รับส่วนลด 40%
🔥 กลยุทธ์การหุ้นคัดเลือกโดย AI ของเรา หุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ทะยานขึ้น +7.1% ในเดือน พฤษภาคม เข้าเทรดขณะหุ้นกำลังมาแรงรับส่วนลด 40%

สภาพคล่องลด กดดันตลาดปั่นป่วน 

เผยแพร่ 29/09/2566 09:24

วานนี้ SET Index ปรับฐานกว่า -15 จุด เหลือ 1482 จุด โดยเฉพาะช่วงหลังจาก 16.00 น. SET ปรับตัวลดลงกว่า 10 จุด ส่วนหนึ่งเกิดจากการ Rollover สัญญา SET50 Futures ส่วนปัจจัยที่นักลงทุนรอดูในคืนนี้ คือ ตัวเลข PCE สหรัฐ เดือน ส.ค. โดยตลาดคาดเพิ่มขึ้นเป็น 3.5YoY (จาก 3.3% ในเดือนก่อน) รวมถึงจะเกิด Government Shutdown สหรัฐ ในวันเสาร์หรือไม่? ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่า มี โอกาสเกิดขึ้นน้อย และนักลงทุนเองก็กังวลประเด็นนี้น้อยกว่ารอบที่ผ่านๆ มา แต่ ถ้าเกิดขึ้น ในอดีตตลาดหุ้นมักจะถูกกดดันในช่วงแรก แต่ก็ฟื้นกลับมาได้ตลอด

ขณะที่ประเด็นในประเทศ ต้องระวังสภาพคล่อง หรือ Turnover ในตลาดลด น้อยลง กดดันตลาดหุ้นไทย หลายๆ มุม ทั้งตามกลไกตลาดหุ้นไทยจะถูกซื้อขาย บน P/E ที่ลดลง, หุ้นมักจะผันผวนมากกว่าปกติ และที่สำคัญคือ มีโอกาสกดดัน หุ้นขนาดใหญ่ หลุดออกจากดัชนี SET50 ได้ (เนื่องจากมีการใช้เกณฑ์ Turnover ในการพิจารณาด้วย) ในเบื้องต้น ประเมิน DELTA มีโอกาสหลุดดัชนี SET50 รอบ 1H67 ราว 70% และ INTUCH กับ TLI มีโอกาสหลุดน้อยกว่าราว 50%

กลยุทธ์แนะหลบความผันผวนกับหุ้นที่มีปัจจัยหนุน AOT (BK:AOT) (รับกระแส Golden Week), BBL(ได้แรงหนุนดอกเบี้ยขยับขึ้น), CPF(รับกระแสค่าเงินบาทอ่อน)

ลุ้นสหรัฐฯ เสี่ยง Government Shutdown 1 ต.ค.นี้

ัญหาหนี้สาธารณะสหรัฐพุ่งทะลุ 33 ล้านล้านเหรียญฯ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากภาจรัฐมีการใช้จ่ายสูงทั้งปรับลดภาษี ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ สวน ทางกับรายได้จัดเก็บน้อยลงในช่วงโควิด ขณะที่ร่างกฎหมายงบประมาณช่วงที่เหลือ ของปีนี้ - ปี 2024 กำลังเดินทางมาใกล้ถึง Deadline อีกครั้งในวันที่ 30 ก.ย. นี้ แต่ ล่าสุดยังเห็นความขัดแย้งของสภาคองเกรส จากที่พรรครีพับลิกันต้องการลด ค่าใช้จ่ายให้น้อยลง ตรงข้ามกับพรรคเดโมแครตต้องการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มากขึ้น ทำให้สหรัฐฯ เสี่ยงต่อการเกิด Government Shutdown ในวันที่ 1 ต.ค.

โดยจากการรวบรวมข้อมูลของ Bloomberg ชี้ให้เห็นในช่วงที่มีกระแสข่าวกล่าวถึง “Government Shutdown” มักจะอยู่ในช่วงของการจัดสรรปันส่วนงบประมาณปี ถัดไปที่จะสิ้นสุดลง 30 ก.ย. ของทุกปี ซึ่งในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ มักจะ กดดันให้ตลาดหุ้นผันผวนหนัก เฉพาะอย่างยิ่งในปี 2020 – 2021 ที่มีกระแสข่าว เกี่ยวกับ Government Shutdown ออกมาจำนวนมากเมื่อเทียบกับข้อมูลปัจจุบัน อย่างไรก็ตามหากความเสี่ยงดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้น ทำให้กังวลผ่อนคลายลง เป็นผลให้ ตลาดหุ้นจะกลับมาดีดตัวขึ้นในท้ายสุด

ในอีกมุมหนึ่งหากสรัฐเกิด Government Shutdown จริง เชื่อว่าจะกระทบกับตลาด หุ้นไม่มาก โดยเมื่อดูจากสถิติในอดีตพบว่านับตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา ตลาดห้น S&P500 ยังสามารถปรับตัวสูงขึ้นได้ แม้ช่วงดังกล่าวสหรัฐฯ จะประสบกับปัญหา Government Shutdown

สรุป ท่ามปัญหาหนี้สาธารณะที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับมาตราการกระตุ้น เศรษฐกิจท่ามกลางดอกเบี้ยสูง ทำให้สหรัฐฯ เสี่ยงเกิด Government Shutdown ใน วันที่ 1 ต.ค. (ร่างกฎหมายงบฯ Deadline วันที่ 30 ก.ย.) ซึ่งความกังวลเรื่องดังกล่าว มักกดดันให้ตลาดหุ้นผันผวน แต่ท้ายที่สุดหากความเสี่ยงดังกล่าวไม่เกิดขึ้นก็จะทำให้ ตลาดหุ้นดีดตัว อย่างไรก็ตามในกรณีที่สรัฐเกิด Government Shutdown จริง ก็เชื่อ ว่าจะกระทบกับตลาดหุ้นไม่มาก

SET Index ขาดสภาพคล่อง กดดัน Turnover ต่ำ ส่งผลหุ้นใด เสี่ยงหลุด SET50 บ้าง

วานนี้เป็นวัน Roll-over Futures S50U23 จึงทำให้ตั้งแต่ช่วง 16.00 น.-ปิดตลาด ดัชนี ตลาดหุ้นไทยทั้ง SET MAI SET50 SET100 ผันผวนมากกว่าปกติโดยวานนี้ SET ปรับตัวลง 15.01 จุด และปิดที่ระดับ 1482.14 จุด ขณะที่ Flow ต่างชาติยังขายสุทธิหุ้น ไทยต่อเนื่อง 2.7 พันล้านบาท ทำให้ตั้งแต่ต้นเดือนขายสุทธิ 2.3 หมื่นล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ กนง.วันพุธที่ผ่านมา ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ ได้ ทำการศึกษา มูลค่าการซื้อขายหุ้นไทย กับการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย พบว่า มี ความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกัน คือ เวลาที่ดอกเบี้ยนโยบายขยับขึ้น มูลค่าซื้อ ขายในตลาดหุ้นไทยมีโอกาสลดลง จากสถิติในอดีตทุกๆ ดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้น 0.25% กดดันให้มูลค่าซื้อขายหายไปราว -4 พันล้านบาทต่อวัน หรือ Turnover หายไป -6.4% ต่อปี

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาที่ผลตอบแทนของ SET Index มักไม่ดีในช่วงที่สภาพคล่องซื้อขาย ต่ำ สะท้อนได้จากข้อมูล Histogram Turnover ของ SET 2011 - 2022 เทียบกับ ผลตอบแทนเฉลี่ยรายวัน พบว่า เวลาที่มูลค่าซื้อขายสูงกว่าค่าเฉลี่ย (Turnover 87% ต่อปี) ถึง +1SD (Turnover 114.5% ต่อปี) ตลาดหุ้นมีโอกาสให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี สูงถึง 18.3% แต่ถ้ามูลค่าซื้อขายอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (ช่วง -1SD ถึง ค่าเฉลี่ย) ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีจะลดหลั่นลงมาเหลือ +5.6% ต่อปี แต่เวลาที่มูลค่าซื้อขายต่ำ กว่า -1SD (Turnover 59.7% ต่อปี) ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ -2.9%

ซึ่งการที่สภาพคล่องของ SET Index หายไป ส่วนใหญ่มาจากที่หุ้นขนาดใหญ่หลายตัว มีมูลค่าซื้อขายที่เบาบางลงไป และมี Turnover ในแต่ละเดือน นั้นน้อยลง โดยเฉพาะหุ้น ใน SET 50 ดังนั้นหุ้นใน SET50 ตัวใดที่มี Turnover ในแต่ละเดือนน้อย จะมีความเสี่ยง ที่จะถูกคัดออกในรอบถัดไป (ข้อมูลที่ใช้คำนวณ ธ.ค.22 – พ.ย.23) เนื่องจากหุ้นใดที่จะ ถูกคัดเข้าดัชนี SET50-100 ต้องผ่านเกณฑ์มีมี Turnover เกิน 2 เท่าอย่างน้อย 9 ใน 12 เดือน ดังนั้น หากหุ้นใดมี Turnover

• DELTA(โอกาสหลุด SET50 70%) โดย DELTA ติด Cash Balance ไปแล้ว 3 เดือน(ติด Cash balance เดือนไหน เดือนนั้นไม่นำมาคิดในเกณฑ์การ คำนวณ)จึงทำให้หากเดือนนี้DELTA มี Turnover

• INTUCH(โอกาสหลุด SET50 50%) โดย INTUCH มีจำนวนเดือนที่มี Turnover

• TLI(โอกาสหลุด SET50 50%) โดย TLI มีจำนวนเดือนที่มี Turnover

ขณะที่หุ้นที่มีโอกาสจะถูกคัดเข้าดัชนี SET50 แทน คือ หุ้นขนาดใหญ่ที่มีสภาพคล่องสูง และมี Market Cap ใกล้เคียงหุ้นใน SET50 เดิม อาทิJMT KCE THG BCP TCAP เป็นต้น

สรุป สภาพคล่องที่หายไปจากแต่ละนักลงทุน ส่งผลให้ SET Index มีความเสี่ยงที่จะ สร้างผลตอบแทนได้ลดลง โดยหุ้นแต่ละตัวจะมีมูลค่าซื้อขายที่น้อยลงด้วย ดังนั้นจึงไป กระทบกับเกณฑ์การคัดหุ้นเข้า SET50-100 ที่ต้องมี Turnover รายเดือน > 2 เท่า อย่างน้อย 9 ใน 12 เดือน ซึ่งหุ้นที่มีความเสี่ยงจะหลุด SET50 ในรอบถัดไป เนื่องจาก ขาดเกณฑ์ดังกล่าว คือ DELTA INTUCH TLI เป็นต้น

กระแสขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท แต่ละอุตสาหกรรมกระทบ มาก-น้อย แค่ไหน

ค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 337 บาท/วัน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสู่ ระดับ 400 บาท/วัน ซึ่งต้องลุ้นว่าจะเข้า ครม. สัปดาห์นี้หรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีประกาศอย่างชัดเจนว่านโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ สามารถทำได้จริง คาดเริ่มต้นปี 2567 ขณะที่รมว.แรงงาน ยืนยันว่าทำได้จริง แต่อาจจะไม่ได้ทั่วทั้งประเทศ และต้องจ่ายตามทักษะจริง ดังนั้น ฝ่ายวิจัยฯจึงนำเสนอ ผลกระทบในแต่ละ อุตสาหกรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

อุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง : การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะกระทบในส่วนของแรงงาน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 10-20% ของต้นทุนก่อสร้าง ซึ่งบริษัทรับเหมาก่อสร้างมักใช้วิธี Sub contract งานเป็นส่วนๆออกไปให้กับผู้รับเหมาช่วง โดยให้เหมางานรวมทั้ง ค่าแรงงานและค่าวัสดุก่อสร้างเข้าไปด้วย หากมีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำขึ้นจาก 353 บาทเป็น 400 บาท หรือปรับเพิ่มขึ้น 13% ฝ่ายวิจัยประเมินว่าจะทำให้บริษัทรับเหมามี อัตรากำไรขั้นต้นลดลง 2% จากปัจจุบันที่บริษัทรับเหมาฯ มี gross margin เฉลี่ย 6- 10% และมี Net Profit margin 2-6%โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบมากได้แก่บริษัทรับเหมา ที่มีอัตรากำไรต่ำและใช้แรงงานสูง อย่าง ITD,NWR แต่ในทางปฏิบัติ หากมีการปรับเพิ่ม ค่าแรงขั้นต่ำจริง บริษัทรับเหมาก่อสร้างและบริษัทที่รับเหมาช่วงจะแบ่งกันรับภาระ ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไปคนละส่วน อีกทั้งบริษัทรับเหมางานภาครัฐ จะมีเงินชดเชยจากค่า K ซึ่งมี เงินเฟ้อ เป็นองค์ประกอบในการคำนวณด้วย นอกจากนี้งานประมูลที่น่าจะมี ออกมามากขึ้นหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ น่าจะทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรม ก่อสร้างมีลดลง ส่งผลต่ออัตรากำไรของงานก่อสร้างใหม่ๆในอนาคตที่จะดีขึ้น เมื่อถัว เฉลี่ยกับงานใน Backlog เดิมที่จะถูกกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

อุตสาหกรรมนิคม : ฝ่ายวิจัยประเมินว่าผลกระทบต่อยอด pre-sale จะอยู่ในวงจำกัด เมื่อย้อนไปปี 2553 –2555 ที่มีการปรับขึ้นค่าแรงจาก 215 บาท/วัน เป็น 300 บาท/วัน (+40%YoY) หากเปรียบเทียบการขึ้นค่าแรงกับกับยอด pre-sale ของ AMATA พบว่า ยอด pre-sale ไม่ได้ลดลง แม้ค่าแรงจะปรับเพิ่ม แต่ประเทศไทยยังมีจุดเด่นที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม CLMV เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมและกรรมสิทธิ์ในการเป็น เจ้าของที่ดิน เป็นต้น

อุตสาหกรรมพัฒนาที่อยู่อาศัย : แนวโน้มการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากเฉลี่ย 353 บาท เป็น 400 บาท หรือเพิ่มขึ้น 13% ย่อมส่งผลเชิงลบต่อต้นทุนการพัฒนาโครงการของ ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยทุกราย โดยหากพิจารณาโครงสร้างต้นทุนสัดส่วนหลัก 30- 40% มาจากต้นทุนที่ดิน ตามด้วยต้นทุนก่อสร้างและแรงงาน 40-50% ที่เหลือเป็นงาน โครงสร้างและอื่น ๆ ภายใต้การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และปัจจัยอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากอิงจากข้อมูลของผู้ประกอบการบางรายประเมินต้นทุนการพัฒนาจะเพิ่มขึ้น 5- 10% ย่อมกระทบต่อประสิทธิภาพทำกำไร แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการจะสามารถจัดการ กับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ ผ่านการส่งผ่านไปยังราคาขายตามต้นทุนใหม่ ซึ่ง หมายถึงราคาขายอาจต้องปรับขึ้นเฉลี่ย +/-5% เพื่อรักษามาร์จิ้นไว้ รวมถึงบริหาร จัดการต้นทุนอื่น เช่น ใช้ประโยชน์จากระบบ Precast ในการก่อสร้างมากขึ้นเพื่อลด แรงงานคน, ปรับรูปแบบสินค้า เปลี่ยนวัสดุ ลดขนาดบ้าน ฯลฯ เพื่อไม่ให้กระทบต่อมาร์ จิ้นอย่างมีนัยฯ ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพทำกำไรตลอดช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551-2565) พบว่า ผู้ประกอบการยังสามารถรักษา Gross Margin ใน กรอบ 33-35% และ Norm Profit กรอบ 13-15% แม้เผชิญกับวัฏจักรเรื่องต้นทุน ก่อสร้างและแรงงานที่ปรับขึ้นก็ตาม (ยกเว้นปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด และ ส่วนใหญ่เน้นขายสต๊อกพร้อมลดราคา ทำให้ GP ปีดังกล่าวลงมาอยู่ที่ 31% และ Norm Profit อยู่ที่ 12.5% ก่อนเห็นการฟื้นตัวขึ้นในปีถัดไป)

อุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี: ภาพรวมธุรกิจในอุตสาหกรรมพลังงานไม่ได้อิง กับการใช้แรงงาน โดยโครงสร้างต้นทุนส่วนใหญ่จะอิงกับราคาพลังงาน, ค่าเสื่อมราคา เป็นหลัก ในขณะที่ค่าใช้จ่ายพนักงาน (SG&A) ส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายในรูปแบบของ เงินเดือน, โบนัส ดังนั้นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจึงไม่ได้ส่งผลผลกระทบโดยตรงอย่างมี นัยฯ ต่อโครงสร้างต้นทุน หรือผลการดำเนินงานบริษัทในกลุ่มนี้

อุตสาหกรรมค้าปลีก : คาดได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท/ เดือน แต่หากพิจารณาเฉพาะหุ้นกลุ่มพาณิชย์ที่เราศึกษา ส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบ ไม่มากนัก เพราะพนักงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวน พนักงานทั้งหมด (มีสัดส่วน 10% - 20%) ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้น ค่าแรงจะมีสัดส่วนต่ำกว่า 0.5% ของยอดขายของแต่ละราย นอกจากนี้คาดผลจาก ค่าแรงที่สูงขึ้นจะชดเชยได้บางส่วนจากยอดขายที่จะเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป ตามกำลังซื้อที่ มีมากขึ้น บวกกับการที่ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะค่าสาธารณูปโภค ที่ มีจะประหยัดได้ จากค่าไฟฟ้าที่จะลดลงตามนโยบายของภาครัฐ

อุตสาหกรรมสื่อสาร : ผลกระทบต่อการดำเนินงานของหุ้นในกลุ่ม ICT มีน้อยมาก หากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท/เดือน เพราะพนักงานส่วนใหญ่จะได้รับ ผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้งาน AI ช่วยในการดำเนินงานแทนพนักงานระดับต้นด้วย (เช่นงาน Call center ของบริษัทที่ ให้บริการโทรศัพท์มือถือ)

อุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหาร : ปัจจัยดังกล่าว ย่อมมีผลต่อหุ้นในกลุ่มฯ ที่มี โครงสร้างในไทยเป็นหลัก โดย ERW, CENTEL มีสัดส่วนค่าแรงราว 25% -30% ของ OPEX (CGS+SG&A) ขณะที่ร้านอาหารอย่าง M มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายพนักงานคิดเป็น สัดส่วน 51% ของ SG&A ส่วน MINT ด้วยโครงสร้างรายได้ 1H66 มาจากต่างประเทศ : ในประเทศ ที่ 77% : 23% จึงได้รับผลจากนโยบายภาครัฐ (ไทย) ทั้งทางบวกและลบ จำกัดกว่ากลุ่มฯ ในความเห็นของฝ่ายวิจัย ค่าแรงที่สูงขึ้นเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งระบบ จึงคาดเห็นการส่งผ่านราคาไปยังผู้บริโภคในลำดับถัดไป โดยฝ่ายวิจัยมองว่าธุรกิจ โรงแรม จะส่งผ่านราคาได้เร็วกว่าธุรกิจร้านอาหาร เพราะฐานลูกค้าหลักเป็นต่างชาติ ตรงข้ามกับร้านอาหาร ที่อิงกับฐานลูกค้าในประเทศเป็นหลัก ซึ่งเผชิญกับการฟื้นตัว ของกำลังซื้ออย่างค่อยเป็นค่อยไป

• ธุรกิจโรงแรม ซึ่งมี Service charge สูง หากรวม ฐานเงินเดือนอยู่สูงกว่า ค่าแรงขั้นต่ำ จึงยังต้องติดตามว่าสามารถนำ Service charge มารวมในการ คำนวณค่าแรงขั้นต่ำหรือไม่ นอกจากนี้ “การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เท่ากับ ต้นทุนขึ้น ทั้งระบบ” ทำให้ทุกบริษัทในอุตสาหกรรมมีแรงจูงใจในการส่งผ่านราคา โดยเฉพาะโรงแรมที่มีฐานลูกค้าหลักเป็นนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งทุก 100 บาทต่อห้องต่อคืนของค่าห้องพักเฉลี่ย (ADR) ที่เพิ่มขึ้น จะคิดเป็นสัดส่วน 2% -3% ของ ADR งวด 2Q66 ที่เป็น Low season ของทั้ง CENTEL และ ERW (Ex Hop Inn) สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของ ADR รายปีในอดีต หรือคิดเป็น สัดส่วนเล็กน้อย 0.2% ของค่าใช้จ่ายต่อคนของนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2562 เฉลี่ยราว 4.8 หมื่นบาท (สัดส่วน 29% เป็นค่าที่พัก)

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

• ธุรกิจร้านอาหาร แม้ทุกร้านอาหารต้นทุนขึ้นเหมือนกัน แต่ฝ่ายวิจัยประเมิน ผลจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะบริหารจัดการยากกว่า เนื่องจากฐานลูกค้า ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศ ที่กำลังเผชิญกับภาวะหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ใน ระดับสูง คาดเป็นเหตุให้การปรับขึ้นราคาขายทำได้ช้ากว่าธุรกิจโรงแรม

สรุป ประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400บาท/วัน หากเกิดขึ้นจริง คาดผลกระทบใน แต่ะละอุตสาหกรรมแตกต่างกันออกไป แต่อยู่ในวงจำกัดสำหรับบางอุตสาหกรรม(ไม่มี นัยฯมากนัก) ดังนั้นหากราคาหุ้นตอบสนองต่อประเด็นนี้มากเกินไป ถือเป็นโอกาสใน การสะสมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย