เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วล่าสุดทะลุระดับ 37 บาท/USD ขึ้นมา ภาวะ ดังกล่าวถือว่าน่ากังวลสำหรับทิศทางFund Flow โดยอาจทำให้เม็ดเงินยังไม่ไหล กลับเข้าสู่ตลาดการเงินบ้านเรา อย่างไรก็ตามยังพอมีความหวัง เนื่องจากผล การศึกษาข้อมูลย้อนหลังของเรา พบว่าไตรมาส 4 ของปี ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา พบว่าเงินบาทมักจะมีการกลับมาแข็งค่าเฉลี่ย 3.5% สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจ ไทย ล่าสุด World Bank ปรับลด GDP Growth ปี 2566 ของบ้านเราลงมาอยู่ที่ 3.4% เดิม 3.6% ส่วนปี 2567 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 3.5% เดิม 3.7% เชื่อว่าตัวเลข ดังกล่าวไม่มีผลกระทบทางลบต่อตลาดหุ้น เนื่องจากแม้ปรับลงมาแล้วฐาน GDP Growth ก็ยังสูงกว่าประมาณการของสำนักวิจัยอื่นๆ ทั้งนี้ประเมินว่าตั้งแต่ 4Q66 เป็นต้นไป จะเริ่มเห็นแรงขับเคลื่อนที่มาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล มากขึ้น และน่าจะเป็นจุด Peakในช่วง2Q67
การฟื้นตัวของ SET Index ดูเหมือนยังยากลำบาก แต่ก็เชื่อประการหนึ่งว่า จะมี Downside ที่จำกัดเช่นกัน วันนี้ประเมินกรอบแนวรับที่ 1460 –1482 จุด สำหรับ หุ้น Top Pickวันนี้เลือก GULF, HMPRO และ PLANB
การกระตุ้นเศรษฐกิจไทยกำลังเริ่มต้น หวังการฟื้นตัวค่อยๆ ดีขึ้น
วานนี้ World bank มีรายงานปรับคาดการณ์ GDP Growth ปี 2566 ลดลงเหลือ 3.4%YoY (เดิม 3.6%) และปี 2567 ลดลงเหลือ 3.5%YoY (เดิม 3.7%) เนื่องจาก กังวลหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงสุดในภูมิภาคราว 90%ของ GDP ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงภาคการส่งออกที่ชะลอตัวลงยังถือเป็นความท้าทาย ที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามบ้านเรายังมีแรงหนุนจากรัฐบาลชุดใหม่ที่เพิ่งเข้ามาบริหารประเทศ ซึ่ง ยังเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น และหากมองภาพเศรษฐกิจไทยในปีหน้ายังมีโอกาสที่ GDP Growth จะโตมากกว่า 3% หรือไปถึงระดับ 5% ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ จาก นโยบายที่จะช่วยเหลือประชาชน และกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ เปิดสนามบินเชียงใหม่ 24 ชั่วโมง, ลดค่าไฟฟ้าเพิ่มเติมเหลือ 3.99 บาท/หน่วย, ลดน้ำมันเบนซิน / ดีเซล, พักหนี้ เกษตรกร 3 ปี, ค่ารถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย, Digital Wallet10,000 บาท, ค่าแรง ขั้นต่ำ 400 บาท/วัน และลดราคาสินค้ากว่า 20 รายการ
ซึ่งนโยบายทั้งหมดที่กล่าวไป ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2566 ต่อเนื่องไปถึงปี 2567 จึงทำให้โอกาสสูงที่ GDP Growth ไทยจะโตระดับ 5% ในปี 2567 ถือว่าเป็น Sentiment ที่ดีต่อตลาดหุ้น เนื่องจากสถิติในอดีตบ่งชี้ว่า หาก GDP ไทยช่วงปีที่โต มากกว่า 5% หนุน Return SET Index เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 37%(ข้อมูลตั้งแต่ปี 2543 – ปัจจุบัน)
สรุป แม้ World Bank จะปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 66 - 67 เหลือ 3.4% - 3.5% แต่เศรษฐกิจบ้านเรา ยังมีแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งเรามองว่า ณ ปัจจุถบันยังเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น และหากมองภาพเศรษฐกิจไทยในปี หน้ายังมีโอกาสที่ GDP Growth จะโตมากกว่า 3% หรือไปถึงระดับ 5% ตามที่รัฐบาล ตั้งเป้าหมายไว้ พร้อมกับแรงขับเคลื่อนผ่านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ
ค่าเงินบาทอ่อนค่าเร็วแต่หวังกลับมาแข็งค่าขึ้นในไตรมาส 4
ค่าเงินบาทอ่อนค่ากว่า 7.1%ตั้งแต่ต้นปีส่วนหนึ่งเนื่องจาก Fund Flow ไหลออกจาก ตลาดการเงินรวม 3 แสนล้านบาท นับตั้งแต่ต้นปี 2566 (Ytd) โดยแบ่งเป็นตราสารทุน 1.6 แสนล้านบาท และตราสารหนี้ 1.4 แสนล้านบาท หลังผลต่างระหว่างดอกเบี้ย สหรัฐฯ และไทย ห่างกับค่อนข้างมาก (ดอกเบี้ยในเดือน ส.ค.66 ; สหรัฐฯ 5.5%, ไทย 2.25%) นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากภาคการส่งออกที่หดตัวมานานนับปี ตามการ ชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้ไทยขาดดุลทางการค้าในเดือน ส.ค.66 ขณะที่ สัญญาณทางเทคนิคให้กรอบการเคลื่อนไหวช่วงสั้นคาดอยู่ในกรอบ 37.00 – 37.50 บาท/เหรียญฯ
ขณะที่หากพิจารณาในเชิงเทคนิคในระยะถัดไป ฝ่ายวิจัยฯมีมุมมองว่ามีโอกาสชะลอ การอ่อนค่า และกลับมาแข็งค่าได้ ถ้าสัญญาณ MACD พลิกกลับมาตัดเส้น Signal Line ลง (สังเกตจากกรอบสีแดง คือ ช่วงที่ MACD พลิกกลับมาตัดเส้น Signal Line ลง) โดยคาดมีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 35.00 – 35.50 บาท/เหรียญฯ ขณะที่ปัจจัย หนุนทางพื้นฐานยังคงคาดหวังการเข้ามาช่วยหนุนจากภาคการบริโภคและการลงทุน ภายในประเทศ ผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ (เช่น Digital Wallet, การพักหนี้เกษตรกร, การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน) รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่ค่อยๆ ฟื้นตัวต่อเนื่องเข้าสู่ช่วง High Season ในไตรมาส 4 เฉกเช่นเดียวกับช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้วที่มีสัญญาณของตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทั้งดุลการค้าที่ขาดดุลลดลง ดุลบริการที่ปรับตัวดีขึ้น หนุนดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 6 เดือนนับตั้งแต่ ก.ย.65 ทำให้ค่าเงินบาททยอยกลับมาแข็งค่าตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ต.ค.65
อีกทั้งหากพิจารณาในเชิงสถิติย้อนหลังในช่วง 2017-2022 จะพบว่าค่าเงินบาทมักแข็ง ค่าเสมอในไตรมาส 4 โดยมีค่าเฉลี่ยแข็งค่าราว 3.4% ในไตรมาสดังกล่าว
สรุป ค่าเงินบาทมีโอกาสชะลอการอ่อนค่า และกลับมาแข็งค่าได้ในไตรมาส 4 โดยมี ปัจจัยสนับสนุนทั้งการวิเคราะห์เชิงพื้นฐาน เทคนิค และเชิงปริมาณ โดยกรอบการ เคลื่อนไหวช่วงสั้นคาดอยู่ในกรอบ 37.00 – 37.50 บาท/เหรียญฯ
SET ย่อมาลึก จนอยู่ในโซนสะสม แต่ยังขาดแรงสนับสนุนจาก Fund Flow
วานนี้ SET Index ปรับตัวลงมาทดสอบจุดต่ำสุดในปีนี้อีกครั้งที่บริเวณ 1461 จุด จน ตัวชีวัดทางเทคนิค อย่าง RSI เข้าเขต Oversold และอัตราสวนทางพื้นฐาน อย่าง PBV ลดลงมาอยู่ที่ 1.44 เท่า ต่ำกว่าระดับ -1SD ที่ 1.52 เท่า และเข้าใกล้ระดับ -2SD ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ 1.37 เท่าแล้ว
แต่ SET Index ยังขาดแรงสนับสนุนจาก Fund Flow พร้อมกับค่าเงินบาท ที่อ่อนตัว ขึ้นมาเร็วสูงกว่า 37 บาท/เหรียญ กดดันให้ต่างชาติมีโอกาสขาดทุนจากอัตรา แลกเปลี่ยนในช่วงสั้นๆ ได้
กลยุทธ์การลงทุนในยามที่ตลาดยังขาด Fund Flow หนุน ต้องเน้นถือเงินสดบางส่วน ราว 20% และทยอยสะสมหุ้น เพื่อหวังผลระยะกลางถึงยาวเป็นหลัก จุดที่สะสมหุ้น เพิ่มแนะนำช่วงค่าเงินบาทที่ชะลอการอ่อนค่า หรือ Fund Flow เริ่มไหลกลับเข้ามาใน ตลาดหุ้นอีกครั้ง
และฝ่ายวิจัยทำการค้นหาหุ้นที่มีค่า P/E24F ต่ำกว่าระดับ -1SD ในช่วง 10 ปีที่ผ่าน มา แสดงให้เห็นว่า ราคาหุ้นปัจจุบันถือว่าถูกกว่าในช่วงอดีตที่ผ่านมามาก พร้อมกับ ข้อมูลผลตอบแทน (ytd) ที่ยังติดลบ และข้อมูล RSI ประกอบ ซึ่งมีบางบริษัทเข้าเขต Oversold ด้วย ได้ผลลัพธ์หุ้น P/E ถูกกว่าปกติ น่าทยอยสะสมเพื่อหวังผลตอบแทน ที่ดีขึ้นในระยะกลางถึงยาว ดังนี้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities