🥇 กฎข้อแรกของการลงทุนหรือ? รู้ว่าเมื่อใดควรประหยัด! รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ก่อนโปรโมชั่น BLACK FRIDAY จะหมดเขตรับส่วนลด

ถ้าตลาดทำใจไว้แล้ว ต่อให้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยกี่ครั้ง…นักลงทุนก็ไม่กลัว

เผยแพร่ 01/02/2565 13:38

การที่ตลาดลงทุนถูกปกคลุมไปด้วยบรรดากาศการเสี่ยงทายจำนวนครั้งที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น ทำให้ประเด็นนี้เหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ไม่ว่าจะขึ้น 0.25% หรือ 0.50% สำหรับนักลงทุนตอนนี้พวกเขาคงไม่รู้ประหลาดใจหรือกังวลใดๆ อีก ราฟาเอล บอสติค ประธานธนาคารกลางสาขาแอตแลนต้าออกมาให้สัมภาษณ์กับ Financial Times ในสัปดาห์ที่แล้วว่า

“ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจอาจกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ จำเป็นที่จะต้องวางนโยบายการเงินที่แข็งกร้าวขึ้น ซึ่งนั่นรวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ด้วย ทุกๆ ความเป็นไปได้ที่ตลาดลงทุนคิดออก ได้ถูกนำขึ้นมาพิจารณาทุกครั้งที่มีการประชุม ซึ่งหากตัวเลขเศรษฐกิจชี้นำเราว่าจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ผมจะเป็นคนหนึ่งที่โหวตสนับสนุนเรื่องนี้อย่างแน่นอน ผมลืมบอกไป คำว่า “แข็งกร้าว” ในความหมายของผมรวมถึงจำนวนครั้งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะมากกว่าสามครั้งด้วย”

ความเป็นไปได้ในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยกลายเป็น 5 ครั้งแทนที่จะเป็น 3?

ถึงจุดๆ หนึ่ง นักลงทุนจะเริ่มคิดว่ามีอะไรบางอย่างซ่อนอยู่เบื้องหลังความเป็นไปได้ในการทำนโยบายการเงินให้แข็งกร้าวครั้งนี้หรือไม่ ข้อมูลจากสำนักวิเคราะห์หลายแห่งเริ่มชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะขึ้นดอกเบี้ยห้าครั้ง พวกเขาคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก 0.50% เลยทีเดียว เพื่อแสดงให้เห็นว่าเฟดนั้นจริงจังและต้องการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อโดยเร็วที่สุด

การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ในสัปดาห์ที่แล้วเป็นไปตามที่ตลาดลงทุนคาดการณ์ ไม่มีการดำเนินการใดๆ เพิ่มเติม นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ย้ำว่าโครงการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) จะสิ้นสุดลงภายในเดือนมีนาคมนี้ และบอกให้นักลงทุนเตรียมพร้อมรับกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ในคอลัมน์หนึ่งของข่าวจากบลูมเบิร์ก อดีตผู้บริหารของ Pimco ได้คอมเมนต์ถึงคำพูดของเจอโรม พาวเวลล์ครั้งล่าสุดนี้ว่า

“เฟดออกมาพูดในสิ่งที่ผมคาดการณ์เอาไว้อยู่แล้ว แต่ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว พวกเขาควรหยุดซื้อสินทรัพย์ทันที และบอกมาเลยตรงๆ ว่าวันเวลาไหนที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่กลับกลายเป็นว่าเจอโรม พาวเวลล์ก็ยังกล้าที่จะใช้วิธีเดิมๆ แบบที่เคยทำในปีที่แล้ว นวดตลาดไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ยอมให้รายละเอียดเพิ่มเติม เหมือนว่าเขาจะสนุกมากกับการทำให้ตลาดลงทุนรู้สึกเสี่ยงอยู่เวลา”

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญตัวหนึ่ง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสี่มาตรวัดเงินเฟ้อด้วย นั่นก็คือการรายงานตัวเลขดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน ตัวเลขของเดือนธันวาคมที่ออกมาเมื่อวันศุกร์นั้นขยับตัวขึ้นเป็น 4.9% สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1983 จากรายงานตัวเลขนี้ มีส่วนหนึ่งที่น่าสนใจคือตัวเลขต้นทุนของค่าแรงในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 4% ภายในระยะเวลา 12 เดือน เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 20 ปี นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นตาม ซึ่งจะยิ่งทำให้ยากในการกดเงินเฟ้อลงมา

ในสัปดาห์หน้า กรรมาธิการสภาสูงของสหรัฐฯ จะต้องเข้ารับฟังถ้อยแถลงของว่าที่ผู้มีสิทธิ์นั่งในบอร์ดบริหารธนาคารกลางสหรัฐฯ คนใหม่ จอร์จ วิลล์ คอมลัมนิสต์สายอนุรักษ์นิยมเคยวิจารณ์สองคนที่ถูกเสนอชื่อในวอชิงตันโพสต์ด้วยพาดหัวกระทู้ว่า “ไบเดนกับการส่งนักเคลื่อนไหวทางการเงินสองคนเข้าไปอยู่ในธนาคารกลางสหรัฐฯ”

วิลล์ได้เขียนวิจารณ์นางลิซ่า คุก ศาสตร์ตราจารย์จากมหาลัยมิชิแกนว่าควรจะเป็นให้ความสำคัญกับประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เฟดทำอยู่แล้ว เพราะงานวิจัยนโยบายการเงินของเธอนั้นยังถือว่าง่ายเกินไป นอกจากนี้วิลล์ยังตั้งข้อสังเกตว่าการแต่งตั้งลิซ่าให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานเฟดแห่งชิคาโกนั้นเกิดขึ้นสิงสัปดาห์ก่อนที่เธอจะได้เสนอชื่อให้เป็นผู้ว่าการธนาคารกลาง

นอกจากวิลล์จะมีประเด็นกับลิซ่าแล้ว เขายังวิจารณ์ซาร่าห์ บลูม รัสกิ้น ที่กำลังจะได้ขึ้นแถลงต่อกรรมาธิการสภาสูงของสหรัฐฯ ในฐานะผู้ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งรองประธานเฟดว่า ที่ผ่านมาเธอเป็นนักต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่ปฏิเสธเงินจากบริษัทที่ใช้พลังงานยุคเก่า แล้วการที่มายืนอยู่ตรงนี้แปลว่าเธอได้ละทิ้งอุดมการณ์ไปแล้วอย่างนั้นหรือ วิลล์ยังส่งข้อความตำหนิไปถึงธนาคารกลางสหรัฐฯ ด้วยว่ากำลังจะใช้โอกาสนี้เบี่ยงเบนความสนใจของคนออกจากความผิดพลาดที่ตัวเองสร้างขึ้นมาในปีก่อน

ต้องยอมรับว่าภาพลักษณ์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในตอนนี้ดูห่างไกลกับคำว่า “ผู้พิทักษ์เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ” ออกไปทุกที การกระทำของธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้วทำให้พูดได้ยากว่าพวกเขาไม่มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเมืองจริงๆ ประธานเฟดประจำสาขาสองคนต้องออกจากตำแหน่งเพราะแอบเอาเงินไปลงทุนในตลาดหุ้น ในขณะที่เจอโรม พาวเวลล์ แม้จะหลุดข้อหานี้มาได้ แต่ก็ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำให้อเมริกาต้องจมอยู่กับเงินเฟ้อ เพื่อแลกกับการที่เขาได้ดำรงตำแหน่งประธานเฟดในสมัยที่สอง   

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย