รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ยอดการจ้างงานสหรัฐฯ แกร่ง อาจไม่ใช่เรื่องดี ในช่วงตลาดกลัว COVID

เผยแพร่ 29/11/2564 08:29
อัพเดท 09/07/2566 17:32
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ความกังวลการระบาด COVID สายพันธุ์ใหม่ได้กดดันให้ตลาดกลับมาปิดรับความเสี่ยง
  • ตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ซึ่งอาจสนับสนุนให้เฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้เร็ว นอกจากนี้ หากตลาดยังคงกังวลปัญหาการระบาดของ COVID สายพันธุ์ “Omicron” บรรยากาศในตลาดการเงินก็อาจยังคงปิดรับความเสี่ยงต่อในช่วงนี้

  • เงินดอลลาร์ อาจเคลื่อนไหว sideways หากตลาดกังวลการระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะหนุน Safe Haven อย่างเงินเยนมากกว่าเงินดอลลาร์ ขณะที่เงินดอลลาร์อาจพอมีแรงหนุนหากข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด ทั้งนี้ ตลาดจะรอประเมินท่าทีของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางเงินดอลลาร์ได้ ส่วนเงินบาทอาจผันผวนในฝั่งอ่อนค่าต่อ ตามความกังวลของตลาดต่อปัญหาการระบาดของ Omicron แต่เรามองว่า เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมาก เพราะหากราคาทองคำปรับตัวขึ้นตามภาพตลาดปิดรับความเสี่ยง ก็อาจมีโฟลว์ขายทำกำไรทองคำช่วยพยุงเงินบาท อีกทั้งผู้ส่งออกต่างรอทยอยขายเงินดอลลาร์ ทำให้แนวต้านจะอยู่ใกล้ระดับ 33.70-34.00 บาทต่อดอลลาร์

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    33.35-34.00
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ คือ รายงานข้อมูลตลาดแรงงาน โดยเฉพาะยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls:NFP) ซึ่งตลาดต่างประเมินว่า หากยอด NFP ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อาทิ เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 แสนตำแหน่ง อาจหนุนให้บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่สนับสนุนการเร่งลดคิวอีในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ อย่างไรก็ดี มุมมองของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจและนโยบายการเงินอาจเปลี่ยนไปได้ ท่ามกลางความเสี่ยงการระบาด COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ หรือ Omicron ซึ่งตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด อาทิ ประธานเฟด Powell, William และ Clarida เป็นต้น อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง หนุนโดยการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการผลิตและการบริการในเดือนพฤศจิกายน ชี้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (ISM Mfg. & Services PMIs) ที่ระดับ 61.1 จุด และ 65 จุด ตามลำดับ (ดัชนี >50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว)

    • ฝั่งยุโรป – ตลาดมองว่า ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ของยูโรโซนในเดือนตุลาคม อาจโตขึ้น +0.3% ดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัว อย่างไรก็ดี สถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ของ COVID ซึ่งเริ่มส่งผลให้บางประเทศกลับมาใช้มาตรการ Lockdown รวมถึงความกังวลต่อแนวโน้มการระบาดของ “Omicron” อาจส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจยุโรปส่งสัญญาณชะลอตัวลงมากขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งโมเมนตัมการฟื้นตัวเศรษฐกิจของยุโรปที่ยังไม่สดใสนักอาจกดดันให้ สินทรัพย์ในฝั่งยุโรป รวมถึง เงินยูโร (EUR) ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นหรือแข็งค่าไปได้มากนัก

    • ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะจับตาแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่คาดว่าจะได้แรงหนุนจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown โดยตลาดมองว่ายอดค้าปลีกในเดือนตุลาคม จะขยายตัวต่อเนื่องราว +1.2% จากเดือนก่อนหน้า หนุนให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวดีขึ้น ส่วนในฝั่งเกาหลีใต้ โมเมนตัมการขยายตัวของภาคการส่งออกยังคงแข็งแกร่งและช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยในเดือนพฤศจิกายน ยอดส่งออก (Exports) จะโตราว 25%y/y อย่างไรก็ดี ในฝั่งของประเทศจีนเศรษฐกิจอาจฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ท่ามกลางปัญหาหนี้ของภาคอสังหาฯของจีน รวมถึงปัญหาการระบาดของ COVID ระลอกใหม่ ทำให้ตลาดมองว่าภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการของจีนอาจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (Official Manufacturing & Services PMIs) ในเดือนพฤศจิกายน ที่จะลดลงสู่ระดับ 49 จุด และ 51.3 จุด อย่างไรก็ดี เรามองว่า ราคาสินทรัพย์ในฝั่งจีนอาจรับรู้ปัจจัยลบไปมากพอสมควรแล้ว ทำให้ Downside risks อาจเริ่มจำกัด แม้ว่าตลาดการเงินโลกอาจกลับมาอยู่ในโหมดปิดรับความเสี่ยงจากความกังวล Omicron ในระยะสั้น ทำให้จังหวะการปรับฐานหนักของสินทรัพย์จีน อาจเป็นโอกาสในการทยอยเข้าลงทุนได้

    • ฝั่งไทย – เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในเดือนพฤศจิกายน สะท้อนผ่านกิจกรรมในภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่จะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตอาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51 จุด เช่นเดียวกับ ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ (Business Sentiment) ที่จะปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับ 49 จุด เช่นกัน ชี้ว่าบรรดาผู้ประกอบการมีมุมมองต่อแนวโน้มธุรกิจและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งมุมมองดังกล่าวจะช่วยหนุนทั้งการลงทุนและการจ้างงานโดยภาคธุรกิจ นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจะช่วยหนุนให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือนพฤศจิกายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 2.50% อย่างไรก็ดี การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อจะไม่ได้ส่งผลต่อการตัดสินใจนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) เนื่องจาก BOT คงมองเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นจากปัจจัยชั่วคราวและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายยังจำเป็นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

    Weekahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย