รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

3 ประเด็นที่จะสร้างความผันผวนให้กับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในสัปดาห์สุดท้ายของ Q3

เผยแพร่ 27/09/2564 10:32
อัพเดท 02/09/2563 13:05

สัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายนอาจจะทำให้นักลงทุนได้ตื่นเต้นตั้งแต่วันเปิดสัปดาห์ เมื่อความสนใจของทุกฝ่ายจะไปอยู่ที่มติการโหวตจากสภาสูงของสหรัฐฯ ว่าจะให้รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดนสามารถเพิ่มเพดานหนี้เพื่อกู้เงินเพิ่มได้หรือไม่ หากมติที่ประชุมออกมาเป็นไม่ เราอาจจะได้เห็นการชัตดาวน์รัฐบาลบางส่วนเกิดขึ้นหลังจากวันที่ 30 กันยายนนี้ ประเด็นดังกล่าวสร้างความผันผวนให้กับตลาดหุ้นมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว และคาดว่าจะเป็นธีมการลงทุนต่อในสัปดาห์นี้

และต่อให้รัฐบาลของโจ ไบเดนจะสามารถเอาตัวรอดจากการชัตดาวน์ไปได้ แต่ตลาดหุ้นก็ยังมีประเด็นให้จับตาต่อ นั่นคือเรื่องของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของจีน “เอเวอร์แกรนด์” (HK:3333) (OTC:EGRNY) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เอเวอร์แกรนด์พลาดโอกาสในการชำระหนี้อีกครั้ง สร้างความกังวลให้กับตลาดลงทุนว่านี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตทางการเงินรอบใหม่นับตั้งแต่วิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ในปี 2008 

อย่าคิดว่าตลาดลงทุนจะปล่อยให้ได้หายใจ เพราะวันอังคารจะมีถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อสภาคองเกรสให้ได้จับตาต่อ ก่อนที่จะปิดท้ายสัปดาห์ด้วยการประกาศตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตของญี่ปุ่น ยูโรโซน แคนาดา และสหรัฐอเมริกา

หากคุณคิดว่าเดือนกันยายนเป็นเดือนที่แย่แล้ว เดือนตุลาคมที่กำลังจะมาถึงนี้อาจจะเป็นเดือนที่เลวร้ายยิ่งกว่า จากประวัตศาสตร์การลงทุนในตลาดหุ้น เดือนตุลาคมมักจะเป็นเดือนที่ตลาดปรับตัวลดลง จนนักลงทุนวอลล์สตรีทขนานนามช่วงเวลานี้ว่า “October Effect” นายแซม สโตฟออล หัวหน้านักวิเคราะห์ตลาดลงทุนแห่ง CFRA ได้นิยามเดือนตุลาคมเอาไว้ว่า “เดือนมหาวิปโยคแห่งตลาดหุ้น” ความผันผวนสูงขึ้น ขาลงที่เห็นจนชินตา นักลงทุนฝั่งตลาดหมีเข้ามายึดครองตลาดจะหลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย

แซมไม่ได้กล่าวเรื่องนี้ขึ้นมาลอยๆ เขาเห็นพฤติกรรมของตลาดที่เปลี่ยนไปจากการวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยอินดิเคเตอร์ การที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงมาวิ่งต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน แสดงให้เห็นว่านักลงทุนบางส่วนได้เริ่มถอนเงินออกจากตลาดลงทุน จนเกิดเป็นจุดสูงสุดใหม่เรียบร้อยแล้ว

“ข้อมูลจากบริษัทจัดการสินทรัพย์เวลลิงตัน ชิลด์ระบุว่าเหลือหุ้นในตลาดนิวยอร์กอยู่ 59% เท่านั้นที่ยังสามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน (หรือที่หลายๆ คนเรียกกันว่าแนวโน้มขาขึ้น) สำหรับพวกเขาแล้ว นี่คือสัญญาณของแนวโน้มขาลง โดยปกติแล้วหากตัวเลขเปอร์เซ็นต์นี้ลดลงจาก 80% เป็น 60% สุดท้ายแล้วมักจะลงเอยที่ต่ำกว่า 30%”

ข้อมูลจากเวลลิงตันยังระบุอีกด้วยว่าขาขึ้นที่เราเห็นในดัชนีเอสแอนด์พี 500 ดาวโจนส์และแนสแด็กในตอนนี้คือการแบกตลาดของบริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่เท่านั้น ในขณะที่บริษัทขนาดกลางถึงเล็กพากันปรับตัวลงกันหมดแล้ว 

SPX Daily

เมื่อมาเปิดดูกราฟ เราจึงได้พบว่าสิ่งที่นักวิเคราะห์จากเวลลิงตัน ชิลด์มีความเป็นไปได้อยู่มากพอสมควร จากรูปประกอบรูปนี้จะเห็นว่าที่ผ่านมาดัชนีเอสแอนด์พี 500 สามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันได้มาโดยตลอด ขาลงรอบล่าสุดในเดือนนี้เป็นครั้งแรกที่เอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน ลงมาแตะเส้นค่าเฉลี่ย 100 วันได้เป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายนปี 2020 แม้ว่าตอนนี้ราคาจะพยายามกลับขึ้นไปยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันให้ได้ก็ตาม

คำถามก็คือแนวรับที่เส้นค่าเฉลี่ย 100 วันจะสามารถประคองราคาเอาไว้ได้หรือไม่ ในตอนนี้เราได้มองลงไปถึงแนวรับที่เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน หรือที่ระดับราคา 4,120 จุดแล้ว นอกจากการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเป็นแนวรับ เรายังใช้เทรนด์ไลน์ในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของดัชนีด้วย และสิ่งที่พบเจอก็ถือว่ามีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

SPX Weekly

ตั้งแต่จุดต่ำสุดในเดือนมีนาคมปี 2020 ขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน เป็นครั้งแรกที่ดัชนีเอสแอนด์พี 500 สามารถวิ่งหลุดเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้นในรูปลงมาได้ หากเป็นไปตามที่เวลลิงตัน ชิลด์ วิเคราะห์ ในเดือนตุลาคมที่กำลังจะมาถึงนี้จะมีหุ้นของบริษัทในสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมากเรื่อยๆ เท่ากับเป็นการยืนยันขาลงที่หลุดออกมาจากแนวรับสำคัญแล้ว 

เมื่อพิจารณาจากอินดิเคเตอร์ A/D จะเห็นว่าที่ผ่านมาดัชนีเอสแอนด์พี 500 กับอินดิเคเตอร์วิ่งไปในทิศทางตรงกันข้ามกันตลอด หรือในภาษานักวิเคราะห์ทางเทคนิคเรียกว่า “ไดเวอร์เจนต์” ในขณะที่กราฟสร้างจุดสูงสุดใหม่สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่อินดิเคเตอร์กลับทำจุดสูงสุดใหม่ที่ลดระดับลงมา นอกจากนี้สัญญาณล่าสุดที่เกิดขึ้นใน A/D คือเส้นค่าเฉลี่ยปรับตัวลดลงจนหลุดแนวรับที่ 1.5000 ลงมา และยังไม่สามารถกลับขึ้นยืนเหนือระดับดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ายังมีโอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวลดลงต่อ

ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EDT)

วันจันทร์

07:45 (ยูโรโซน) ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางยุโรป

08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐาน: คาดว่าจะลดลงจาก 0.8% เป็น 0.5%

14:00 (สหราชอาณาจักร) ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางอังกฤษ

21:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -3.1% เป็น -2.4%

 

วันอังคาร

02:00 (เยอรมัน) รายงานตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจาก GFK: คาดว่าจะลดลงจาก -1.2 เป็น -1.8

10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจาก CB: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 113.8 เป็น 114.5

 

วันพุธ

10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยที่รอการจำนอง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -1.8% เป็น 1.3%

10:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: ตัวเลขของสัปดาห์ก่อนออกมาอยู่ที่ -3.481Mbbl

11:45 (สหรัฐฯ) ถ้อยแถลงจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ

11:45 (ญี่ปุ่น) ถ้อยแถลงจากประธานธนาคารกลางญี่ปุ่น

21:00 (ประเทศจีน) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจากมหาลัยไซซิน: คาดว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นจาก 49.2 เป็น 49.6

 

วันพฤหัสบดี

02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะคงที่ 4.8% MoM และ 22.2% YoY

03:55 (เยอรมัน) รายงานตัวเลขอัตราการว่างงาน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -53K เป็น -35K

08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะคงที่ 6.6% QoQ

08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะลดลงจาก 351K เป็น 328K

19:50 (ญี่ปุ่น) ดัชนีที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตจาก Tankan: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 1 เป็น 3

 

วันศุกร์

03:55 (เยอรมัน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะคงที่ 58.5 จุด

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะคงที่ 56.3 จุด

05:00 (ยูโรโซน) ดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 3.0% เป็น 3.3% YoY

08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะลดลงจาก 0.7% เป็น -0.2% MoM

10:00 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 59.9 จุดเป็น 59.5 จุด 

ความคิดเห็นล่าสุด

good
good
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย