รับส่วนลด 40%
🔥 กลยุทธ์การหุ้นคัดเลือกโดย AI ของเรา หุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ทะยานขึ้น +7.1% ในเดือน พฤษภาคม เข้าเทรดขณะหุ้นกำลังมาแรงรับส่วนลด 40%

ระวังเงินบาทผันผวนในสัปดาห์สุดท้ายของปี 2021

เผยแพร่ 27/12/2564 08:51
USD/THB
-
DX
-
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หลังผู้เล่นในตลาดเริ่มคลายกังวลปัญหาการระบาดของโอมิครอน
  • ติดตามสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนทั่วโลก รวมถึงการระบาดในประเทศไทย ซึ่งการระบาดระลอกใหม่อาจเกิดขึ้น แต่ความรุนแรงอาจไม่ได้น่ากังวลมากนัก หากรัฐบาลสามารถเร่งแจกจ่ายวัคซีนเข็มกระตุ้นได้

  • เงินดอลลาร์มีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways ในช่วงปลายปี โดยอาจมีบางช่วงที่อ่อนค่าลงตามภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด ทว่า เงินดอลลาร์ยังพอมีแรงหนุนอยู่จากปัญหาการระบาดของโอมิครอนทั่วโลกและแนวโน้มเฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด ส่วนทิศทางเงินบาทต้องจับตาสถานการณ์การระบาดในประเทศ ซึ่งอาจทำให้เงินบาทแกว่งตัว sideways และไม่สามารถแข็งค่าได้เร็ว โดยแนวรับสำคัญของเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 33.30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นโซนที่ผู้นำเข้าต่างรอซื้อเงินดอลลาร์ อนึ่งตลาดการเงินอาจมีธุรกรรมที่เบาบางในช่วงปลายปี ทำให้ค่าเงินบาทอาจผันผวนในกรอบกว้างได้ หากมีธุรกรรมขนาดใหญ่เข้ามาในตลาด

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    33.20-33.60
    บาท/ดอลลาร์

  • กรอบเงินบาท
  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – แม้ว่า ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสัปดาห์สุดท้ายของปีจะมีไม่มากนัก แต่ตลาดจะให้ความสนใจแนวโน้มการระบาดของโอมิครอนในสหรัฐฯ ว่าจะเริ่มมีความรุนแรงจนน่ากังวลหรือไม่ เพราะผู้เล่นในตลาดต่างประเมินว่าสถานการณ์การระบาดอาจไม่ได้รุนแรงจนน่ากังวล ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ต่างปรับตัวสูงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา อนึ่ง แม้ว่าตลาดจะกล้าเปิดรับความเสี่ยง ส่งผลให้ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) อย่างเงินดอลลาร์ลดลง แต่ปัญหาการระบาดของโอมิครอนทั่วโลก รวมถึงแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของเฟด จะยังพอช่วยหนุนไม่ให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าไปมากและมีแนวโน้มที่จะเห็นเงินดอลลาร์แกว่งตัว sideways จนกว่า ปัญหาการระบาดโอมิครอนจะไม่น่ากังวลอีกต่อไป ถึงจะสามารถเริ่มเห็นแนวโน้มการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ได้

    • ฝั่งยุโรป – ตลาดจะรอติดตามสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทั่วยุโรปอย่างใกล้ชิด เพราะหากการระบาดทวีความรุนแรงกว่าคาด ก็อาจกดดันให้รัฐบาลฝั่งยุโรปใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดมากขึ้น กดดันให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจของยูโรโซนชะลอลงได้ ทั้งนี้ เรามองว่า การระบาดในยุโรปอาจใกล้ถึงจุดพีคภายใน 1 เดือนข้างหน้า และมีโอกาสที่จะสงบลงได้ หลังรัฐบาลเร่งแจกจ่ายวัคซีนเข็มกระตุ้น

    • ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะส่งสัญญาณฟื้นตัวที่ดีขึ้น สะท้อนผ่าน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนพฤศจิกายน ที่จะปรับตัวขึ้นราว +1.3% จากเดือนก่อนหน้า หนุนโดยความต้องการบริโภคที่เร่งตัวขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown (Pent-up demands) สอดคล้องกับภาพความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในภาคการผลิตก็มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี โดยยอดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือนพฤศจิกายน ก็จะโตขึ้นราว +4.8% จากเดือนก่อน สอดคล้องกับภาวะขยายตัวในอัตราเร่งของภาคการผลิต ดังจะเห็นได้จากการปรับตัวขึ้นของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) ส่วนในฝั่งจีน ภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังมีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการ (Manufacturing & Non- Manufacturing PMIs) ในเดือนธันวาคมที่ยังทรงตัว ณ ระดับ 50.1 จุด และ 52 จุด ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เรามองว่า การใช้นโยบายทางการเงินที่มีความผ่อนคลายลงของธนาคารกลางจีน (PBOC) อาทิ การลด Reserve Requirement Ratio และ ล่าสุด การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปี อาจช่วยหนุนให้เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้ดีขึ้นในปีหน้า

    • ฝั่งไทย – สถานการณ์การระบาดของโอมิครอนในประเทศยังเป็นปัจจัยที่ต้องจับตา หลังเริ่มพบการระบาดในลักษณะคลัสเตอร์ อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า การระบาดระลอกใหม่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความรุนแรงและผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาจไม่มากนัก หากรัฐบาลสามารถเร่งแจกจ่ายวัคซีนกระตุ้น หรือ แจกจ่ายวัคซีนในกลุ่มเด็ก/เยาวชน ซึ่งข้อมูลล่าสุดในอังกฤษระบุว่า กลุ่มเด็ก/เยาวชน มีอัตราการนอนโรงพยาบาลที่สูงขึ้นเทียบกับการระบาดในระลอกก่อนหน้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรระมัดระวังความผันผวนในตลาดช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี หากมีธุรกรรมขนาดใหญ่เข้ามาในตลาด ในช่วงที่ธุรกรรมในตลาดโดยรวมเบาบางลงกว่าช่วงปกติ

    Weekahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย