จับตาอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ พร้อมติดตามปัญหาเสถียรภาพระบบธนาคารสหรัฐฯ และยุโรป

เผยแพร่ 27/03/2566 08:31
USD/THB
-
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้เฟดจะส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อและอาจคงดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25% แต่ผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่า เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยลง ท่ามกลางความกังวลปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคาร
  • ควรจับตา ความกังวลของผู้เล่นในตลาดต่อปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคารสหรัฐฯ และยุโรป รวมถึง รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ

  • เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้ หากอัตราเงินเฟ้อ PCE ออกมาสูงกว่าคาด และผู้เล่นในตลาดคลายกังวลปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคาร แต่หากตลาดยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง เงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นได้ ในกรณีที่ ความกังวลอยู่ที่ฝั่งธนาคารยุโรปมากกว่าฝั่งสหรัฐฯ (กดดันสกุลเงินฝั่งยุโรปอ่อนค่าลง) ทั้งนี้ ทองคำและเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อาจยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่ผู้เล่นในตลาดต้องการถือ หากตลาดปิดรับความเสี่ยง ส่วนค่าเงินบาท มีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways โดยมีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้ หากนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะหุ้น หรือ ในจังหวะที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทอาจถูกชะลอด้วยโฟลว์ซื้อสกุลเงินต่างประเทศของบรรดาผู้นำเข้าและบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่น (Japanese MNCs)

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    33.90-34.50
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญ คือ รายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ PCE ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า โมเมนตัมของอัตราเงินเฟ้อ PCE ในเดือนกุมภาพันธ์ อาจชะลอลงสู่ระดับ +0.4%m/m ตามการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าพลังงานและราคาสินค้าโดยรวม ส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อ PCE ชะลอลงสู่ระดับ 5.1% อย่างไรก็ดี หากตัดผลของราคาพลังงานและราคาอาหาร โมเมนตัมของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE จะอยู่ที่ +0.4%m/m ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ยังคงอยู่ที่ระดับ 4.7% สอดคล้องกับภาพตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งและตึงตัว ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ในส่วนภาคการบริการที่ไม่รวมผลของที่อยู่อาศัย (Core Services Ex. Housing) ชะลอตัวลงช้า อย่างไรก็ดี หากอัตราเงินเฟ้อ PCE และ Core PCE ไม่ได้เร่งตัวสูงขึ้น กอปรกับ ภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อจากผลกระทบของปัญหาสภาพคล่องในระบบธนาคาร ก็จะช่วยลดความจำเป็นที่เฟดจะต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องจนทะลุระดับ 5.25% แต่ทว่า เฟดอาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25% จนกว่าเฟดจะมั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มกลับสู่เป้าหมาย 2% อย่างชัดเจน ซึ่งเรามองว่า ภาพดังกล่าวอาจเกิดขึ้นพร้อมกับการชะลอตัวลงมากขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะการจ้างงาน ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายของเฟด หลังผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่า เฟดจะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยและเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

    • ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนี ผ่านรายงานดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Ifo Business Climate) เดือนมีนาคม ซึ่งตลาดคาดว่า ดัชนีอาจปรับตัวลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 91 จุด กดดันโดยแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของธนาคารกลางยุโรป (ECB) รวมถึงภาวะเงินเฟ้อสูง และล่าสุด ความกังวลต่อเสถียรภาพของระบบธนาคาร นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินของทั้งสองธนาคารกลาง ว่าจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยจนแตะจุดสูงสุด (Terminal Rate) ณ ระดับใด

    • ฝั่งเอเชีย – ตลาดจะรอจับตา การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือน อาทิ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ว่าจะสามารถคงโมเมนตัมขยายตัวราว +13%y/y ได้หรือไม่ เช่นเดียวกันกับฝั่งญี่ปุ่น ตลาดมองว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยหนุนให้ยอดค้าปลีกในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น +5.8%y/y ส่วนในฝั่งจีน ตลาดประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจจีนก็มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง หลังการผ่อนคลายมาตรการ Zero COVID สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคบริการเดือนมีนาคม ที่ระดับ 50.5 จุด และ 54.3 จุด ตามลำดับ (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว)

    • ฝั่งไทย – เราคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติเป็นเอกฉันท์ “ขึ้น” ดอกเบี้ยนโยบาย +0.25% สู่ระดับ 1.75% พร้อมกันนั้น กนง. อาจปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวของการบริโภคในประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติดีขึ้นจากการประชุมเดือนธันวาคม ส่วนคาดการณ์ยอดการส่งออกอาจถูกปรับลง ตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะสอดคล้องกับรายงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศในช่วงนี้ ที่ตลาดประเมินว่า ยอดการส่งออก (Exports) เดือนกุมภาพันธ์ จะยังคงหดตัว -7%y/y สอดคล้องกับภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ยอดการนำเข้า (Imports) จะขยายตัว +2%y/y ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความต้องการบริโภคในประเทศที่ขยายตัวได้ดี ทำให้ดุลการค้าอาจขาดดุลเกือบ -2 พันล้านดอลลาร์ได้

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย