🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

ลุ้น Nonfarm Payrolls วันศุกร์นี้ ชี้ชะตาการลดคิวอีของเฟด

เผยแพร่ 04/10/2564 08:31
อัพเดท 09/07/2566 17:32
USD/THB
-
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินโดยรวมปิดรับความเสี่ยงจากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอลง ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น (Stagflation)

  • ในสัปดาห์นี้ ตลาดจะรอลุ้น ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมสหรัฐฯ (Nonfarm Payrolls: NFP) ที่อาจส่งผลต่อทิศทางการลดคิวอีของเฟดได้

  • เงินดอลลาร์มีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways เนื่องจากผู้เล่นในตลาดจะรอรายงาน NFP ซึ่งหาก NFP ออกมาดีกว่าคาด จะหนุนโอกาสการลดคิวอีในเดือนหน้าและช่วยพยุงให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้ นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะ ปัญหาการเจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ จะยังหนุนโมเมนตัมเงินดอลลาร์ในระยะสั้นอยู่ ส่วนทางด้านเงินบาท ในระยะสั้น เงินบาทจะมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าจากเงินดอลลาร์เป็นหลัก ขณะที่แรงขายสินทรัพย์ไทยเริ่มลดลง หลังนักลงทุนต่างชาติต่างรอจับตาแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ซึ่งเราเชื่อว่า หากข้อมูลเศรษฐกิจไทยดีขึ้นต่อเนื่อง จากช่วยหนุนการกลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทยได้ ทั้งนี้ เงินบาทยังคงมีปัจจัยเสี่ยงภายใน อาทิ ปัญหาน้ำท่วม รวมถึง สถานการณ์ COVID

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    33.40-34.00
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญที่ตลาดจะให้ความสำคัญและติดตามอย่างใกล้ชิด คือ แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน เพราะหากตลาดแรงงานฟื้นตัวกลับสู่ช่วงก่อนเกิดวิกฤติ COVID-19 เฟดก็จะมีความมั่นใจในการทยอยลดคิวอีมากขึ้น ซึ่ง ตลาดประเมินว่า ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls: NFP) เดือนกันยายน อาจเพิ่มขึ้นกว่า 4.7 แสนราย แต่ถ้าหาก NFP ออกมาต่ำกว่า 2.4 แสนราย อาจส่งผลให้ เฟดยังไม่มั่นใจแนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดแรงงานและอาจทำให้ การทยอยลดคิวอีจะเลื่อนไปจากเดือนพฤศจิกายน ที่ผู้เล่นในตลาดได้ priced-in การลดคิวอีในเดือนดังกล่าว นอกจากนี้ ตลาดจะจับตาผลกระทบของการระบาด Delta ในช่วงที่ผ่านมา ต่อทิศทางของกิจกรรมภาคการบริการ โดยตลาดมองว่า ภาคการบริการอาจขยายตัวในอัตราชะลอลง สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (ISM Services PMI) เดือนกันยายน ที่จะลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 59.9 (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว) อย่างไรก็ดี ตลาดการเงินอาจผันผวนมากขึ้นได้ หากดัชนี PMI ภาคการบริการ ชะลอลงมากกว่าคาด ซึ่งจะยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างกังวลแนวโน้มการเกิดภาวะ Stagflation (เศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง)

    • ฝั่งยุโรป – ผลการเลือกตั้งเยอรมนีสะท้อนว่า รัฐบาลผสม (Coalition Government) ในครั้งนี้ อาจจะต้องใช้เสียงจากถึง 3 พรรค ซึ่งล่าสุด พรรค Green และ FDP มีแนวโน้มที่จะจับมือเป็นพันธมิตรกัน ทำให้ ตลาดจะรอจับตาว่า พรรค SPD ที่ได้เสียงมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ หรือ พรรค CDU/CSU จะสามารถร่วมมือกับ พรรค Green และ FDP ในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งหากพรรค SPD สามารถเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลได้ เรามองว่า อาจส่งผลดีต่อตลาด โดยเฉพาะตลาดหุ้นเยอรมนีและค่าเงินยูโร เนื่องจากรัฐบาลใหม่มีแนวโน้มสนับสนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลัง รวมถึงมีนโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และอาจมีนโยบายสนับสนุนภาคธุรกิจมากขึ้น อย่างไรก็ดี การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลอาจใช้เวลานานและยืดเยื้อ ซึ่งความไม่แน่นอนของการเมืองเยอรมนี รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอย่าง ปัญหาขาดแคลนพลังงานที่อาจกดดันให้เงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น จะทำให้นักลงทุนสถาบันลดความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปลง สะท้อนผ่านดัชนี Sentix Investor Confidence ที่จะลดลงสู่ระดับ 18.6 จุด ในเดือนตุลาคม

    • ฝั่งเอเชีย – สัปดาห์นี้ ผู้เล่นในตลาดจะจับตาผลการประชุมของบรรดาธนาคารกลางว่าจะมีแนวโน้มการส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งตลาดคาดว่า ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) อาจเป็นหนึ่งในธนาคารกลางที่จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0.50% ตามธนาคารกลางเกาหลีใต้ หลังสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในนิวซีแลนด์ดีขึ้นและเศรษฐกิจก็ทยอยฟื้นตัวได้ดี ทั้งนี้ ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) อาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.10% และคุมบอนด์ยีลด์ 3 ปี ไว้ที่ 0.10% หลังเศรษฐกิจเผชิญความเสี่ยงจากแนวโน้มเศรษฐกิจจีนชะลอตัวหนัก (Sharp Slowdown) หากปัญหาหนี้ Evergrande ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่วน ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ก็จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 4.00% เช่นกัน เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อก็เริ่มลดลง หลังอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเริ่มกลับสู่กรอบ 2-6% ของ RBI

    • ฝั่งไทย – ตลาดมองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI)เดือนกันยายน จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ +0.60%y/y เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ -0.02% ตามแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศหลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown รวมถึงผลกระทบจากปัญหา Supply Chain ที่จะหนุนให้ราคาสินค้า โดยเฉพาะวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ราคาสินค้าพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูงยังคงเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนอัตราเงินเฟ้ออยู่ นอกจากนี้ การทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และสถานการณ์การระบาดโดยรวมที่ดีขึ้น จากการเร่งแจกจ่ายวัคซีน จะช่วยหนุนให้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) เดือนกันยายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 40 จุด ย้ำภาพการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

    Week ahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย