Economic Highlight
ไฮไลท์รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตาม คือ รายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ รวมถึงรายงานการประชุม FOMC ล่าสุด และนอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก ทั้ง เฟด, ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และ ธนาคารกลางยุโรป (ECB)
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย.
FX Highlight
-
ตลาดการเงินในฝั่งสหรัฐฯ และยุโรปปิดทำการเนื่องจากวันหยุด Good Friday ในช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำให้รายงานยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม Nonfarm Payrolls ของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาดยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินมากนัก ซึ่งต้องจับตาว่า ตลาดการเงินจะเคลื่อนไหวอย่างไรในวันจันทร์นี้
-
เราคาดว่า มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เริ่มกลับมาเชื่อว่าเฟดอาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่ออีกครั้งในการประชุมเดือนพฤษภาคม (โอกาส 71% จาก CME FedWatch Tool) หลังรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ที่ดีกว่าคาด อาจหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อ ส่วนราคาทองคำอาจย่อตัวลงได้บ้าง
-
หากตลาดการเงินเคลื่อนไหวในทิศทางดังกล่าว เงินบาทโอกาสเคลื่อนไหว sideways up หรืออ่อนค่าลงบ้าง แต่ไม่มาก เพราะผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในวันพุธนี้
-
อนึ่ง นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าส ปัจจัยฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ต้องติดตาม หลังนักลงทุนต่างชาติเริ่มขายหุ้นไทยน้อยลงและมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นฝั่งซื้อสุทธิได้ หากตลาดการเงินกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น
-
อย่างไรก็ดี ควรระวังว่า ในช่วงใกล้วันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ โฟลว์ธุรกรรมในตลาดการเงินอาจเบาบางลง ทำให้ค่าเงินบาทมีโอกาสผันผวนในกรอบที่กว้างได้ โดยเราคงมองว่า โซนแนวรับแรกของเงินบาทจะอยู่ในช่วง 33.90-34.00 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนแนวต้านจะอยู่ใกล้เส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วันหรือแถวช่วง 34.20-34.30 บาทต่อดอลลาร์
-
ในเชิงเทคนิคัล ทั้งสัญญาณจาก RSI และ MACD ยังคงสะท้อนว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideways หรือยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ทว่า หากเงินบาทอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้านและยืนเหนือระดับ 34.30 บาทต่อดอลลาร์ได้ ก็อาจเป็นสัญญาณที่ชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อ ทดสอบโซน 34.50 บาทต่อดอลลาร์
Gold Highlight
-
ราคาทองคำอาจเผชิญแรงขายทำกำไรมากขึ้นในสัปดาห์หน้า โดยอาจมี 2 ปัจจัยหลักที่กดดัน คือ 1) ภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) ของผู้เล่นในตลาด หลังข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ในวันศุกร์ที่ผ่านมานั้นออกมาดีกว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจคลายกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงหนัก 2) มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เริ่มกลับมาเชื่อว่าเฟดอาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่ออีกครั้ง (ซึ่งอาจมาพร้อมกับการปรับตัวขึ้นของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ)
-
อย่างไรก็ดี ควรรอลุ้นรายงาน อัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางของราคาทองคำได้พอสมควร
-
หากอัตราเงินเฟ้อชะลอลงมากขึ้นหรือออกมาต่ำกว่าคาด ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมามองว่าเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยตามเดิม ซึ่งมุมมองดังกล่าวอาจหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 2,050 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้
-
แต่ถ้าอัตราเงินเฟ้อไม่ได้ชะลอลงชัดเจน หรือออกมาสูงกว่าคาด ผู้เล่นในตลาดก็จะยิ่งเชื่อว่าเฟดอาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ กดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลงทดสอบโซนแนวรับได้ไม่ยาก
-
ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD เริ่มชี้ว่า ราคาทองคำมีโอกาสย่อตัวลงได้ในระยะสั้น หรืออย่างน้อย ราคาทองคำก็อาจเคลื่อนไหว sideways ไปก่อนในช่วงนี้ โดย RSI อาจเกิดภาพ Bearish Divergence ใน time frame Daily
-
เนื่องจากเราคงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อราคาทองคำ (เป้าใหม่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ทำให้เราคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้