รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

คาด กนง. ขึ้น ดอกเบี้ย หนุน FUND FLOW 

เผยแพร่ 10/08/2565 10:32
อัพเดท 09/07/2566 17:32

การประชุม กนง. วันนี้คาดมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 0.75% คาดว่าน่าจะเห็นการปรับขึ้นต่อในรอบการประชุมที่เหลือของปี โดยประเมินอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายสิ้นปี 2565 อยู่ที่ระดับ 1.25% ด้วยมุมมองการปรับขึ้นดอกเบี้ย ดังกล่าว ประกอบกับสัญญาณบวกจากอัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ค.65 ที่ออกมาต่ำกว่า คาด ทำให้เงินบาทกลับมาแข็งค่า ซึ่งเป็นแรงหนุนประการหลักทำให้Fund Flow ไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นไทย นอกจากนี้ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ เฉพาะอย่างยิ่ง ในช่องแคบไต้หวัน ก็มีส่วนทำให้Fund Flow บางส่วนไหลออกจาก ตลาดไต้หวัน เข้าสู่ตลาดหุ้นไทยอีกทางหนึ่งด้วย ประเด็นที่ต้องติดตามในช่วงนี้คือการประกาศ ผลประกอบการ 2Q65 ทั้งนี้จากตัวเลขที่ประกาศออกมาแล้วจนถึงปัจจุบัน พบว่า ดีกว่าที่ทั้งฝ่ายวิจัย และ Consensus คาดการณ์ไว้

SET Index น่าจะผันผวนทิศทางขึ้นกรอบ 1610 – 1630 จุด พอร์ตจำลองวันนี้ให้ ปรับลดเงินสดลงจาก 20% เหลือ 10% โดยเข้าซื้อ CENTEL น้ำหนัก 10%หุ้น Top Pick เลือก BEM, CENTEL และ KBANK (BK:KBANK)

ประชุม กนง.วันนี้ คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ดีต่อหุ้นกลุ่ม BANK, ประกัน

อัตราเงินเฟ้อของทุกประเทศทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยหลายประเทศทำ ตัวเลขสูงสุดในรอบ 10 – 40 ปี ทำให้ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ก็เริ่มขยับตัวในทิศทาง เดียวกัน โดยการใช้นโยบายทางการเงินเชิงรุกมากขึ้น โดยแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันไป ตามสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับทิศทางของเงินเฟ้อ ฐานะ การคลัง และ สถานะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ของแต่ละประเทศ อาทิ ECB ปรับขึ้น ดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี ปรับขึ้น +0.50% (สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 0.25%) และ นับเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 22 ปี ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯก็ปรับขึ้นดอกเบี้ย มาแล้วกว่า 4 ครั้งในปีนี้จาก 0.25% มาสู่ระดับ 2.50% โดยนักลงทุนให้น้ำหนักการ ประกาศอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯเดือน ก.ค.65 ในคืนนี้ที่ตลาดคาด +8.8%YoY (ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ +9.10%YoY)

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อไทยเดือน ก.ค.65 +7.61%YoY(ต่ำกว่าตลาดคาด +7.8%YoY) แต่ยัง ถือว่าเป็นตัวเลขระดับสูง และเป็นแรงกดดันให้ กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยในวันนี้ โดยตลาด คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% มาอยู่ที่ 0.75%(ขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกรอบ 4 ปี) และคาดขึ้น ดอกเบี้ยทุกครั้งในปีนี้ ครั้งละ 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยปลายปีอยู่ที่ 1.25% ประเด็น ดังกล่าวจึงทำให้Spread ของดอกเบี้ยไทย-สหรัฐฯกว้างที่ระดับ 2% ในปัจจุบัน และกว้าง ถึง 2.5% ณ สิ้นปี 2565(อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯสิ้นปี 3.75% , อัตราดอกเบี้ยไทยสิ้นปี 1.25%)

ทั้งนี้ คาดว่าประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยในไทย ถือเป็นเรื่องหนึ่งแรงที่คอยกดดันตลาดหุ้น ไทยในอนาคต อย่างไรก็ตามยังพอมีหุ้นที่สามารถรับมือกับปัจจัยดังกล่าวได้ดี และ น่าจะ Outperform ตลาดได้อาทิ หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์(KBANK BBL SCB KTB), กลุ่มประกัน(BLA) เป็นต้น

ผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยต่อกลุ่ม BANK, NON-BANK

กลุ่มธพ.

ภายใต้สมมติฐาน กนง. ขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบาย 0.25% ในการประชุมครั้งนี้ จะผลักดัน อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร (Interbank) ทั้งในฝั่งสินทรัพย์ (รายได้ดอกเบี้ยรับ) และ หนี้สิน (ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย) ที่อิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในอัตราเดียวกัน ภาพรวม สุทธิแล้วบวกต่อ BBL(FV@B152) มากสุดในกลุ่มฯ ที่มีสัดส่วนรายได้ดอกเบี้ยจาก Interbank สุทธิ คิดเป็นสัดส่วนราว 5% ของรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) งวด 1H65 เทียบ กับค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ราว 2% - 3% ของ NII ช่วง 1H65 นอกจากนี้การปรับขึ้นของอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายจะหนุนอัตราดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้อง อย่าง BIBOR ให้ปรับขึ้นตาม ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นอัตราดอกเบี้ยที่คิดกับเงินให้สินเชื่อแก่ลูกค้าภาครัฐ ดีต่อ KTB(FV@B18) ที่มี สัดส่วนสินเชื่อรัฐบาลมากสุดในกลุ่มฯ ราว 19% ของพอร์ตสินเชื่อธนาคารฯ

สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อกลุ่ม M-Rate (MLR, MRR, MOR) และเงินฝาก ติดตาม การบริหารจัดการตามกลไกลตลาดของแต่ละธนาคาร แม้มองว่าผลบวกต่อปี 2565 จำกัด เนื่องจากระยะเวลาในการคิดอัตราดอกเบี้ยใหม่อยู่ที่ราว 4 เดือน ก่อนจะส่งผลบวกต่อ NII และกำไรก่อนสำรอง (PPOP) ในปี 2566 ทั้งนี้ หากพิจารณาโครงส้างสินเชื่อกลุ่มฯ ราว 77% สามารถปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยภายใน 1 ปี นำโดย KTB, BBL, KBANK และ SCB ตามลำดับ ตรงข้ามกับต้นทุนทางการเงินที่ประมาณ 67% เป็น Floating rate ภาพ ดังกล่าวจึงบวกต่อ ธ.พ. ขนาดใหญ่ ลบต่อ TISCO และกลางๆ ต่อ KKP (TISCO และ KKP ได้สะท้อนในประมาณการปี 2566 – 67 แล้ว)

เบื้องต้นฝ่ายวิจัยประเมินทุก 0.25% ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เปลี่ยนแปลงและ ธ.พ. มี การบริหารจัดการตามกลไกลตลาด จะทำให้ NIM ธ.พ. ใหญ่ เพิ่มขึ้น 0.05% - 0.10% โดย ภายใต้ Sensitivity Analysis (สมมติฐานอื่นคงเดิม) จะพบว่าในกรณีที่ NIM เพิ่มขึ้น (ลดลง) 0.1% จากสมมติฐานฝ่ายวิจัย จะทำให้กำไรของ BBL, KTB เปลี่ยนแปลงราว 10% ส่วน KBANK และ SCB ประมาณ 7% - 8%

เลือก ธ.พ. ใหญ่ ตามธีมดอกเบี้ยขาขึ้น อีกทั้งคาดหวังการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. จะ ช่วยหนุน Fund Flow ไหลเข้า บวกโดยตรงต่อกลุ่มธนาคาร เลือก KBANK(FV@B174) จากการจัดการ NPL เชิงรุกลุ้น NPL ผ่าน peak level เร็วกว่า เพื่อน อีกทั้ง Non – NII หากมีรายการใหญ่เกิดขึ้นตามกระแสข่าวจริง ยกระดับ PPOP บวกต่อความสามารถในการบริหารจัดการ NPL รวมทั้งเพิ่ม LLR ตามด้วย KTB(FV@B18) แนวโน้มกำไรปี 2565 เติบโตเด่นสุด และคุณภาพสินทรัพย์ ณ สิ้นงวด 2Q65 สบายใจกว่า ธ.พ. ใหญ่อื่นๆ และสุดท้าย SCB(FV@B140) เพราะจุดยืนด้าน Fin tech ชัดเจน และราคาหุ้นผ่านการปรับฐานพอสมควร ส่วน TISCO(FV@B102) กรณี ที่เงินบาทแข็งค่า จะช่วยจูงใจในเชิง Div Yield สำหรับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้นจาก ปัจจุบันที่ประมาณ 8% (จ่ายปีละครั้ง)

กลุ่มเช่าซื้อ

หากธนาคารแห่งประเทศไทยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จะทำให้แนวโน้ม Cost of funds ของกลุ่มเช่าซื้อสูงขึ้น เพราะโครงสร้างหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยจ่าย บางส่วนเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว แต่อัตราดอกเบี้ยที่ปล่อยกู้ให้ลูกค้าเป็นอัตราดอกเบี้ย คงที่ทั้งหมด โดยหากกำหนดสมมติฐานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบาย 0.25% จะทำให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมใหม่ของกลุ่มเช่าซื้อสูงขึ้น และ สมมติฐานอื่นไม่เปลี่ยนแปลง จะส่งผลกระทบต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2566 ของกลุ่ม เช่าซื้อราว 1.1% โดยผู้ประกอบการที่กระทบมากสุดเรียงได้ดังสรุปในตารางด้านล่าง (ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่มบริหารสินทรัพย์ เช่น BAM และ JMT เป็นต้น อ้างอิงอัตรา ดอกเบี้ยที่คิดลูกค้าในอัตรา MLR ซึ่งเป็นอัตราลอยตัว จะสามารถหักล้างแนวโน้มอัตรา ดอกเบี้ยกู้ยืมที่จะเพิ่มขึ้นไปได้ทั้งหมด จึงประเมินว่าจะได้รับผลกระทบจำกัด) ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินว่าแนวโน้มความต้องการใช้สินเชื่อของกลุ่มจะเติบโตต่อเนื่องในปี 2565-66 จากแนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัว โดยเลือก TIDLOR (FV@B42) และ JMT (FV ปี 2565@B80 และ FV ปี 2566@B100) เป็น Top pick ของกลุ่มฯ

FUND FLOW ดูมีสัญญาณดีขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมา เริ่มเห็น Fund Flow ต่างชาติทยอยไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง โดยวาน นี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 3.2 พันล้านบาท และตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. ถึงปัจจุบัน ต่างชาติซื้อ สุทธิสะสมหุ้นไทยมาแล้วกว่า 1.18 หมื่นล้านบาท (mtd)

1. เม็ดเงินบางส่วนจากตลาดหุ้นไต้หวันอาจไหลเข้ามาสนับสนุนตลาดหุ้นไทย บ้าง โดยนับตั้งแต่นางเพโลซีเยือนไต้หวันตอนต้นเดือน ส.ค. จนถึงปัจจุบัน ต่างชาติทยอยขายสุทธิหุ้นไต้หวันเกือบทุกวันทำการ กว่า 626 ล้านเหรียญ (mtd) ด้วยความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนระหว่างจีนกับไต้หวันที่มีต่อเนื่อง ส่งผลให้ Fund Flow บางส่วน น่าจะย้ายจากตลาดหุ้นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมได้

2. ปิดประตู Downside ประมาณการกำไร หลังบริษัทจดทะเบียนรายงานงบ 2Q65 กว่า 147 บริษัท ออกมาดีกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดถึง 7% หนุนให้อาจเห็นการทบทวนประมาณการกำไรทั้งปี 2565 ขึ้น

3. รอดูการขึ้นดอกเบี้ยของกนง. ในวันนี้ หนุน Spread ดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐ แคบลงบ้าง หนุนค่าเงินบาทชะลอการอ่อนค่าช่วงสั้น ถือว่าดีกับ Fund Flow เมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่ผ่านมา

ทั้ง 3 ปัจจัยถือเป็นสัญญาณที่ดีขึ้น สำหรับการตัดสินใจซื้อหุ้นไทยของนักลงทุน ต่างชาติเมื่อเทียบกับในช่วงที่ผ่านมา

สำหรับกลยุทธ์วันนี้ ประเมิน SET เคลื่อนไหวในกรอบจำกัด 1600 -1615 จุด แนะนำ หุ้นใหญ่คาดหวังแรงหนุนจาก Fund Flow อย่าง KBANK (ได้แรงหนุนจากการเข้าสู่ ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น), CENTEL (กำไรอยู่ในช่วง Recovery มีสถานะทางการเงิน แข็งแกร่ง หนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับต่ำสุดในกลุ่ม), BEM (เห็นแนวโน้มกำไรฟื้นตัวได้ดี ตามจำนวนผู้ใช้ทางด่วนและรถไฟฟ้าที่สูงขึ้น)

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย