เศรษฐกิจไตรมาสสุดท้าย ขยายตัว +1.4%y/y ทั้งปี 2022 ขยายตัวน้อยกว่าที่คาดไว้

เผยแพร่ 17/02/2566 12:39

เศรษฐกิจไตรมาสสุดท้าย ขยายตัว +1.4%y/y

ทั้งปี 2022 เศรษฐกิจขยายตัว +2.6%y/y น้อยกว่าที่คาดไว้

  • GDP Q4 2022

Actual: +1.4%y/y Previous: +4.5%y/y

Consensus: +3.5%y/y

  • เศรษฐกิจไทยไตรมาสสี่ขยายตัว +1.4% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่เป็นการชะลอตัวลงจากไตรมาสสามที่โตถึง +4.5% ทั้งนี้ เศรษฐกิจยังคงได้แรงหนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกภาคการบริการ (การท่องเที่ยวจากต่างชาติ) ขณะที่ การส่งออกสินค้าและการใช้จ่ายของภาครัฐหดตัวมากขึ้น

  • การชะลอลงของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ทำให้ทั้งปี 2022 เศรษฐกิจขยายตัวราว +2.6% น้อยกว่าที่เราคาดไว้ อย่างไรก็ดี เราคงมุมมองว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวได้ราว +3.2%y/y ในปี 2023 โดยมีเครื่องยนต์หลัก คือ การท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ อาทิ โดยเฉพาะแรงกดดันจากแนวโน้มการชะลอลงของเศรษฐกิจโลกที่อาจกดดันภาคการส่งออก รวมถึง ภาวะเงินเฟ้อสูง และแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ท่ามกลางภาระหนี้สินของครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง

  • เราประเมินว่า การทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ในสภาวะอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยยังอยู่ในระดับสูงจะทำให้ธปท. เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องได้ โดยเราคงมุมมองเดิมว่า ธปท. อาจทยอยขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% ในอีก 2 การประชุมครั้งถัดไป และจบรอบขาขึ้นดอกเบี้ยที่ 2.00%

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Real GDP) ประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2022 ขยายตัว +1.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แย่กว่าที่ตลาดคาดที่ +3.5%

  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสี่ของปี 2022 ขยายตัวราว +1.4% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยหนุนมาจากการบริโภคภาคเอกชน การส่งออกบริการซึ่งส่วนใหญ่คือ การท่องเที่ยวที่ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นมาก อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้ากลับหดตัวถึง -10.5% ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐฯ ก็หดตัวกว่า -8% ตามการลดลงของค่าใช้จ่ายสำหรับ COVID-19 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกองทุนประกันสังคม

  • สศช. ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2023 ขยายตัว 2.7%-3.7% (ค่ากลางอยู่ที่ 3.2%) โดยเศรษฐกิจยังมีแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวต่อเนื่องของการลงทุนโดยรวม แนวโน้มการบริโภคภาคเอกชนที่จะขยายตัวได้ดี รวมถึง การขยายตัวของภาคเกษตร

  • ทั้งนี้ ในการปรับประมาณการเศรษฐกิจใหม่ สศช. ได้ปรับลดคาดการณ์มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ เป็นหดตัว -1.6%y/y จากเดิมที่มองว่า จะขยายตัวราว +1.0%y/y ตามการปรับลดสมมติฐานด้านราคาส่งออกและการปรับลดประมาณการปริมาณการส่งออก (เดิมคาดจะขยายตัว +1.0%y/y ล่าสุด มองหดตัว -0.6%y/y) อย่างไรก็ดี การกลับมาของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะหลังการเปิดประเทศจีน ทำให้ สศช. มีมมุมมองที่ดีขึ้น ต่อรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ โดยรวม สศช. ปรับประมาณการ ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) ดีขึ้นจากประมาณการก่อนหน้า เป็น เกินดุล ราว 8.6 พันล้านดอลลาร์ หรือ คิดเป็น +1.5% ของ GDP

การชะลอลงของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ไม่ได้ทำให้ เราเปลี่ยนมุมมองภาพเศรษฐกิจในปี 2023 ที่จะขยายตัวได้ราว +3.2%y/y และคงมองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจนแตะระดับ 2.00% ในปีนี้

  • แม้ว่า เศรษฐกิจไทยจะมีการชะลอลงมากกว่าคาดในไตรมาสที่ 4 ทว่า หากพิจารณาถึงปัจจัยที่กดดัน ก็มาจากทั้งการส่งออกที่หดตัวกว่าคาด ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ รวมถึงการหดตัวของการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งเป็นไปตามมาตรการเกี่ยวกับ COVID-19 ที่ทยอยลดลง ทว่า ในปีนี้ แม้ภาพเศรษฐกิจฝั่งประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มชะลอตัวหรือเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในคู่ค้าสำคัญ ก็จะช่วยพยุงการส่งออกของไทย และช่วยหนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวต่างชาติได้ ซึ่งในส่วนของภาคการท่องเที่ยว เราได้ประเมินว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจเข้ามาในปีนี้ไม่น้อยกว่า 22 ล้านคน ซึ่งจะช่วยหนุนให้เกิดการจ้างงานในภาคการบริการและช่วยให้การบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่องได้ ทำให้มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะโตได้ +3.2% ในปี 2023

  • หากพิจารณาโมเมนตัมการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับสูงกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำให้เราคงมุมมองเดิม ว่า ธปท. จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อครั้ง ในการประชุมอีก 2 ครั้ง ถัดไป ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะแตะระดับ 2.00% ซึ่งต้องรอจับตาผลการลงมติของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในรอบการประชุมเดือนมีนาคม อย่างใกล้ชิด ว่าจะมีเสียงโหวตให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% บ้างหรือไม่

  • ทั้งนี้ ตลาดการเงินได้เริ่มทยอยรับรู้แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปของ ธปท. พอสมควรแล้ว สะท้อนผ่านการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ระยะสั้นและบอนด์ยีลด์ระยะกลาง ซึ่งเราคงชอบบอนด์ 5 ปี หากบอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้นสูงกว่าระดับ 2.00% หรือเข้าใกล้ระดับ 2.25%

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย