หลังจากที่ SET Index ปรับลงไปแตะระดับ 1430 จุด ตามแนวรับที่เราวางไว้ แล้ว สามารถดีดตัวกลับมาปิดเหนือ 1450 จุด ได้ ถือเป็นความอุ่นใจระดับหนึ่ง ส่วน ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานเช้านี้ ก็ให้บรรยากาศเดียวกัน กล่าวคือ เงินบาทแข็ง ค่ากลับมา36.84 บาท/USD ขณะที่Bond Yieldในสหรัฐฯรวมถึงบ้านชะลอการ ปรับขึ้น สร้างความหวังว่าการปรับสมดุลในตลาดการเงินเริ่มเข้ารูปเข้ารอยมาก ขึ้น ภายใต้ภาวะดังกล่าวน่าจะทำให้ตลาดหุ้น สามารถสะทัอนภาพเศรษฐกิจ และ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเราคาดหมายว่าจะเห็นการฟื้นตัวอย่าง ชัดเจนใน 2H66 ได้ดีขึ้น สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามวันนี้ เป็นเรื่องการประกาศ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.ย.66 ของบ้านเรา ซึ่ง Consensus คาด 0.6% YoY ส่วน ประเด็นที่น่ากังวลโดยภาพรวมเป็นเรื่องภาระหนี้สาธารณะ และ ครัวเรือน ซึ่งอาจ เป็นตัวฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้ช้าลง
ภาพการเคลื่อนไหวของ SET Index ดูดีขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่พ้นช่วงของความผัน ผวน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหววันนี้ช่วง 1445 – 1460 จุด สำหรับหุ้น Top Pickวันนี้เลือก GULF, LH และTU
ราคาน้ำมันดิบ ปรับลงแรง หลัง Demand หาย Supply คงเดิม
วานนี้ราคาน้ำมันดิบ Brent / WTI ปรับตัวลง 5-6% อยู่ที่ระดับ 84-85 เหรียญฯ โดย มีปัจจัยกดดันจากฝั่ง Demand หลังข้อมูลเชิงเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐ โดยดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของสหรัฐ ลดลงสู่ระดับ 50.1จุดในเดือนก.ย.66 ต่ำกว่าคาดที่ระดับ 50.2 จุด และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.5 จุดในเดือนส.ค.66 ซึ่งหากดัชนี PMI หลุดระดับ 50จุด จะบ่งชี้ถึงภาวะหดตัวในภาคบริการของสหรัฐ บวก กับสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยสต็อกน้ำมัน เบนซินพุ่งขึ้น 6.5 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมากกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 200,000 บาร์เรล ยิ่งเป็นตัวบ่งบอกถึง Demand น้ำมันดิบที่ซบเซา
ขณะที่หากพิจารณาฝั่ง Supply ราคาน้ำมันดิบยังคงเดิม หลังวานนี้มีการประชุมกลุ่ม OPEC+ ซึ่งมีมติคงนโยบายการผลิตตามที่มีการบรรลุข้อตกลงในเดือนมิ.ย.66 ส่งผล ให้OPEC+ ปรับลดกำลังการผลิตรวม 3.66 ล้านบาร์เรล/วันไปจนถึงสิ้นปี 2567 ซึ่ง รายละเอียดแต่ละประเทศ
ขณะที่แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 4 มีโอกาสผันผวน หลังยังอยู่ในภาวะผัน ผวนจากทั้ง demand และ supply ที่แท้จริง รวมถึงประเด็นบวกและลบต่อราคาน้ำมัน ที่เกิดขึ้นระหว่างทาง ซึ่งหากพิจารณาภายใต้ demand และ supply ที่แท้จริง และราคา น้ำมันในปัจจุบัน ฝ่ายวิจัยยังคงมุมมองที่คาดทิศทางราคาน้ำมันจะยังทรงตัวได้ใน ระดับสูงได้ โดยสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปี 2566 อยู่ที่ 90 เหรียญฯ/บาร์เรล และ ระยะยาวตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไปอยู่ที่ 80เหรียญฯ/บาร์เรล
สรุป ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสปรับลงช่วงสั้น หลัง Demand หาย และการประชุม OPEC+ ยังคงปรับลดกำลังการผลิตเท่าเดิม จนถึงสิ้นปี 2566 อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัย ฯคาดราคาน้ำมันดิบมีโอกาสทรงตัวในระดับ 75-80 เหรียญฯ/บาร์เรล จาก Demand ที่เร่งตัวขึ้นในช่วงสิ้นปี ดังนั้นหากราคาหุ้นกลุ่มน้ำมัน-โรงลกั่น ย่อตัวลงมาถึงแนวรับ จึงแนะนำทยอยสะสม เพื่อหวังผลกำไรกลาง-ยาวได้ ชอบ PTTEP TOP SPRC
ปัญหาหนี้สูง เสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยระยะยาว
วานนี้ในงาน Thailand Economic Outlook 2024 ธปท. เผยมุมมองต่อภาพรวม เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการฟื้นตัวจากการบริโภคและการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่ก็มี อีกบางภาคส่วนที่ยังติดขัด ทั้งการลงทุนเอกชนที่แผ่วลง รวมถึงภาคการค้าที่ชะลอตัว
ส่วนในด้านเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่อาจมีบางจุดที่น่ากังวล โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านการคลัง หลังหนี้สาธารณะต่อ GDP ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยใน 2Q66 อยู่ที่ 61.67% (สูงกว่ากรอบเพดานหนี้เดิมที่ 60%) เนื่องจากภาครัฐ จำเป็นต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลในการบริหารประเทศ นอกจากนี้ยังมีปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูง 90.7% ต่อ GDP (ธปท. ชี้ไม่ควรเกิน 80%) ซึ่งมาจากการใช้จ่ายส่วน บุคคลเป็นหลัก
ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายบ้านเราขยับขึ้นมาต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 65 จาก 0.5% สู่ 2.5% กดดันให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งผลที่ตามมาอาจทำให้ NLP มีแนวโน้มเป็นวัฏจักรขาขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีหุ้นบาง Sectors ที่ได้รับประโยชน์ อาทิ กลุ่มรับซื้อมาบริหาร BAM JMT CHAYO
สรุป ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังมีสัญญาณการฟื้นตัวได้จากการบริโภคและการ ท่องเที่ยว แต่ยังต้องติดตามปัญหาหนี้สินที่พุ่งสูง ทั้งหนี้ภาคครัวเรือนและภาครัฐ เนื่องจากดอกเบี้ยนโยบายบ้านเราขยับขึ้นมาต่อเนื่อง จะกดดันให้ต้นทุนทางการเงิน เพิ่มขึ้นตามไปด้วย และ NLP เสี่ยงมีแนวโน้มเป็นวัฏจักรขาขึ้น
Bond Yield 2 ปีสหรัฐฯลดลง ลดความกังวลทิศทางดอกเบี้ย
ช่วงเดือน ต.ค.66 ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงแรงทุกดัชนี หลังนักลงทุนกังวลว่า FED มีโอกาสที่จะใช้นโยบายทางการเงินเชิงรุกต่อไป หลัง Bond Yield สหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นทั้ง Yield Curve อย่างไรก็ตาม วานนี้ Bond Yield สหรัฐฯ เริ่มทยอยปรับตัวลดลง โดย Bond Yield2 ปี ปรับตัวลง 19 Bps. อยู่ที่ระดับ 5.05%, Bond Yield10 ปี ปรับตัวลง 13 Bps. อยู่ที่ระดับ 4.73%
ซึ่งหากพิจารณาจากสถิติในอดีตจะเห็นได้ว่า Bond Yield 2 ปี มักชี้นำอัตราดอกเบี้ย นโยบายเสมอ กล่าวคือ ในช่วงที่ดอกเบี้ยจะเริ่มเข้าสู่ขาขึ้น Bond Yield 2 ปีมักปรับตัว ขึ้นก่อน และ ในช่วงที่ดอกเบี้ยจะเริ่มเข้าสู่ขาลง Bond Yield 2 ปีมักปรับตัวลงก่อนเช่นกัน ดังนั้นหาก Bond Yield สหรัฐฯยังทยอยปรับตัวลงต่อเนื่อง นั้นอาจแสดงถึงการสิ้นสุดวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น ของสหรัฐฯ และเป็นจุดทยอยเข้าสะสมในตลาดหุ้น
ดังนั้นในช่วงปรับสมดุลของ Bond Yield ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสผันผวนเช่นกัน และ น่าจะเป็นการ Trading โยกย้ายเม็ดเงินจากกลุ่มหนึ่งไปอีกกลุ่มหนึ้ง ฝ่ายวิจัยฯ จึง แนะนำสลับกลุ่มซื้อขายในช่วงนี้ โดยลดน้ำหนักกลุ่มท่องเที่ยว + น้ำมัน ในพอร์ต แล้ว เพิ่ม หุ้นกลุ่มอื่นๆ ที่ราคาหุ้นยัง Laggard อาทิ กลุ่ม โรงไฟฟ้า, ค้าปล้ก อสังหาฯ, การเงิน, ICT เข้ามาแทน ดังตารางด้านล่าง โดยฝ่ายวิจัยฯ ชื่นชอบ EA SCGP BGRIM LH TIDLOR HMPRO GULF CPN ADVANC เป็นต้น
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities