ตัวเลขเงินเฟ้อชะลอตัวลง หนุนทองทำกำไรระยะสั้นในช่วงคืนที่ผ่านมา
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ธ.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 1.4 ดอลลาร์ หรือ 0.08% ปิดที่ราคา 1,813.7 ดอลลาร์ต่อออนซ์
เป็นไปตามคาดหมายเกี่ยวกับตัวเลขเงินเฟ้อ (ดัชนีราคาผู้บริโภค CPI) ว่าตัวเลขจะออกมาเพิ่มขึ้นแบบชะลอตัว แม้จะต่ำกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ก็ตาม ตัวเลขเงินเฟ้อของเดือนก.ค.ออกมา 8.5% ต่ำกว่านักวิเคราะห์คาดการที่ 8.7% และน้อยกว่าเดือนมิ.ย.ที่ 9.1% ส่งผลให้ตลาดมองเห็นถึงภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มมีการชะลอตัวลงจากมาตรการต่างๆ ของทางธนาคารกลางสหรัฐฯ และสัญญาณบ่งชี้ก่อนหน้าว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวจากการสังเกตุราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่อง นักลงทุนให้น้ำหนักว่าธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดจะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปจากการเฝ้าติดตาม FedWatch Tool ของ CME Group นั้นนักลงทุนให้น้ำหนักว่าเฟดจะมีการปรับดอกเบี้ยที่ 0.50% ขึ้นสู่ระดับ 2.75-3.00% ในการประชุมครั้งต่อไประหว่างวันที่ 20-21 ก.ย. ซึ่งก่อนหน้านี้นักลงทุนให้น้ำหนักเชื่อมั่นว่าจะปรับขึ้นที่ระดับ 0.75% ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าร่วงลงรวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำเพื่อเก็งกำไรระยะสั้นอีกครั้ง ทั้งนี้ทองคำก็เสียแรงบวก เมื่อนักลงทุนมองเห็นโอกาสทำกำไรจากตลาดความเสี่ยงสูงอีกครั้ง ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐอย่าง Dow Jones กลับมาปิดบวก 535.10 จุด, S&P500 ปิดบวก 87.77 จุด ขณะที่ Nasdaq ก็ปิดบวกที่ 360.88 จุด ส่งผลให้ราคาทองคำย่อตัวอีกครั้ง อีกทั้งดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ก็กลับมาช่วงบวกกดดันทองคำด้วยส่วนหนึ่ง
ประเมินทางเทคนิคทองคำวันนี้
ทองคำวันนี้ช่วงเช้าราคาทองคำยังคงปรับตัวย่อลงเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน โดยคาดการณ์ว่าทองคำจะอยู่ช่วงปรับฐานราคาเพื่อสะสมแรงกันอีกครั้ง ประเมินแนวรับบริเวณ 1783-1778 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาทองคำไม่ปรับตัวหลุดแนวรับดังกล่าวลงไป ก็ยังมีโอกาสที่ทองคำจะกลับฟื้นจากการเข้าหนุนราคาทองคำ ซึ่งเมื่อราคาทองคำปรับตัวต่ำในแต่ละรอบนั้นก็มักเป็นโอกาสที่นักลงทุนจะเข้าซื้อทองคำเพื่อเก็งกำไรระยะสั้นเสมอ เมื่อพิจารณาในกรอบรายวันเรายังมองเห็นโอกาสการฟื้นตัวของทองคำในทางเทคนิคอยู่ นักลงทุนจึงควรมองหาโอกาสเข้าซื้อขายทำกำไรระยะสั้นจากบริเวณแนวรับและแนวต้านสำคัญๆ ต่าง วันนี้ทองคำอาจกลับมาแกว่งตัวในกรอบอีกครั้งเนื่องจากมีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องเฝ้าติดตามเช่น ดัชนีราคาผู้ผลิต PPI และ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครัังแรกรายสัปดาห์ ในช่วงเวลา 19:30 น. ตามเวลาประเทศไทย
=================================
กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง
=================================
Short Position : หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้าน 1800-1810 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น อาจเสี่ยงเปิดคำสั่ง “ขาย” ได้จากบริเวณดังกล่าว โดยเน้นการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น พิจารณาขายออกบริเวณแนวรับ 1792-1787 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวสูงกว่า 1810 ดอลลาร์ต่อออนซ์)
Long Position : รอซื้อคืนทองคำหากราคาทองคำย่อตัวลงมาบริเวณแนวรับ 1787-1778 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เน้นการลงทุนระยะสั้น พิจราณาขายออกบริเวณแนวต้าน 1800-1810 หากราคาไม่สามารถผ่านแนวต้านดังกล่าวได้ แต่หากผ่านขึ้นไปได้ก็ให้พิจารณาชะลอการปิดทำกำไรบางส่วนออกไปก่อน ประเมินแนวต้านถัดไปที่ระดับ 1817-1822 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวต่ำกว่า 1778 ดอลลาร์ต่อออนซ์)
แนวรับ แนวต้าน กรอบรายวัน (ระยะกลาง)
-------------------------------------------
Resistance :1803 / 1836 / 1856
-------------------------------------------
Support : 1756 / 1727 / 1681
-------------------------------------------
แนวรับ แนวต้าน กรอบรายชั่วโมง (ระยะสั้น)
-------------------------------------------
Resistance : 1792 / 1800 / 1810
-------------------------------------------
Support : 1783 / 1778 / 1772
-------------------------------------------
แนวโน้มทิศทางทองคำวันนี้
Time Frame H1 = Uptrend
Time Frame H4 = Uptrend
Time Frame Day = Downtrend
Time Frame Week = Uptrend
Time Frame Month = Uptrend
-------------------------------------------
กองทุน SPDR ถือครองทองคำ
-------------------------------------------
สถานะการถือครองทองคำ = ขายออก 1.74 ตัน
คงถือสุทธิ = 997.42 ตัน
ราคาซื้อขายล่าสุด = 1,792 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ปรับการถือครองครั้งที่ = 5
รวมการเคลื่อนไหวล่าสุด = -8.45 ตัน
-------------------------------------------------
คำเตือนการลงทุน
- การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง
- ข้อมูลจากการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นเครื่องมือชี้นำระดมทุน เพียงเป็นเครื่องมือประกอบความรู้ในการลงทุนในแต่ละวันเท่านั้น จึงไม่มีส่วนต่อความรับผิดชอบใดๆ อันเกิดขึ้นในภายหลัง
- การวิเคราะห์เป็นเพียงสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตี 100% ต่อการสร้างผลกำไรในอนาคต