รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ทำไมราคาทองคำถึงขึ้นไปแตะระดับ 2,000 ดอลลาร์ แล้วร่วงกลับลงมาอีกครั้ง

เผยแพร่ 21/03/2566 10:10
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ทำไมราคาทองคำถึงขึ้นไปแตะระดับ 2,000 ดอลลาร์ แล้วร่วงกลับลงมาอีกครั้ง

ราคาทองคำรถไฟเหาะในเมื่อวานนี้นะครับ โดยได้มีการย่อตัวลงมาในช่วงเช้าที่ระดับ 1,968 ดอลลาร์ จากสาเหตุที่ได้กล่าวไว้ในบทวิเคราะห์ก่อนหน้านี้

และราคาทองคำได้พุ่งขึ้นในช่วงเวลา 14:00 ซึ่งเป็นช่วงการเปิดตลาดยุโรป โดยราคาทองคำได้พุ่งขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ระดับ 2009 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการขึ้นไปแตะระดับ 2000 ดอลลาร์เป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 3 ปี

เราไปดูสาเหตุที่ทำให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นไปที่ระดับ 2009 ดอลลาร์ในเมื่อวานนี้กันครับ

การร่วงลงของตลาดหุ้นยุโรป ทำให้เงินไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอีกครั้ง หนุนราคาทองคำ

ตลาดกลับมากังวลผลกระทบจากวิกฤติธนาคารในสหรัฐและยุโรปอาจส่งผลต่อพอร์ตของการลงทุนของธนาคารทั่วโลก

นักลงทุนกลับมากังวลต่อวิกฤติธนาคารในต่างประเทศ แม้ธนาคารเครดิต สวิส (Credit Suisse) จะได้รับการแก้ไขปัญญา โดยยูบีเอส (UBS) ธนาคารรายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์ได้เข้าซื้อกิจการในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ไปแล้ว

แต่ตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกกลับตกอยู่ในภาวะตึงเครียด หลังเหตุการณ์ธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) ในสหรัฐล้ม เนื่องด้วยผู้ถือตราสารหนี้ส่วนใหญ่จะเป็นภาคธนาคาร เสี่ยงถูกกระทบอีกระลอกจากมูลค่าตราสารหนี้ที่ต่ำลง หรือมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากการถือครองตราสารหนี้ ทำให้เป็นปัจจัยเข้ามาซ้ำเติมภาคธนาคารมากขึ้น

ตลาดหุ้นเอเชียปิดร่วงทั้งแผง และตลาดหุ้นยุโรปเปิดมาปรับตัวร่วงลง กังวลฐานะการเงินแบงก์ทั่วโลกซึ่งกดดันราคาหุ้นร่วง โดยเฉพาะประเด็นการรับผลขาดทุนจากการถือตราสารหนี้

ดัชนีนิกเกอิปิดตลาดที่ระดับ 26,945.67 จุด ร่วงลง 388.12 จุด หรือ -1.42%

ดัชนี S&P/ASX 200 ปิดที่ 6,898.50 จุด ลดลง 96.30 จุด หรือ -1.38% และดัชนี All Ordinaries ปิดที่ 7,085.10 จุด ลดลง 103.10 จุด หรือ -1.43%

ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) ปิดวันนี้ที่ 2,379.2 จุด ลดลง16.49 จุด หรือ -0.69%

ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดที่ 3,234.91 จุด ลดลง 15.64 จุด หรือ -0.48%

ดัชนีฮั่งเส็งปิดตลาดที่ระดับ 19,000.71 จุด ลดลง 517.88 จุด หรือ -2.65%

ในขณะที่หุ้นยุโรปเปิดตลาดร่วงลง ท่ามกลางความปั่นป่วนในภาคธนาคาร โดยหุ้นของธนาคารเครดิต สวิส (Credit Suisse) ดิ่งลงอย่างหนัก หลังจากธนาคารยูบีเอส (UBS) ตกลงเข้าซื้อกิจการเครดิต สวิส ในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อวานนี้ (19 มี.ค.) ซึ่งคิดเป็นเพียงเศษเสี้ยวของมูลค่าตลาด และสร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตในภาคธนาคารแบบเป็นวงกว้าง

ดัชนี STOXX 600 เปิดที่ 435.05 จุด ลดลง 1.26 จุด หรือ -0.29% โดยหุ้นกลุ่มธนาคารนำตลาดปรับตัวลดลง 3.85%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีเปิดวันนี้ที่ 14,715.40 จุด ลดลง 52.80 จุด หรือ -0.36% และดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสเปิดที่ 6,900.90 จุด ลดลง 24.5 จุด หรือ -0.35%
หุ้นของเครดิต สวิสร่วงลง 62.3% หลังจากที่ธนาคารยูบีเอสประกาศว่าจะซื้อกิจการเครดิต สวิสในราคา 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และรับภาระขาดทุนสูงถึง 5.4 พันล้านดอลลาร์ ในข้อตกลงที่จัดการโดยหน่วยงานกำกับดูแลของสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนหุ้นของยูบีเอสร่วงลงที่ 8.8% ในช่วงเปิดตลาด

ขณะเดียวกัน นักลงทุนตื่นตระหนกต่อกระแสข่าวที่ว่า ราคาหุ้นกู้ที่นับเป็นกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1) หรือ AT1 ของธนาคารเครดิต สวิส ซึ่งมีมูลค่าตามสัญญาที่ 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จะมีมูลค่าเป็นศูนย์ ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่ผู้ถือหุ้นกู้บางส่วนที่คิดว่าตนจะได้รับการคุ้มครองที่ดีกว่าผู้ถือหุ้น

ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลง สาเหตุหลักมาจากการ write off ตราสารหนี้ของธนาคารเครดิตสวิส ซึ่งเป็นตราสารหนี้ที่สามารถแปลงหนี้เป็นหุ้น และนับเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Additional 1:AT1) มูลค่า 1.73 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐถูกตัดเป็นศูนย์ และยังมีธนาคารอื่นในยุโรปที่มีตราสารหนี้ประเภทนี้ นักลงทุนกลัวว่าจะเป็นปัญหากลายเป็นโดมิโนจากความเสี่ยงในการถือตราสารหนี้ AT1 ส่งผลให้ช่วงบ่ายตลาดหุ้นยุโรปผันผวน และส่งผลมาถึงตลาดเอเชียเช่นกัน

ราคาหุ้นเอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ ร่วงลงอย่างหนักในการซื้อขายที่ตลาดหุ้นฮ่องกง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการขาดทุนในหุ้นกู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับเครดิต สวิส

ทั้งนี้ ราคาหุ้นเอชเอสบีซี ดิ่งลง 5.7% และได้ฉุดหุ้นกลุ่มการเงินในตลาดหุ้นฮ่องกงดิ่งลงเป็นวงกว้าง ซึ่งรวมถึงหุ้นธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ร่วงลง 4.1% และหุ้นฮั่งเส็งแบงก์ ร่วงลง 1.7%

และฉุดให้ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงร่วงลงกว่า 3% ในช่วงบ่าย เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคาร แม้มีรายงานว่ายูบีเอส (UBS) ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ ได้ตกลงเข้าซื้อกิจการธนาคารเครดิต สวิส ในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

การที่ยูบีเอสทำข้อตกลงซื้อกิจการเครดิต สวิสนั้น ทำให้ผู้ถือหุ้นกู้จำนวนหนึ่งขาดทุนอย่างมีนัยสำคัญ และนักลงทุนในภูมิภาคอาจจะพากันประเมินการขาดทุนและความเสี่ยงที่เป็นผลมาจากภาวะปั่นป่วนในตลาด

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า แม้ยูบีเอสบรรลุข้อตกลงซื้อกิจการเครดิต สวิส จะเป็นปัจจัยหนุนตลาดในช่วงแรก แต่นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคาร โดยราคาหุ้นเอชเอสบีซี ดิ่งลง 5.7% และได้ฉุดหุ้นกลุ่มการเงินในตลาดหุ้นฮ่องกงดิ่งลงเป็นวงกว้าง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการขาดทุนในหุ้นกู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับเครดิต สวิส

รายงานระบุว่า ราคาหุ้นกู้ที่นับเป็นกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1) ของธนาคารบางแห่งในเอเชียร่วงลงอย่างรุนแรงในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากหน่วยงานกำกับดูแลของสวิตเซอร์แลนด์ระบุว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์หุ้นกู้ของเครดิต สวิส อาจจะหายไปถึง 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากเครดิต สวิส ขายกิจการให้กับยูบีเอส นอกจากนี้ นักลงทุนกำลังประเมินว่า ธนาคารระดับภูมิภาคมีความเกี่ยวข้องกับหุ้นกู้ของเครดิต สวิสมากเพียงใด และจะส่งผลกระทบต่อการระดมทุนของกลุ่มผู้ปล่อยกู้หรือไม่

ตลาดการเงินทั่วโลกยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคาร หลังจากการล้มละลายของธนาคาร 3 แห่งในสหรัฐ ซึ่งรวมถึงซิลลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB)

ในขณะที่สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า หุ้นเครดิต สวิสปรับตัวลดลงถึง 62% ในวันนี้ (20 มี.ค.) ขณะที่หุ้นยูบีเอส (UBS) ปรับตัวลงเกือบ 14% หลังยูบีเอส ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ ได้ตกลงเข้าซื้อกิจการธนาคารเครดิต สวิส ในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อวานนี้ (19 มี.ค.)

นายนีล เชียริง หัวหน้ากลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทแคปิตอล อีโคโนมิกส์ (Capital Economics) ระบุว่า การที่ยูบีเอสเข้าซื้อกิจการเครดิต สวิสอาจเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการยุติข้อสงสัยเกี่ยวกับความอยู่รอดของธุรกิจเครดิต สวิส แต่ปัญหาอยู่ที่รายละเอียดในการซื้อกิจการเครดิต สวิสของยูบีเอส

"ปัญหาหนึ่งก็คือราคาซื้อกิจการที่ 3 พันล้านฟรังก์สวิสนั้นเท่ากับประมาณ 4% ของมูลค่าตามบัญชีของเครดิต สวิส และประมาณ 10% ของมูลค่าตลาดของเครดิต สวิสเมื่อช่วงต้นปีนี้" นายเชียริงกล่าวในวันนี้

"กรณีดังกล่าวหมายความว่าสินทรัพย์จำนวนมากจากทั้งหมด 5.7 แสนล้านดอลลาร์ของเครดิต สวิสอาจด้อยค่าลงหรือถูกมองว่าเสี่ยงที่จะด้อยค่า ซึ่งอาจกระพือความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเข้มแข็งของภาคธนาคาร"

ในขณะที่ธนาคารซาอุดี เนชั่นแนล แบงก์ (Saudi National Bank) หรือ SNB ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดของซาอุดีอาระเบีย และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของเครดิต สวิส เปิดเผยว่า SNB ขาดทุนอย่างหนัก หลังยูบีเอสบรรลุข้อตกลงที่จะเข้าซื้อกิจการเครดิต สวิสในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.2 พันล้านดอลลาร์)

ทั้งนี้ SNB ถือหุ้น 9.9% ในเครดิต สวิส หลังจากที่ได้เข้าลงทุนในเดือนพ.ย.2565 ด้วยการเข้าซื้อหุ้นเครดิต สวิสในราคาหุ้นละ 3.82 ฟรังก์สวิส คิดเป็นวงเงินรวม 1.4 พันล้านฟรังก์สวิส (1.5 พันล้านดอลลาร์)

ภายใต้ข้อตกลงควบรวมกิจการ ยูบีเอสเข้าซื้อหุ้นเครดิต สวิสในราคาเพียงหุ้นละ 0.76 ฟรังก์สวิส ส่งผลให้ SNB ขาดทุนมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ หรือขาดทุนถึง 80% จากการเข้าลงทุนในเครดิต สวิส

อย่างไรก็ดี SNB ออกแถลงการณ์ระบุว่า ตัวเลขขาดทุนดังกล่าวจะไม่กระทบต่อแผนการขยายธุรกิจของทางธนาคาร โดยการลงทุนของ SNB ในเครดิต สวิสคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 0.5% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของทางธนาคาร และการขาดทุนดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของ SNB

ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์, S&P 500, Nasdaq พลิกกลับมาติดลบ ตามตลาดหุ้นยุโรปที่เปิดตลาดมาติดลบในช่วงบ่าย หลังนักลงทุนยังคงวิตกกังวลต่อสถานการณ์ธนาคารในสหรัฐล้ม และได้ลุกลามไปยังยุโรป แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นการเข้ามาแก้ไขปัญหาของภาครัฐบาล และเห็นการระดมทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ธนาคาร แต่ก็ยังไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุน หรือประชาชนขึ้นมาได้ ทำให้นักลงทุนมองว่าวิกฤตธนาคารในครั้งนี้อาจเทียบเท่ากับวิกฤตการณ์การเงินปี 2008 ที่ธนาคาร Lehman Brothers (เลห์แมน บราเธอร์ส) ล้ม และได้กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกให้ร่วงลงในขณะนั้น

และทั้งหมดนี้ก็คือสาเหตุที่ทำให้ราคาทองคำได้พุ่งขึ้นไปแตะระดับ 2,000 ดอลลาร์ได้อีกครั้งในเมื่อวานนี้ครับ

และหลังจากนั้น ราคาทองคำได้มีการร่วงลงกลับมาที่เดิม นั่นคือกลับมาที่ระดับ 1,968 ดอลลาร์อีกครั้ง

และนี่คือข่าวดีที่ได้กลับเข้ามาอีกครั้ง สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ทำให้เงินไหลออกจากสินทรัพย์ปลอดภัยอีกครั้ง กดดันราคาทองคำให้ร่วงลงกลับมาที่เดิม

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้น ขณะที่นักลงทุนขายพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังคลายความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคาร

นายอาร์ต โฮแกน หัวหน้านักวิเคราะห์ตลาดของบริษัท B. Riley Wealth Management กล่าวว่า การที่ยูบีเอสบรรลุข้อตกลงในการเข้าซื้อกิจการเครดิต สวิส ในวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.23 พันล้านดอลลาร์) จะช่วยสร้างเสถียรภาพของระบบธนาคารทั่วโลก "ผมคิดว่าหุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลงมากเกินไป และขณะนี้ถือเป็นโอกาสที่จะเข้าช้อนซื้อหุ้นในตลาด" นายโฮแกนกล่าว

การซื้อกิจการดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ และหน่วยงานกำกับดูแลตลาดการเงินของสวิตเซอร์แลนด์ โดยธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ให้คำมั่นว่าจะจัดสรรเงินกู้ยืมจำนวนสูงถึง 1 แสนล้านฟรังก์ (1.08 แสนล้านดอลลาร์) เพื่อสนับสนุนการซื้อกิจการ ขณะที่รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้อนุมัติวงเงินค้ำประกัน 9 พันล้านดอลลาร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงให้กับยูบีเอส

ในขณะที่หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล รายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวระบุว่า นายเจมี ไดมอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารเจพีมอร์แกน เชส ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐ กำลังเป็นผู้นำการเจรจาร่วมกับผู้บริหารของธนาคารขนาดใหญ่แห่งอื่นๆ เกี่ยวกับมาตรการครั้งใหม่ในการสร้างเสถียรภาพต่อธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิค แบงก์ (First Republic Bank) หรือ FRB

รายงานระบุว่า ธนาคารดังกล่าวกำลังพิจารณาเข้าลงทุนใน FRB โดยอาจมีการแปลงเงินฝาก 3 หมื่นล้านดอลลาร์ก่อนหน้านี้ ให้เป็นการเพิ่มทุนในธนาคาร

ทั้งนี้ ธนาคารรายใหญ่จำนวน 11 แห่งของสหรัฐมีมติในสัปดาห์ที่แล้วในการอัดฉีดเม็ดเงินในรูปเงินฝากจำนวน 3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 1 ล้านล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ FRB

ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำข้อตกลงดังกล่าว ได้แก่ นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และนายเจมี ไดมอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเจพีมอร์แกน เชส ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐ

ตามข้อตกลงดังกล่าว ธนาคารขนาดใหญ่ในวอลล์สตรีทจะฝากเงินใน FRB เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ทางธนาคาร โดยแบงก์ ออฟ อเมริกา, เวลส์ ฟาร์โก, ซิตี้กรุ๊ป และเจพีมอร์แกน จะฝากเงินใน FRB รายละ 5 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่โกลด์แมน แซคส์ และมอร์แกน สแตนลีย์ จะฝากเงินรายละ 2.5 พันล้านดอลลาร์ ส่วนธนาคารทรูอิสต์ ไฟแนนเชียล, พีเอ็นซี, ยูเอส แบงคอร์ป, สเตทสตรีท และแบงก์ ออฟ นิวยอร์ก เมลลอน จะฝากเงินใน FRB รายละ 1 พันล้านดอลลาร์

ในฝั่งยุโรป บริษัทกฎหมาย Quinn Emanuel Urquhart & Sullivan เปิดเผยว่า ทีมนักกฎหมายจากสวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐ และสหราชอาณาจักร กำลังเจรจากับผู้ถือตราสารทางการเงินที่นับเป็นกองทุนสำรองส่วนเพิ่มชั้นที่ 1 (Additional Tier 1 หรือ AT1) ของเครดิต สวิส เพื่อพิจารณาการดำเนินคดี เนื่องจากมีแนวโน้มว่าพวกเขาจะไม่ได้รับสิทธิในการเรียกร้องเงินชดเชยในข้อตกลงที่ยูบีเอส (UBS) เข้าซื้อกิจการของเครดิต สวิส

ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว ผู้ถือ AT1 ของเครดิต สวิส จะไม่มีสิทธิในการรับเงินชดเชย แต่ผู้ถือหุ้นสามัญกลับได้รับเงินชดเชย 3.23 พันล้านดอลลาร์ แม้ว่าผู้ถือหุ้นสามัญมักมีอันดับเป็นรองผู้ถือตราสารหนี้ในการได้รับเงินชดเชยในกรณีธนาคารล้มละลาย

ทั้งนี้ กฎหมายสวิตเซอร์แลนด์ระบุว่า หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินไม่ได้อยู่ภายใต้ข้อผูกมัดที่จะต้องยึดตามโครงสร้างลำดับชั้นเกี่ยวกับเงินทุนในกรณีที่มีการปรับโครงสร้าง ซึ่งส่งผลให้ผู้ถือ AT1 ของเครดิต สวิสไม่สามารถเรียกร้องเงินชดเชยได้

Quinn Emanuel เปิดเผยว่า ผู้ถือ AT1 ของเครดิต สวิสอาจจัดการประชุมในวันพุธนี้

และนักลงทุนเชื่อว่าผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ในวันที่ 21-22 มี.ค.น่าจะทำให้ความกังวลทิศทางนโยบายการเงินคลี่คลาย และคาดว่าเฟดจะพูดถึงความแข็งแกร่งของระบบธนาคาร ความเสี่ยงต่างๆ และปัญหาของธนาคารน่าจะสกัดได้ ดังนั้นตลาดจึงคาดการณ์ไปในทางบวกและเชื่อว่าเฟดจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้

และนี่ก็คือสาเหตุที่ทำให้ราคาทองคำร่วงลงจากระดับ 2,009 ดอลลาร์ กลับลงมาที่ระดับ 1,968 ดอลลาร์อีกครั้งครับ

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ความคิดเห็นล่าสุด

ขอบคุณครับ
บทความที่ฉันชอบ
ขอบคุณครับ
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย