💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ ภาคเช้า ตลาดหุ้นปรับตัวลง กลายเป็นแรงหนุนซื้อทอง

เผยแพร่ 13/10/2564 09:34
XAU/USD
-
GC
-

สรุป ราคาทองคํา วานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคําได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อทองคําในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 117.72 จุด หรือ -0.34% จากความวิตกกังวลว่าการพุ่งขึ้นของราคาพลังงานจะยิ่งทําให้ปัญหาคอขวดด้านอุปทานย่ําแย่ลง จนส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและบั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจ สอดคล้องกับ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ได้ปรับ “ลด” ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงจากเดิมที่เมื่อเดือนก.ค.คาดว่าจะขยายตัว 6.0% เหลือเป็นขยายตัว 5.9% จากปัญหา ด้านห่วงโซ่อุปทานเช่นกัน นอกจากนี้ราคาทองคํายังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากการเปิดเผยตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงานของสหรัฐ ที่ปรับตัวลดลงแตะ 10.4 ล้านตําแหน่งในเดือนส.ศ. ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 10.9 ล้านตําแหน่ง สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลหนุนให้ราคาทองคําทะยานขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,769.21 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี ราคาทองคําอ่อนตัวลงในเวลาต่อมา โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าประกาศลดวงเงินในโครงการซื้อสินทรัพย์ ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมนโยบายการเงินเดือนหน้า ขณะที่การพุ่งขึ้นของราคาพลังงานซึ่งอาจกระตุ้นเงินเฟ้อจะยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้เฟดดําเนินการคุมเข้มนโยบาย การเงินเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ สถานการณ์ดังกล่าวหนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีจนเป็นปัจจัยสกัดช่วงบวกราคาทองคําเขาไว้ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคําไม่ เปลี่ยนแปลง สําหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และรายงานการประชุม FOMC Meeting Minutes ประจําเดือนก.ย.

ราคาทองคำยังคงมีการแกว่งตัวในกรอบและแรงซื้อค่อนข้างจำกัด แต่หากระยะสั้น มีแรงดีดกลับและพยายามจะดีดตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านระดับ 1,771-1,787 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากไม่สามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวอาจจะเกิดแรงขาย สลับออกมาอีกครั้ง ประเมินแนวรับบริเวณ 1,747-1,735 ดอลลาร์ต่อออนซ์

คําแนะนํา เน้นการเก็งกําไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว หากราคาขยับขึ้นทดสอบแนวต้าน 1,771-1,787 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ หากไม่สามารถผ่านได้ แนะนําขายทองคํา ออกมา เพื่อรอเข้าซื้อคืนบริเวณแนวรับ 1,747-1,735 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ดูกราฟราคาทองคำ SPOT XAU/USD

https://th.investing.com/currencies/xau-usd

กระทู้พูดคุยเกี่ยวกับราคาทองคำ SPOT

https://th.investing.com/currencies/xau-usd-commentary

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย