หลังจากปรับตัวลดลงมาจากจุดสูงสุดตลอดกาลในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2021 บิทคอยน์และอีเทอเรียมได้ลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2022 ตั้งแต่นั้นมา สกุลเงินดิจิทัลทั้งสองยังคงปรับตัวลดลง และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ตั้งแต่ขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดเหนือ $65,000 และวิ่งกลับลงมา ราคาบิทคอยน์ทำท่าว่าจะสร้างโซนปรับฐานอยู่ที่ $40,000 เช่นเดียวกับอีเทอเรียมที่ทำโซนพักฐานอยู่ที่ $3,000 ในขณะที่มูลค่าตลาดของตลาดสกุลเงินดิจิทัลทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ แม้จะมีเหรียญใหม่ๆ เกิดขึ้นมากกว่า 19,200 สกุลเงิน
แม้จะมีจำนวนเหรียญหน้าใหม่เพิ่มขึ้นมากแค่ไหนก็ตาม แต่นับตั้งแต่สร้างจุดสูงสุดตลอดกาลไปเมื่อปี 2020 ตลาดสกุลเงินดิจิทัลก็วิ่งอยู่ในแนวโน้มขาลงมาโดยตลอด นักลงทุนคริปโตฯ ทุกคนต่างคาดหวังว่าตลาดแห่งนี้จะกลับมาพุ่งทะยาน เติบโตได้อย่างโดดเด่นเกินหน้าเกินตาสินทรัพย์ประเภทอื่น โดยเฉพาะอย่างในวันที่พวกเขาขนานนามตัวเองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยอีกประเภทหนึ่ง แต่จากสภาพการฟอร์มตัวล่าสุด และภาพรวมทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีความเป็นไปได้่ว่าตลาดอาจจะทะยานได้ทั้งการเป็นขาขึ้นและขาลง
สถานการณ์ตลาดคริปโตฯ ในปัจจุบัน
นับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคมปี 2022 มาจนถึงปัจจุบัน ราคาบิทคอยน์ก็สวิงขึ้นลงไปมาอยู่ระหว่าง $40,000
อ้างอิง: Barchart
จากรูปนี้เราจะเห็นว่า ราคาบิทคอยน์มีการสร้างโซนราคาจากต่ำสุดที่ 33,076.69 ดอลลาร์ขึ้นไปถึงจุดสูงที่ 48,187.21 ดอลลาร์ โดยเฉลี่ยแล้ว ราคาบิทคอยน์ก่อนหลุด $40,000 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 40,631.95 ดอลลาร์ ก่อนที่จะร่วงลงไปวิ่งต่ำกว่า $36,000 เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว และลงไปทำจุดต่ำสุดในขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ที่ $33,565 ระดับราคา $40,000 กลายเป็นหมุดหมายใหม่สำหรับขาขึ้นที่ต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้เป็นที่เรียบร้อย
อ้างอิง: Barchart
สถานการณ์ของสกุลเงินอีเทอเรียมก็ไม่ต่างกัน ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม ราคาซื้อขายสกุลเงินอีเทอเรียมโดยเฉลี่ยนั้นอยู่ที่ $2,163.316 ถึง $3,579.866 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ $2,871.591 แต่ในขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ ราคาเหรียญอีเทอเรียมนั้นอยู่ที่ $2,451.42 แนวต้านใหม่ที่พึ่งกลายเป็นแนวต้านหลักของสกุลเงินอีเทอเรียมคือ $3,000
จากสถานการณ์ปัจจุบันของตลาดคริปโตฯ นำมาซึ่งคำถามว่าเมื่อไหร่ตลาดสกุลเงินดิจิทัลถึงจะกลับมาผงาดได้อีกครั้ง ทั้งๆ ที่ตอนนี้มีปัจจัยหนุนสินทรัพย์โภคภัณฑ์ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อ สงคราม โรคระบาด ตามความเห็นของเรา มีความเป็นไปได้อยู่สามประการ ที่จะทำให้ตลาดสกุลเงินดิจิทัลสามารถฟื้นคืนชีพได้ในตอนนี้
1. มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในตลาดคริปโตฯ
ในช่วงปลายปี 2017 การเปิดตัวบิทคอยน์ฟิวเจอร์สบนตลาด CME ได้ทำให้บิทคอยน์ทะยานขึ้นแตะระดับ 20,000 ดอลลาร์ได้เป็นครั้งแรก จากนั้นการถือกำเนิดของกระดานแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Coinbase (NASDAQ:COIN) และการถูกลิสต์ขึ้นบนดัชนี NASDAQ ในเดือนเมษายน 2021 ได้ทำให้ราคาบิทคอยน์ปรับตัวสูงขึ้นอีก เหตุการณ์สำคัญๆ ที่เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ของโลกคริปโตฯ มักมีแนวโน้มที่จะผลักดันราคาให้ปรับตัวสูงขึ้น
เหตุการณ์บางอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในตอนนี้คือการที่สกุลเงินดิจิทัลได้รับการยอมรับจากนักลงทุนรายย่อย และซัพพลายเออร์มากขึ้น การที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ยอมรับและสนับสนุนการชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลยิ่งหมายความว่าจะมีผู้คนเข้าถึงสินทรัพย์เหล่านี้ได้มากขึ้น นักลงทุนรายใหญ่เช่น Elon Musk, Jack Dorsey และเจ้าพ่อเทคโนโลยีรายอื่น ๆ กำลังพยายามพาสกุลเงินดิจิทัลไปได้ไกลที่สุดมากดท่าที่จะเป็นไปได้
ขาลงที่เกิดขึ้นและตลาดที่อ่อนแอในปัจจุบันเกิดขึ้นหลังจากงานคาร์นิวัลประจำปีของบริษัท Berkshire Hathaway (NYSE:BRKa) ในเมืองโอมาฮา รัฐเนแบรสกา วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนชื่อดังของบริษัทกล่าวถึงสกุลเงินดิจิทัลว่า:
“ถ้าคุณบอกผมว่าคุณเป็นเจ้าของบิทคอยน์ทั้งหมดในโลก และคุณเสนอขายให้ผมในราคา $25 ผมจะไม่รับมันเพราะผมไม่รู้ว่าจะเอาบิทคอยน์ไปทำอะไร? ผมคงต้องขายคืนให้คุณไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับผมเลย”
2. การแทรกแซงจากรัฐบาล
นอกจากบัฟเฟตต์ไม่เชื่อว่าบิทคอยน์หรือสกุลเงินดิจิทัลเป็น "สินทรัพย์ที่มีประสิทธิผล" ชาร์ลี มังเกอร์ (Charlie Munger) หุ้นส่วนและเพื่อนสนิทของบัฟเฟตต์พูดอย่างตรงไปตรงมาต่อสกุลเงินดิจิทัลว่า:
“ในชีวิตของผม ผมพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่โง่เขลา ชั่วร้าย และทำให้ผมดูแย่เมื่อเทียบกับคนอื่นๆ ซึ่งบิทคอยน์เป้นทั้งสามสิ่งที่กล่าวมานั้น”
ชาร์ลียังกล่าวต่อไปอี่กว่า“เหตุผลที่การลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลดูเป็นเรื่องที่โง่เง่าเพราะมันยังคงมีแนวโน้มที่จะเป็นศูนย์ และเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายที่บ่อนทำลายระบบธนาคารกลางสหรัฐ ผู้นำคอมมิวนิสต์จีน เขาฉลาดพอที่จะแบนบิทคอยน์ในประเทศจีน”
อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง วิวัฒนาการของการปฏิวัติฟินเทคกลับสนับสนุนคริปโตฯ แต่ สถาบันการเงินแบบดั้งเดิมและรัฐบาลต่างพยายามปฏิเสธมัน เลือกเอาแต่สิ่งที่ต้องการ และปราบปรามสิ่งที่จะไม่ขัดต่ออำนาจของพวกเขา บัฟเฟตต์ มังเกอร์ ข้าราชการ และบริษัทการเงินแบบดั้งเดิมเห็นด้วยว่าเทคโนโลยีบล็อคเชนสามารถช่วยปรับปรุงความเร็วของธุรกรรม และการเก็บบันทึก อย่างไรก็ตาม พวกเขากลับไม่ต้องการสกุลเงินดิจิทัล
3. โดนแฮกครั้งใหญ่
สงครามระหว่างรัสเซียยูเครน การคว่ำบาตรและการตอบโต้ทางเศรษฐกิจ ล้วนคุกคามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรป แต่อีกฝั่งหนึ่งของขั้วความขัดแย้งอย่างรัสเซียก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน การแบ่งแยกส่วนทางอุดมการณ์การปกครอง และการจับมือร่วมกันระหว่างจีนและรัสเซียภายใต้เงื่อนไข "การช่วยเหลือไม่จำกัด" ทำให้เศรษฐกิจโลกแบ่งขั้วอำนาจออกอย่างชัดเจน
การแฮ็ก (Hacking) หรือการเข้าถึงข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ถูกใช้เพื่อหาประโยชน์จากจุดอ่อนในระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่าย เพื่อขโมยทรัพย์สินออนไลน์โดยไม่ทำอันตรายทางกายภาพต่อองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐบาล
ในอดีต แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญี่ที่สุดเคยมีชื่อว่า Mount Gox เคยเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนบิทคอยน์มากกว่า 70% ในระบบทั้งหมด ความโดดเด่นของ Mt. Gox ทำให้มันเป็นเป้าหมายหลักสำหรับแฮ็กเกอร์ ที่ทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยมากกว่าสองสามครั้ง จนนำไปสู่การพังทลายของมหานครบาลิโลนแห่งสกุลเงินดิจิทัลในยุคนั้น
ในปี 2011 แฮกเกอร์ใช้ข้อมูลประจำตัวที่ถูกขโมยมาเพื่อโอนบิทคอยน์ ส่งผลให้มีการขโมยบิทคอยน์หลายพันเหรียญ อย่างไรก็ตามมูลค่าของบิทคอยน์ในตอนนั้นยังไม่สูงมาก ณ ตอนั้นบิทคอยน์ยังมีมูลค่าอยู่ที่ 4.19 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ จึงทำให้การขสูญเสียนั้นยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 100,000 ดอลลาร์ แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 แพลตฟอร์ม Mt. Gox ก็ต้องเจอกับการโจมตีร้ายแรง เมื่อแฮกเกอร์สามารถขโมยบิทคอยน์จำนวน 650,000 ถึง 850,000 เหรียญได้สำเร็จ และนำมาสู่การล่มสลายของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สดในเวลาต่อมา
การปรับฐานของตลาดสกุลเงินดิจิทัลในตอนนี้ยังถือว่าอยู่ห่างจากจุดสูงสุดตลอดกาลในปี 2021 เป็นอย่างมาก ดูเหมือนว่าตลาดแห่งนี้กำลังเฝ้ารออัศวินม้าขาวมาสร้างปรากฎการณ์ให้ตลาดแห่งนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง ยิ่งราคาปรับฐานนานเท่าไหร่ ความสำคัญของแนวโน้มครั้งถัดไปยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น แต่จะวิ่งไปทางไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าสุดท้ายแล้วโลกของเราจะยอมรับสินทรัพย์ในโลกแบบเดิมหรือโลกแบบใหม่มากกว่ากัน