เมื่อวานนี้เราได้เขียนบทความเกี่ยวกับการจำกัดการส่งออกพลังงานของรัสเซียไปยังยุโรป ที่อาจกดดันราคาก๊าซธรรมชาติให้ปรับตัวสูงขึ้น บทความในวันนี้จะมาพูดถึงผลกระทบจากการกระทำของรัสเซียกันต่อ ว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดสกุลเงินอย่างไรกันบ้าง
หากไม่นับถึงการกระทำอันโหดร้ายที่มีต่อพลเมืองและประเทศยูเครน ต้องยอมรับว่าการแก้เกมของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ที่สามารถทำให้ค่าเงินรูเบิลฟื้นตัวกลับมาได้นั้นค่อนข้างน่าประทับใจ ก่อนหน้านี้ในจังหวะที่รัสเซียพึ่งเปิดฉากรุกรานยูเครนใหม่ๆ การคว่ำบาตรอย่างรุนแรงจากตะวันตกได้ทำให้มูลค่าของสกุลเงินรูเบิลร่วงลงประมาณ 20% การฟื้นตัวนี้เกิดขึ้นทั้งๆ ที่เคยถูกคาดการณ์เอาไว้ว่าสกุลเงินรูเบิลจะร่วงลงต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าพวกเขาจะหยุดยิง
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้สกุลเงินรูเบิลฟื้นตัวกลับมาได้เป็นเพราะการที่รัฐบาลรัสเซียสั่งห้ามพลเมืองขายสกุลเงินรูเบิลเพื่อแลกเป็นสกุลเงินต่างประเทศ สำหรับประเด็นนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกานายแอนโทนี่ บลิงเคน บอกว่านี่คือการแทรกแซงค่าเงิน และอีกหนึ่งสาเหตุที่สนับสนุนการฟื้นตัวของสกุลเงินรูเบิลคือการตั้งเงื่อนไขให้กับประเทศที่ไม่เป็นพันธมิตรกับรัสเซียว่า ประเทศที่จะซื้อก๊าซธรรมชาติและพลังงานอื่นๆ จากรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในยูโรโซน จะต้องชำระเงินเป็นสกุลเงินรูเบิล มิเช่นนั้นจะไม่มีการส่งพลังงานไปให้ ซึ่งยูโรปพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียมากถึง 45%
ในบทความเมื่อวานนี้เราได้เขียนไปแล้วว่าบริษัทผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซียนามแก๊สพรอม (MCX:GAZP) ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำรัสเซียไปเรียบร้อยแล้ว และได้ทำการเชือดไก่ให้ลิงดูด้วยการระงับการส่งก๊าซธรรมชาติไปยังโปแลนด์และบัลกาเรีย นี่คือการตอบโต้ต่อการส่งเสบียงอาวุธให้กับยูเครนจากสหรัฐฯ และพันธมิตร
ตามความเห็นของเรา เราเชื่อว่าเหตุผลที่แท้จริงคือเรื่องเศรษฐกิจ หากใช้กลยุทธ์นี้ต่อไป ปูตินจะสามารถประคองค่าเงินรูเบิลที่เป็นไข้อ่อนๆ ของเขาได้นานขึ้น นักวิเคราะห์หลายคนเป็นกังวลว่าหากปูตินเห็นว่าวิธีนี้ได้ผล เขาอาจจะยกระดับแผนนี้ไปบังคับใช้กับประเทศอื่นๆ ในยุโรปด้วย ซึ่งจะยิ่งเร่งให้ยุโรปต้องรีบหาซัพพลายเออร์ด้านพลังงานอื่นๆ มาแทนพลังงานจากรัสเซียให้ได้เร็วขึ้น
ข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้บอกว่าตอนนี้บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ในยุโรปหลายแห่งไม่มีทางเลือกนอกจากต้องยอมรับข้อเสนอของปูติน ยินยอมซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียด้วยสกุลเงินรูเบิล โดยปกติแล้ว หากสถานการณ์ออกมาเป็นเช่นนี้ ก็ควรที่จะหนุนคู่สกุลเงินยูโรเทียบรูเบิลให้ปรับตัวขึ้นไปอย่างน้อยก็ในระยะกลาง แต่ล่าสุด กราฟ EUR/RUB กลับร่วงลงเป็นเวลาหกวันติดต่อกัน ทำสถิติขาลงที่ยาวนานที่สุด เท่าที่เราจะหาข้อมูลได้
จากการวิเคราะหฺ์ทางเทคนิค มีแนวโน้มว่ากราฟจะปรับตัวลดลงต่อไป
จากรูปจะเห็นว่ากราฟ EUR/RUB สร้างกรอบธงขาลงเสร็จแล้ว ซึ่งระยะราคาเป้าหมายที่เป็นไปได้ก็คือเท่ากับจำนวนขาลงที่ทำมาก่อนเกิดสามเหลี่ยมรูปธง หากเป็นไปตามการคาดการณ์นี้ หมายความว่าราคาจะต้องหลุดลงไปวิ่งต่ำกว่าเส้นเทรนด์ไลน์ขาลงระยะยาว ที่ลากมาตั้งแต่จุดต่ำสุดในปี 2015 ขาลงต่อเนื่องครั้งนี้ (ถ้าเป็นไปตามที่คิด) จะหมายความว่าคนยอมใช้ยูโรมากขึ้น เพื่อซื้อรูเบิลที่มีมูลค่าน้อยนิด สร้างความแข็งแกร่งให้กับสกุลเงินรูเบิล แต่ก่อนจะเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นจริง อาจต้องใช้เวลาสักระยะ
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่ากราฟดีดตัวกลับขึ้นไปทดสอบโซนกรอบสามเหลี่ยมรูปธง ที่ตอนนี้กลายเป็นแนวต้านใหม่
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง หาจังหวะวางคำสั่งขายในจังหวะกราฟกำลังย่อตัวขึ้นไปทดสอบสามเหลี่ยม
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งซื้อสวนเทรนด์ เพราะเชื่อว่าขาลงติดต่อกันหกตัวต้องพักตัวปรับขึ้นบ้าง จากนั้นจึงตามด้วยการวางคำสั่งขาย
ตัวอย่างการเทรดที่ 1: ขาขึ้น
- จุดเข้า: 75.000
- Stop-Loss: 74.000
- ความเสี่ยง: 1,000 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:80.000
- ผลตอบแทน: 5,000 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:5
ตัวอย่างการเทรดที่ 2: ขาลง
- จุดเข้า: 85.000
- Stop-Loss: 86.000
- ความเสี่ยง: 1,000 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:75.000
- ผลตอบแทน: 70,000 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:10