชนลดค่าครองชีพ หลายรายการ อาทิ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน และสินค้าต่างๆ บวกกับมีแรงกดของดอกเบี้ย นโยบายที่สูงขึ้น อีกทั้งฐานราคาในช่วงเดียวกันของปี 2565 อยู่ระดับสูง
ด้วยเงินเฟ้อไทยที่อยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายที่ 1-3% ต่อเนื่องเผป็นเดือนที่ 5 ทำให้ กระทรวงพาณิชย์ปรับลดคาดการณ์เงินไฟไทยปี 2566 เหลือเพียง 1.0–1.7% หรือ ค่ากลาง 1.35% (เดิมคาด 1.0 –2.0 % หรือ ค่ากลาง 1.5%) อย่างไรก็ตาม หาก สถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง
สรุป ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินเงินเฟ้อไทยที่อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง แม้ราคาพลังงานจะเร่งตัว ขึ้นมาเร็ว แต่ได้รับแรงหนุนจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ ส่งสัญญาณให้ โอกาสขึ้นดอกเบี้ยควรจบรอบ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเม็ดเงินไหลเข้า SET Index โดยกรณี ที่ Flow ต่างชาติไหลเข้า SET มีแนวต้านปลายปีอยู่ที่ 1595 จุด (ภายใต้ MEYG = 3.3%) แนะนำหุ้นเด่นสุดรับเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัว และได้แรงหนุนจากการชะลอขึ้น ดอกเบี้ย พร้อมกับคาดหวังรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม TIDLOR MTC SAWAD CPAXT CRC CPN CENTEL BJC ADVANC
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities