เงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมเพิ่มสู่ระดับ 0.38% ตามการชะลอตัวของ และฐานราคาที่สูงในปีก่อน

เผยแพร่ 07/08/2566 12:43
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Headline Inflation July 2023

Actual: 0.38%       Previous: 0.23% 

KTBGM: 0.79%     Consensus: 0.68%

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกรกฎาคมปรับตัวขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 0.38% กดดันโดยการชะลอตัวลงของราคาสินค้าหมวดอาหาร โดยเฉพาะ เนื้อสัตว์ รวมถึงฐานราคาที่สูงในปีก่อนหน้า
  • สำหรับเดือนสิงหาคม กระทรวงพาณิชย์มองว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อยในกรอบแคบๆหนุนโดยการปรับตัวขึ้นของราคาอาหารสำเร็จรูปและราคาสินค้าอาหารบางประเภทตามผลกระทบของภาวะแล้ง ส่วนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก็มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นตามการลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+ อย่างไรก็ดี ฐานราคาที่สูงในปีก่อนจะทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ ตลอดทั้งปี กระทรวงพาณิชย์คงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ในกรอบ 1.0%-2.0% (ค่ากลาง 1.5%)
  • เรามองว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่ได้เร่งตัวขึ้นชัดเจนนั้น อาจทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ไม่ได้กังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อมากนัก ซึ่งเรายังคงมองว่า กนง. อาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.25% จนกว่าจะเห็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงกว่าคาด ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่อาจหนุนเงินเฟ้อได้นั้น คือ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ซึ่งยังมีความไม่ชัดเจน จนกว่าจะการจัดตั้งรัฐบาลจะเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย
  • เราคงแนะนำให้ทยอยเข้าซื้อบอนด์ระยะกลาง-ยาว ในจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น หลังระดับบอนด์ยีลด์ล่าสุดได้ปรับขึ้นสู่ระดับที่น่าสนใจ และเรามองว่า กนง. ก็อาจขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ไม่เกินระดับ 2.50% หากมุมมองเราผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งจะช่วยจำกัด downside risk

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ        0.38% เพิ่มขึ้นจากระดับ 0.23% ในมิถุนายน

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนล่าสุด ลดลง -0.01% จากเดือนก่อนหน้า (เรามอง +0.40%) ตามการปรับตัวลดลงต่อเนื่องของราคาเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ที่ทำให้ ราคาในหมวดอาหารและครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ปรับตัวลดลง -0.60% ส่วนราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น +0.42% ตามการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าเช่าบ้าน และค่าโดยสารเครื่องบิน เป็นต้น
  • เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 0.38% จาก 0.23% ในเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยหนุนยังคงเป็นราคาหมวดอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า ตามความต้องการบริโภคและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมถึงความแปรปรวนของสภาพอากาศที่กระทบต่อผลผลิตในภาคเกษตร อย่างไรก็ดี ปัจจัยกดดันอัตราเงินเฟ้อ มาจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ และระดับฐานราคาสินค้าและบริการที่สูงในปีก่อนหน้า และเมื่อหักราคาอาหารสดรวมถึงพลังงานออก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 0.86%
  • กระทรวงพาณิชย์ มองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม อาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และยังคงประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปีที่ระดับ 1.0%-2.0% (ค่ากลาง 1.5%) โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม อาทิ ความผันผวนของราคาน้ำมันและภาวะภัยแล้ง

อัตราเงินเฟ้อไม่ได้เร่งตัวขึ้นแรง ทำให้เรายังคงมองว่า กนง. อาจจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 2.25% แต่ยังไม่ปิดโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยต่อ หากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานล่าสุด ที่เพิ่มขึ้นไม่มากจากเดือนก่อนหน้า ทำให้เรามองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจยังไม่ได้กังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อมากนัก จนกว่าจะเห็นปัจจัยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งเรามองว่า ปัจจัยที่จะช่วยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น คือ ผลกระทบจากภาวะ El Nino ที่คาดว่าจะมีความรุนแรงใกล้เคียงกับช่วงปี 2014-2016 ซึ่งอาจหนุนให้ราคาสินค้าในหมวดอาหาร เช่น สินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ดี ปัจจัยหนุนอัตราเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ อย่าง นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ก็ยังมีความไม่แน่นอน จนกว่าการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะเรียบร้อย โดยเรามองว่า กนง. อาจรอประเมินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ก่อน ว่าจะส่งผลต่อคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้ออย่างไร ดังนั้นจนกว่าจะเห็นความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ เรายังคงมุมมองเดิมว่า รอบการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของไทยได้จบลงแล้วที่ระดับสูงสุด 2.25%  
  • เรายังไม่ปิดโอกาสที่ กนง. อาจพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยต่อสู่ระดับ 2.50% (เราให้โอกาสเกิดกรณีดังกล่าว 45%) เนื่องจาก กนง. ก็ให้ความสำคัญต่อ การรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน (Policy Space) และการเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว (ซึ่งเรามองว่า กนง. ต้องการให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง หรือ Real Policy Rate เป็นบวก เมื่อเศรษฐกิจกลับสู่ระดับศักยภาพ) แต่ถึงแม้ว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยต่อ ก็อาจปรับขึ้นสู่ระดับ 2.50% เนื่องจากเหตุผลด้านแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังไม่ได้สนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง และในปีหน้า ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอลงหรือเศรษฐกิจหลักเข้าสู่ภาวะถดถอยก็เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะยิ่งทำให้การเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องเกิน 2.50% เป็นเรื่องที่ยากพอควร
  • ทั้งนี้ ระดับบอนด์ยีลด์พันธบัตรรัฐบาลไทยระยะกลาง-ระยะยาว ที่ปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็ถือว่ามีความน่าสนใจอยู่ (โดยเฉพาะถ้ามุมมองของเราที่คาดว่า กนง. ได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วนั้นถูก) ทำให้เรายังคงแนะนำให้นักลงทุนทยอยเข้าซื้อสะสมพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะกลาง-ระยะยาว เน้นกลยุทธ์รอซื้อ ในจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้น (Buy on Dip) และแม้ว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยต่อ สวนทางกับที่เราประเมินว่า เรามองว่า ผลตอบแทนคาดหวังจากบอนด์ระยะกลาง-ระยะยาว ก็ดูจะคุ้มค่าความเสี่ยงที่ดูจะจำกัด หาก กนง. ขึ้นดอกเบี้ยไม่เกิน 2.50% โดย Break-even yield (Yield/Duration) ยังเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากการปรับตัวขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวได้ ทั้งนี้ หากนักลงทุนสามารถลงทุนตราสารหนี้ระยะยาวมากได้นั้น เรามองว่า ยีลด์เคิร์ฟของไทยมีความชันพอควร เมื่อพิจารณาบอนด์ยีลด์ระยะยาวมาก อย่าง บอนด์ยีลด์ 15 ปี (ล่าสุด 2.88%) ทำให้บอนด์ 15 ปี ก็ยังมีความน่าสนใจอยู่
  • แม้เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันอ่อนค่าบ้าง หลังอัตราเงินเฟ้อออกมาต่ำกว่าคาด (ลดโอกาส กนง. ขึ้นดอกเบี้ยต่อ) แต่เราคงมุมมองเดิมว่า ในระยะกลาง-ระยะยาว เงินบาทก็มีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ การฟื้นตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยว ที่จะช่วยหนุนให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากขึ้น ส่วนฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติก็จะเริ่มไหลกลับเข้าตลาดทุนไทยมากขึ้น หลังการจัดตั้งรัฐบาลมีความชัดเจนหรือเสร็จสิ้น ทำให้เราคงแนะนำรอจังหวะ Long ค่าเงินบาท หรือ ทยอยขายเงินดอลลาร์ ในช่วงที่เงินบาทอ่อนค่าลง โดยอาจรอจับตาโซนแนวต้าน 35 บาทต่อดอลลาร์

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย