รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

เงินเฟ้อเดือนมีนาคมชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 2.83%

เผยแพร่ 05/04/2566 15:17
อัพเดท 09/07/2566 17:32

เงินเฟ้อเดือนมีนาคมชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 2.83%

ตามการปรับตัวลงของราคาพลังงานและราคาอาหาร (เนื้อสัตว์)

  • Headline Inflation March 2023

Actual: 2.83% Previous: 3.79%

KTBGM: 3.20% Consensus: 3.30%

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคมชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 2.83% จากการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าพลังงานและการชะลอลงของราคาหมวดอาหาร

  • สำหรับไตรมาสที่ 2 กระทรวงพาณิชย์มองว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลง ตามฐานราคาที่สูงในปีก่อน ส่วนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและอาหารสดก็มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นตามการท่องเที่ยว รวมถึงค่าไฟฟ้า ค่าแก๊สหุงต้มที่ยังสูงและการขาดแคลนแรงงานก็อาจส่งผลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อได้ ทั้งนี้ ตลอดทั้งปี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 1.7%-2.7% ลดลงจากคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 2.0%-3.0%

  • เรามองว่า แม้อัตราเงินเฟ้อไทยชะลอลงต่อเนื่อง แต่ยังมีความเสี่ยงที่จะทรงตัวใกล้ขอบบนของกรอบ 1%-3% ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะหากเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวได้ดีขึ้นและผู้ประกอบการมีการส่งผ่านต้นทุนมากขึ้น ทำให้เรายังคงมุมมองเดิมว่า จุดสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะอยู่ระดับ 2.00%

  • แม้ว่า ปัจจุบันผู้เล่นในตลาดเริ่มมองว่าจุดสูงสุดของดอกเบี้ยนโยบายอาจอยู่ที่ระดับ 2.00% หลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ล่าสุด แต่บรรยากาศในตลาดการเงินยังคงกดดันบอนด์ยีลด์ ทำให้เราคงแนะนำว่า นักลงทุนควรรอทยอยซื้อในจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น อาทิ บอนด์ยีลด์ 5 ปี ที่ระดับสูงกว่า 2.25% (fair value 2.30%-2.40%)

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 2.83% ลดลงจากระดับ 3.79% ในเดือนกุมภาพันธ์

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนล่าสุด ลดลง -0.27% จากเดือนก่อนหน้า (เราคาด +0.10%) ตามการปรับตัวลงของราคาในหมวดอาหารและครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ถึง -0.53% นำโดยการปรับตัวลงราว -2.1% ของราคาเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก็ลดลงถึง -0.77%

  • เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 2.83% จาก 3.79% ในเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยหนุนยังคงเป็นราคาหมวดอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า (ในอัตราชะลอลง) สอดคล้องกับภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงถึง -2.5% รวมถึงฐานราคาสินค้าและบริการที่สูงในปีก่อนหน้า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอมากขึ้นในเดือนมีนาคม และเมื่อหักราคาอาหารสดรวมถึงพลังงานออก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 1.75%

  • กระทรวงพาณิชย์ มองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตรา“ชะลอลง” จากฐานราคาที่สูงในปีก่อน กอปรกับราคาสินค้าหลายรายการ อาทิ อาหารสดและน้ำมันเชื้อเพลิงก็มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง ทว่า ต้นทุนผู้ประกอบการที่ยังอยู่ในระดับสูงและอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้นตามภาพเศรษฐกิจก็อาจหนุนราคาสินค้าและบริการได้ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ปรับลดประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปสู่ระดับ 1.7%-2.7% ในปีนี้ (ค่ากลาง 2.2%) จากระดับ 2.0%-3.0% (ค่ากลาง 2.5%) ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า

ถึงอัตราเงินเฟ้อจะชะลอลง แต่ปัจจัยเสี่ยงหนุนอัตราเงินเฟ้อยังมีอยู่ ทำให้เรายังคงมองว่า กนง. จะจบการขึ้นดอกเบี้ย ณ ระดับ 2.00% ในการประชุม กนง. เดือนพฤษภาคม

  • อัตราเงินเฟ้อชะลอลงต่อเนื่อง (ชะลอลงมากกว่าที่เราคาดพอสมควร) แต่จะเห็นได้ว่าปัจจัยสำคัญนั้นมาจากทั้งการปรับตัวลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ซึ่งเรามองว่า ในส่วนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก็มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นชัดเจน หลังกลุ่ม OPEC+ ได้ประกาศลดกำลังการผลิตมากกว่าที่ตลาดคาด ทำให้ราคาน้ำมันดิบ WTI พุ่งขึ้นแตะระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และมีแนวโน้มที่จะทรงตัวในระดับดังกล่าวได้ (หรือปรับตัวขึ้น) หากปัจจัยด้านอุปสงค์หรือความต้องการใช้พลังงานยังคงได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจจีน นอกจากนี้ ราคาหมวดอาหารก็มีโอกาสกลับมาปรับตัวขึ้นได้ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการ (ราคาแก๊สหุงต้มยังสูงอยู่และราคาพลังงานก็เริ่มสูงขึ้นอีกครั้ง) ซึ่งเรามองว่า หากโมเมนตัม ของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป “เฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่า +0.2%m/m” อัตราเงินเฟ้อทั่วไปก็จะอยู่ใกล้ขอบบนของกรอบ 1%-3% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ก่อนที่จะชะลอลงชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี ทำให้เราคงมุมมองเดิมว่า กนง. อาจตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง +0.25% จนแตะระดับสูงสุด (Terminal Rate) 2.00% ในการประชุมเดือนพฤษภาคม

  • หาก กนง. เลือกที่จะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.75% เพื่อรอดูสถานการณ์ไปก่อน เรามองว่า ความเหมาะสมในการขึ้นดอกเบี้ยก็จะเริ่มลดลง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี หากเศรษฐกิจหลัก อย่างฝั่งสหรัฐฯ ยุโรป มีการชะลอลงมากขึ้นและเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ซึ่งเรามองว่าบรรดาธนาคารกลางหลัก โดยเฉพาะเฟดก็อาจจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยภายในครึ่งแรกของปีนี้ได้ ในกรณีดังกล่าว แม้เศรษฐกิจหลักอาจชะลอลงหนัก แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอาจจำกัด ตามอานิสงส์ของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งทางกนง. ก็ได้ประเมินภาพดังกล่าวไว้แล้วบ้าง ดังจะเห็นได้จากการปรับลดคาดการณ์ยอดการส่งออกเป็น “หดตัว -0.7%y/y” ในการประชุมล่าสุด ทำให้เรามองว่า กนง. อาจเลือกที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งไปสู่ระดับ 2.00% และคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวในช่วงครึ่งหลังของปี เพราะการปรับขึ้นดอกเบี้ยในจังหวะที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีขึ้นชัดเจนถือว่าเหมาะสมและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของนโยบายการเงิน (Policy Space) เพื่อรับมือกับความผันผวนของเศรษฐกิจในอนาคตได้

  • ปัจจุบัน ผู้เล่นในตลาดเริ่มกลับมาเชื่อว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจแตะระดับ 2.00% หลังการประชุม กนง. ล่าสุด ที่มีการส่งสัญญาณชัดเจนว่า การขึ้นดอกเบี้ยอาจยังไม่จบ ทำให้บอนด์ยีลด์ไทยมีการปรับตัวขึ้นมาบ้าง (อัตราดอกเบี้ย THOR 2 ปี ก็ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 1.90%) แต่จะเห็นได้ว่า การปรับตัวขึ้นก็ไม่มากนัก ซึ่งเรามองว่าส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากภาพตลาดบอนด์โลกที่ผู้เล่นในตลาดเชื่อว่า เฟดจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยต่อและจะเริ่มลดดอกเบี้ยลงได้ หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุดออกมาแย่กว่าคาด ทำให้บอนด์ยีลด์โดยรวมมีการปรับตัวลดลง โดยเฉพาะในฝั่งสหรัฐฯ ซึ่งเราคงมุมมองเดิมว่า บอนด์ยีลด์ไทยยังมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวสูงขึ้นต่อได้ หาก กนง. เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้จริงตามคาด ดังนั้น นักลงทุนควรรอจังหวะให้ บอนด์ยีลด์ ปรับตัวสูงขึ้น เพื่อทยอยเข้าซื้อ หรือ Buy on Dip อาทิ หากบอนด์ยีลด์ 5 ปี ไทย ทยอยปรับตัวขึ้นเกินกว่าระดับ 2.25% ก็ถือว่าเป็นระดับที่มีความน่าสนใจมากขึ้น (Fair value บนสมมติฐาน terminal rate 2.00% คือ 2.30%-2.40%)

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย