Economic Highlight
จับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญฝั่งสหรัฐฯ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ PCE และยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการของจีน พร้อมทั้งติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก โดยเฉพาะประธานเฟด นอกจากนี้ ควรจับตาปัญหาการเมืองรัสเซียอย่างใกล้ชิด
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค.
FX Highlight
- สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น หนุนโดยความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย รวมถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ไม่ได้ออกมาแย่นัก
- เรามองว่า ความวุ่นวายทางการเมืองรัสเซียในช่วงวันหยุดอาจสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินได้บ้าง ทำให้ เงินดอลลาร์จะยังพอได้แรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย
- อย่างไรก็ดี เราพบว่า สถานะการถือครองเงินดอลลาร์ยังคงเป็น Net Short (ผู้เล่นในตลาดมองเงินดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าลง) ทำให้ หากข้อมูลเศรษฐกิจออกมาแย่กว่าคาด เช่น อัตราเงินเฟ้อ PCE ต่ำกว่าคาด ก็อาจกดดันให้เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลงได้
- เนื่องจากในช่วงนี้ ค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวสอดคล้องกับค่าเงินหยวนของจีนพอสมควร ทำให้ เรามองว่า ตลาดจะรอลุ้นรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการของจีน ซึ่งหากออกมาแย่กว่าคาด ก็จะยิ่งกดดันบรรยากาศในตลาดการเงินจีนและเอเชีย ส่งผลให้เงินหยวนจีนมีโอกาสอ่อนค่าลง กดดันเงินบาทได้เช่นกัน
- ในส่วนของฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ แม้ว่าแรงขายอาจเริ่มลดลง แต่ในช่วงต้นสัปดาห์บรรยากาศในตลาดการเงินก็อาจถูกกดดันจากปัจจัยเสี่ยงการเมืองรัสเซีย และความไม่แน่นอนของสงครามรัสเซีย-ยูเครน แต่เรามองว่า นักลงทุนต่างชาติก็อาจรอจังหวะในการเข้าซื้อหุ้นไทยได้บ้าง หากดัชนี SET, SET50 ย่อลงใกล้โซนแนวรับสำคัญ
- สำหรับฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติในส่วนตลาดบอนด์ เราคงมองว่า นักลงทุนต่างชาติอาจทยอยกลับเข้ามาซื้อบอนด์ระยะกลาง-ระยะยาวได้บ้าง ในจังหวะที่บอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้น (รอ Buy on dip)
- อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางค่าเงินบาท คือ โฟลว์ธุรกรรมทองคำ โดยเรายังคงเห็นทั้งแรงซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว และโฟลว์ขายทำกำไรการรีบาวด์ของราคาทองคำ ตามแนวโน้มการเคลื่อนไหว sideway ของราคาทองคำในช่วงนี้
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD กลับมาชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อได้บ้าง ทั้งนี้ RSI ได้เริ่มเข้าสู่โซน Overbought
- กรอบค่าเงินบาทมีการขยับขึ้นชัดเจน หลังเงินบาทอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้าน 35 บาทต่อดอลลาร์ โดยเราประเมินว่า แนวต้านใหม่ คือ โซน 35.40-35.50 บาทต่อดอลลาร์ ในส่วนของแนวรับนั้น อาจอยู่ในช่วง 35.00 บาทต่อดอลลาร์ เนื่องจากเป็นช่วงปลายเดือนทำให้อาจมีโฟลว์ธุรกรรมซื้อเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าทยอยเข้ามา
Gold Highlight
- ราคาทองคำเคลื่อนไหว sideway down หลังปรับตัวหลุดโซนแนวรับที่เคยประเมินไว้ ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และแนวโน้มการใช้เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของบรรดาธนาคารกลางหลัก
- ในช่วงต้นสัปดาห์ หากตลาดการเงินอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงหรือระมัดระวังตัวจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองรัสเซีย เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดบางส่วนก็อาจทยอยเข้าซื้อทองคำ เพื่อเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยได้
- อย่างไรก็ดี ควรจับตา การปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินเฟด ซึ่งต้องรอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด
- เราคงมองว่า การย่อตัวลงของราคาทองคำอาจเริ่มจำกัด หากเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ไม่ได้มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาหนุนให้ปรับตัวขึ้นได้ชัดเจน
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD ยังคงสะท้อนว่า ราคาทองคำอาจมีโอกาสแกว่งตัว sideway ทั้งนี้ ควรรอติดตามใกล้ชิดว่า จะเกิดสัญญาณ RSI Bullish Divergence ได้หรือไม่
- เราคงเป้าราคาทองคำไว้ที่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้ ซึ่งอาจรอสัญญาณการกลับตัวที่ชัดเจนก่อนทยอยเข้าซื้อได้เช่นกัน