การถือกำเนิดขึ้นของโซเชียลมีเดียทำให้เราได้เห็นคำว่า “ตื่นรู้” ปรากฎขึ้นอยู่บ่อยๆ เราได้เห็นเด็กๆ เยาวชนรุ่นใหม่ๆ หันมา “ตื่นรู้” สนใจเรื่องราวทางการเมืองมากขึ้น เราได้เห็นพวกเขา “ตื่นรู้” เกี่ยวกับปัญหาสภาวะโลกร้อน ได้เห็นคนรุ่นใหม่อย่างเกรต้า ธันเบิร์ก ออกมาต่อว่าผู้ใหญ่อย่างไม่ไว้หน้าให้ “ตื่นรู้” ว่าโลกเรากำลังจะพังกันหมดเพราะเห็นแก่ผลกำไรมากกว่าส่วนรวม
เช่นเดียวกันกับสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกโซเชียล การที่นายซาโตชิ นากาโมโต้ ได้สร้างบิทคอยน์ขึ้นมาก็เพื่อทำให้ผู้คน “ตื่นรู้” ว่าพวกเรากำลังเป็นทาสในระบบการเงินปกติที่มีรัฐบาลเป็นผู้ผูกขาดระบบทางการเงิน โดยที่พวกเราจะสามารถทำเละ ทำพัง ตัดสินใจผิดพลาดอย่างไรก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบ ซาโตชิมีความเชื่อว่าเมื่อระหว่างคนสองคนไม่สามารถเชื่อถือกันได้ งั้นก็ยกความน่าเชื่อถือให้ตัวเลขเป็นคนจัดการ บิทคอยน์ทำให้คนได้ “ตื่นรู้” ว่าไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาลมากำกับการเงิน พวกเราก็ยังสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้
หากมองในแง่ของการลงทุน ตลาดสกุลเงินดิจิทัลได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าเป็นผู้ปลดแอกพันธนาการจากรัฐบาล หรือเพราะเป็นตลาดขาขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่มีหลายคนเข้ามาเพื่อหวังทำกำไรในระยะสั้น และออกจากตลาดแห่งนี้ไป ก็พอจะเข้าใจได้อยู่ เพราะหากลงทุน $1 ในปี 2010 ลองคิดดูว่าตอนนี้ ที่บิทคอยน์มีราคาซื้อขายอยู่ที่ $66,000 มูลค่านั้นได้เติบโตขึ้นมาอย่างมากมายมหาศาลขนาดไหน
ในปัจจุบันนั้น สกุลเงินดิจิทัลถือว่ามีอยู่อย่างหลากหลาย และหลายๆ สกุลเงินต้องการเรียกร้องความสนใจด้วยการทำแบรนด์ หรือการตลาดของตัวเองขึ้นมา ผู้บริหารโฆษณา และผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่าการสร้างแบรนด์เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับความสำเร็จที่สำคัญ แบรนด์ช่วยเชื่อมโยงอารมณ์และแรงกระตุ้นภายในของแต่ละคนเข้ากับผลิตภัณฑ์
แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐาน 9 ประการ ได้แก่ วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ ค่านิยม ผู้ชมเป้าหมาย การวิเคราะห์ตลาด เป้าหมายการรับรู้ บุคลิกภาพ เสียง และสโลแกน แม้ว่าแบรนด์จะเป็นแค่ชื่อ แต่ชื่อมักจะเป็นสิ่งแรกที่ทุกคนเห็น และสามารถจุดประกายความสนใจในเบื้องต้นได้ เมื่อนำคำแบรนด์ มารวมเข้ากับสกุลเงินดิจิทัล ในสายตาเราตอนนี้ไม่มีสกุลเงินไหนโดดเด่นเท่า Global Social Chain อีกแล้ว
ใครคือ Global Social Chain?
หากคุณได้ยินใครก็ตามที่พูดเกี่ยวกับคริปโตฯ และพูดถึงเหรียญที่มีชื่อว่า “โกลบอล โซเชียล เชน” หรือ “จีเอสซี” บอกได้เลยว่านักลงทุนคนนั้นถือเป็นคนที่ต้องทำการบ้านมาดีอยู่พอสมควร หากถามว่าจีเอสซีคืออะไร พวกเขาได้เขียนนิยามตัวเองเอาไว้ในหน้าเว็บไซต์ว่า
“สินทรัพย์ดิจิทัลและระบบเครือข่ายผ่านแอปฯ ที่เชื่อมต่อกันเป็นโซ่ และมีความน่าเชื่อถือสูง พวกเราหวังจะเป็นผู้บุกเบิกนิเวศวิทยาของโลกดิจิทัล” แต่สำหรับตอนนี้ หากจะให้อธิบายจีเอสซีสั้นๆ คือพวกเราเป็นผู้ให้บริการประกันสินทรัพย์ดิจิทัล บนบล็อกเชนสำหรับนักพัฒนาโปรแกรม จีเอสซีใช้สิ่งที่เรียกว่า “Hove APP” เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างบล็อกเชนกับอินเตอร์เน็ต สกุลเงินดิจิทัลตากแอปฯ อื่นๆ สามารถเปลี่ยนเป้นเหรียญจีเอสซีผ่าน Hive APP ได้
ผู้พัฒนาจีเอสซีเชื่อว่าการเชื่อมต่อแอปฯ ที่มีคุณลักษณะต่างกันเข้าด้วยกัน จะช่วยยกระดับการใช้งานของผู้บริโภค และจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของแพลตฟอร์มของจีเอสซีไปในตัว ระบบนิเวศน์บน HIVE คาดว่าจะสามารถรองรับผู้ใช้งานได้ในหลักล้าน จีเอสซีถึงกับกล้าเรียกตัวเองว่าเป็น “ยุคใหม่” ของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ในวันที่ 15 พฤศจิกายน สกุลเงินจีเอสซีอยู่ในลำดับที่ 1,500 จากการจัดอันดับของ CoinMarketCap เปิดตัวในเดือนพฤษภาคมปี 2018 สร้างจุดสูงสุดเอาไว้ที่ $0.22 ในวันที่ 18 พฤษภาคมปี 2018
ที่มา: CoinMarketCap
กราฟด้านบนนี้แสดงให้เห็นจุดสูงสุดของเหรียญในตอนเปิดตัวปี 2018 ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมาวิ่งอยู่ที่ $0.003 และกลับขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ได้ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2021 เหนือระดับราคา 4 เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ราคาได้ย่อตัวกลับลงมาที่ $0.006 อีกครั้งในวันที่ 15 พฤศจิกายนปี 2021
ถึงแม้ว่าจีเอสซีจะทำได้ดีในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ ที่เอาแบรนด์มาโฆษณาว่าตัวเองถือเป็นยุคใหม่ของโลกสกุลเงินดิจิทัล แต่จะไปได้ไกลแค่ไหน ก็ยังเป็นเรื่องในอนาคตที่ไม่อาจตอบได้ในตอนนี้ ณ ปัจจุบัน เรามีสกุลเงินดิจิทัลมากถึง 14,000 เหรียญ และทุกคนฝันว่าอยากจะเป็น “นิวบิทคอยน์” หรือ “นิวอีเธอเรียม” กันหมด เมื่อความเป็นจริงคือเราสนใจแค่เหรียญ 20 อันดับแรกจาก 14,000 เท่านั้น ดังนั้นการจะลงทุนในสกุลเงินอันดับที่ 1,500 จึงถือว่ายังมีความเสี่ยงสูง และไม่ควรนำเงินทั้งชีวิตมาลงทุน