🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

จริยธรรมการลงทุนของคนในเฟดอาจขโมยซีนการประชุม FOMC ในสัปดาห์นี้

เผยแพร่ 20/09/2564 17:01
CVX
-
AAPL
-
AMZN
-
GE
-
BABA
-

การถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการปั่นตลาดหุ้นน่าจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่นายเจอโรม พาวเวลล์ ภาวนาว่าขออยากให้โดนลากเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่ใกล้จะได้ดำรงตำแหน่งประธานเฟดสมัยที่สอง) แต่เมื่อมีประเด็นขึ้นมาแล้ว ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงคำครหาจากสายตาคนนอกได้ 

สิ่งที่กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาในโลกการเงินคือมีรายงานระบุว่าประธานเฟดแห่งดัลลัสนายโรเบิร์ต แคปเลน และอีริค โรเซนเก้น แห่งบอสตัน ได้วางเงินจำนวนหนึ่งไปกับการเทรดหุ้นตั้งแต่ก่อนธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จนเป็นเหตุให้ตลาดหุ้นทำจุดสูงสุดใหม่ตลอดกาลในปัจจุบัน 

ในเอกสารนั้นระบุว่าโรเบิร์ต แคปเลนใช้เงินมากกว่า $1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปกับการถือหุ้นชื่อดังทั้งหมดยี่สิบสองตัว ยกตัวอย่างเช่นแอปเปิล (NASDAQ:AAPL) อาลีบาบา (NYSE:BABA) อะเมซอน (NASDAQ:AMZN) เจนเนอรัล อีเล็กทริกซ์ (NYSE:GE) เชฟรอน (NYSE:CVX) เป็นต้น ในขณะเดียวกับอีริค โรเซนเก้นก็ได้ใช้เงินลงทุนไปกับวงการอสังหาริมทรัพย์

เอกสารดังกล่าวระบุว่าจุดน่าสังเกตคือหลังจากพวกเขาได้กำไรแล้ว ได้ตัดสินใจแปลงหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวกลับมาเป็นเป็นเงินสดในช่วงสิ้นเดือนกันยายนปีที่แล้ว เพื่อทำเนียนและไม่ต้องการให้ถูกจับได้

กระแสเรียกร้องให้เฟดมีการตรวจสอบไกด์ไลน์จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งใหม่แรงขึ้นเรื่อยๆ

หลังจากที่มีประเด็นดราม่านี้ออกมา นายเจอโรม พาวเวลล์ได้มีคำสั่งให้ตรวจสอบแก้ไขไกด์ไลน์จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งในธนาคารกลางทันที นางอลิธซาเบธ วอร์เรน วุฒิสมาชิกรัฐแมสซาชูเสตต์ได้ร่อนจดหมายถึงประธานเฟดทั้งสิบสองภูมิภาคเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของการดำรงตำแหน่งมากกว่านี้ 

แต่ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนั้น กลายเป็นว่าทั้งสองคนคือจุดเริ่มต้นของการตั้งคำถามกับธนาคารกลาง และเป้าหมายของสำนักข่าวกลับไปอยู่ที่ประธานเฟดนายเจอโรม พาวเวลล์ มีรายงานจาก CNBC ระบุว่าพอร์ตการลงทุนของประธานเฟดคนนี้ในปีที่แล้วเติบโตจนมีเงินมากกว่า $100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลขนี่ยังไม่นับรวมสินทรัพย์ในอสังหาริมทรัพย์) ตั้งแต่ก่อนที่เจอโรมจะเข้ามารับตำแหน่งในปี 2012 เขาเคยเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัทคาร์ไลล์ กรุ๊ปนานหลายปี ก่อนที่จะแยกออกมาตั้งบริษัทเกี่ยวกับการลงทุนด้วยตัวเอง เจอโรม พาวเวลล์ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประธานธนาคารกลางที่รวยที่สุดในโลก

CNBC ยังเปิดเผยข้อมูลอีกด้วยว่าการลงทุนของเจอโรม พาวเวลล์โดยส่วนมากแล้วเป็นการลงทุนในบริษัทผู้จัดการสินทรัพย์อิสระ และเขายังมีการถือพันธบัตรรัฐบาลเอาไว้ $2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่เฟดใช้เงิน $5,000 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โทมัส บาร์กิ้น ประธานธนาคารกลางแห่งริชมอนด์ใช้เงินลงทุน $3 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปกับการลงทุนในบอนด์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เฟดซื้อพันธบัตรรัฐบาลในมูลค่า $46,500 ล้านเหรียญสหรัฐ

ข่าวฉาวในธนาคารกลางอาจสร้างแรงกดดันกับการประชุม FOMC

เมื่อประเด็นนี้ถูกยกขึ้นมา การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ในวันพุธนี้จึงมีความน่าสนใจเป็นพิเศษ จากเดิมที่คนเข้าใจว่าที่เฟดไม่ยอมลดวงเงิน QE เป็นเพราะการจ้างงานยังไม่ขึ้นมาถึงเป้า ตอนนี้พวกเขาจะเริ่มตั้งคำถามมากขึ้นว่าที่ไม่ยอมลดวงเงิน QE สักทีเพราะกำลังอุ้มใครเป็นพิเศษอยู่หรือไม่

นักวิเคราะห์บางคนวิจารณ์ว่ามาตรการช่วยเหลือเศรษฐกิจด้วยการซื้อพันธบัตรกลับทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมในสังคมเกินขึ้น และคนที่ได้ประโยชน์คือคนที่อยู่ข้างบนของพีระมิด ไม่ใช่คนที่อยู่ข้างล่าง นายเดนนิส เคลลิเฮอร์ CEO ของเบ็ทเทอร์ มาร์เก็ต ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่าข่าวที่เกิดขึ้นนี้แสดงให้เห็นความเน่าเฟะของผู้ที่มีอำนาจ 

น่าสนใจทีเดียวว่าท้ายที่สุดแล้วนายเจอโรม พาวเวลล์จะได้ดำรงตำแหน่งประธานเฟดเป็นสมัยที่สองต่อไปหรือไม่ วันที่ตำแหน่งประธานเฟดของเขาจะหมดลงคือเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022 ซึ่งหมายความว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดนจะต้องเลือกเขาหรือคนใหม่ก่อนวันเวลาดังกล่าวจะมาถึง ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบเรื่องนี้อาจเป็นตัวแปรสำคัญในการเลือกประธานเฟดของธนาคารธิบดีโจ ไบเดนก็เป็นได้

ECB อาจต้องถอนเงินกระตุ้นเศรษฐกิจบางส่วนออกก่อนกำหนด

สำนักข่าว Financial Times รายงานข่าวที่ว่านายฟิลิป เลน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้บอกกับนักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของ ECB จะถึง 2% ภายในปี 2025 ซึ่งหมายความว่า ECB อาจเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก -0.5% ภายในปี 2023 ซึ่งถือว่าเร็วกว่าที่คาดการณ์ ในขณะเดียวกัน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผู้มีสิทธิ์วางนโยบายการเงินหลายคนใน ECB เริ่มที่จะแสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ และคิดว่าควรดึงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจบางส่วนกลับคืนมา

อย่างไรก็ตาม ECB ได้ออกมาปฏิเสธรายงานของ Financial Times พร้อมกับบอกว่าสื่อตีความคำพูดของฟิลิป เลนผิดไปแต่ไม่ได้พูดถึงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ นั่นจึงเป็นสาเหตุให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของยูโรโซนปรับตัวขึ้น

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย