Economic Highlight
ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน รวมถึง ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะประธานเฟด หลังข้อมูลการจ้างงานในสหรัฐฯ ล่าสุด ออกมาดีกว่าคาดไปมาก
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.
FX Highlight
-
เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงต่อทดสอบแนวต้านแรกที่ 33.50 บาทต่อดอลลาร์ ได้ หากตลาดยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง
-
หากเงินบาทอ่อนค่าลงต่อทะลุระดับดังกล่าว ซึ่งเป็นจุด Cut Loss ของผู้เล่นที่มีสถานะ Short USDTHB บางส่วน ก็อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าใกล้แนวต้านถัดไปที่ 33.75 บาทต่อดอลลาร์ได้
-
ทั้งนี้ เรามองว่า เงินบาทอาจไม่ได้อ่อนค่ารุนแรงมากนัก เพราะบรรดาผู้ส่งออกต่างก็รอจังหวะเงินบาทอ่อนค่าเพื่อทยอยขายเงินดอลลาร์
-
นอกจากนี้ แรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติอาจเริ่มชะลอลงบ้าง โดยเฉพาะในฝั่งตลาดหุ้น หลังดัชนี SET50 ได้ปรับฐานลงมาใกล้โซนแนวรับ เส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน ซึ่งหากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนออกมาดีกว่าคาด ผู้เล่นต่างชาติอาจทยอยเข้าซื้อ Buy on Dip ได้
-
อย่างไรก็ดี ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะประธานเฟด รวมถึงรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงิน
-
ในเชิงเทคนิคัล ทั้งสัญญาณจาก RSI และ MACD อาจยังคงชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงได้ สอดคล้องกับ มุมมองเดิมของเราตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ซึ่งเราได้ประเมินจุดต่ำสุดของเงินบาทในระยะสั้นแถว 32.50 บาทต่อดอลลาร์
Gold Highlight
-
ราคาทองคำมีแนวโน้มอยู่ในช่วงปรับฐาน หลังทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นแรงในวันศุกร์ที่ผ่านมา
-
อนึ่ง ราคาอาจพอได้แรงหนุนแถวโซนแนวรับแรกบริเวณเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน (หรือโซนแนวรับหลักที่ 1,830 ดอลลาร์ต่อออนซ์) หากบรรยากาศในตลาดการเงินโดยรวมไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยง
-
แม้ว่า ในเชิงเทคนิคัล ราคาทองคำมีโอกาสย่อตัวลงต่อ แต่เราคงมุมมองเดิมว่า หากราคาทองคำย่อตัว ก็อาจเป็นการพักฐาน เพื่อปรับตัวขึ้นต่อ โดยมีเป้าราคาทองคำในปีนี้ที่ระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะ Buy on Dip ใกล้โซนแนวรับ
-
ทั้งนี้ ควรรอประเมินสถานการณ์ใหม่อีกครั้ง หากราคาทองคำปรับฐานหนัก หลุดกรอบแนวรับเทรนด์ขาขึ้น แถว 1,815 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (Zone Fibonacci Retracement 50%)
Economics Highlight